การประมวลผลแบบคลาวด์ หรือคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) คือ บริการที่ครอบคลุมถึงการให้บริการประมวลผล หน่วยจัดเก็บข้อมูล และระบบสื่อสารจากผู้ให้บริการ เพื่อลดขั้นตอนการติดตั้ง ดูแล และต้นทุน ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ และได้รับความนิยมจากองค์กรอย่างมาก ซึ่งคลาวด์มีหลายแบบให้เลือกใช้ทั้งแบบสร้างในองค์กร สร้างใช้ภายนอกองค์กร หรือผสมผสาน แล้วมีให้เลือกได้แก่ IaaS, Paas หรือ SaaS ถ้าเป็นองค์กรที่ใหญ่มีหน่วยงานด้านไอทีที่มีดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง มีหน่วยงานหลายหน่วยงานที่ต้องการทรัพยากรเป็นส่วนตัวของตนเอง และต้องการความปลอดภัยสูง ก็เลือกได้ว่าจะสร้างคลาวด์ในองค์กรของตนเองหรือไม่
การสร้างคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) สำหรับใช้ในองค์กร สามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้หลายค่าย อาทิ Open Stack ซึ่งทำงานบน Linux และมีการจัดอบรมโดย ITBakery ใช้เวลาอบรม 4 วัน ค่าใช้จ่าย 18900 บาทต่อหลักสูตร แล้วยังมีซอฟต์แวร์ที่สร้างคลาวด์จากหลายค่ายที่น่าสนใจ อาทิ Hyper-V ของ Microsoft, vSphere ของ VMware, Virtual Box ของ Oracle, Cloud Burst ของ IBM, Xenserver ของ Xen โดยซอฟต์แวร์กลุ่ม Hypervisor แต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป โดยเน้นไปที่การทำให้เครื่องบริการหนึ่งเสมือนถูกแบ่งเป็นหลายเครื่องให้กับหลายองค์กรในองค์กรได้ใช้งานอย่างปลอดภัย และเป็นอิสระต่อกัน
การใช้บริการคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) เป็นตัวเลือกขององค์กรขนาดเล็กที่เปิดใหม่ เพราะประหยัดงบประมาณ และใช้งานตามเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริการคลาวด์ ส่วนองค์กรขนาดใหญ่มักใช้บริการคลาวด์ลูกผสม (Hybrid Cloud) เพราะเลือกนำข้อมูลที่เผยแพร่หรือใช้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานเข้าใช้ทรัพยากรในคลาวด์สาธารณะ แต่ข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยสูงก็จะเลือกใช้คลาวด์ส่วนตัว เพราะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ไม่อนุญาตให้นำข้อมูลไปเก็บไว้นอกองค์กร แม้นักคอมพิวเตอร์จะยืนยันว่าการส่งข้อมูลลับเฉพาะเข้าไปในคลาวด์ของผู้ให้บริการ ว่าจะได้รับการดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างเต็มที่ก็ตาม การเติบโตของคลาวด์เป็นกระแสที่หยุดไม่อยู่ เพราะมีข้อดีมากมาย และยืดหยุ่นที่ตอบโจทย์องค์กรได้ทุกระดับ
แหล่งอ้างอิง https://www.blognone.com/node/42762 http://www.slideshare.net/lersmethasakul/e-government-cloud-service http://www.it24hrs.com/2015/cloud-computing-and-cloud-definition/ http://thaiopensource.org/tag/openstack/ http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/156179.pdf https://www.2beshop.com/what-VMware-vSphere.php http://www.saranitus.com/2014/05/how-to-enable-hyper-v-feature-in-windows-8-1.html http://www.thaiall.com/blog/burin/5619/
ทางเลือกที่ 1 Solid State Drive : SSD Apacer AS330 SATA III 6Gb/s ขนาด 120 GB Read Up to 495 MB/s Write Up to 385 MB/s ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 1720/120GB = 14.33 บาทต่อGB ราคา 1720 บาท + https://www.advice.co.th/product/solid-state-drive-ssd-/apacer/120-gb-ssd-apacer-as330-ap120gas330-1- ทางเลือกที่ 2 เทป backup ของ imation รุ่น LTO-6 เป็น Backup Cartridge Ultrium เก็บธรรมดา ได้ 2.5TB บีบอัดได้ 6.25 TB ราคาเก็บปกติต่อ 1 GB คือ 2.5TB * 1024= 2560 GB คิดต่อหน่วยได้ 4200 / 2560 = 1.64 บาทต่อ GB ราคาเก็บบีบอัด ต่อ 1 GB คือ 6.25TB * 1024= 6400 GB คิดต่อหน่วยได้ 4200 / 6400 = 0.65 บาทต่อ GB ราคา 4,200 บาท ความเร็วในการอ่าน 400MB/sec (บีบอัด) + http://www.scts.co.th/catalog/product_info.php?products_id=3711 ทางเลือกที่ 3 แผ่น DVD 4.7 เป็นแผ่น DVD-R 16x ความจุ 4.7 GB * 50 แผ่น = 235 GB ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 160/235GB = 0.68 บาทต่อGB ราคา 160 บาท + http://www.buyprinco.com ทางเลือกที่ 4 Flash drive ขนาด 32 GB ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 320/32GB = 10 บาทต่อ GB ราคา 320 บาท + https://www.advice.co.th/product/flash-drive/mobile-flash-drive-dual-usb-drive/32gb-kingston-dtduo3- ทางเลือกที่ 5 Internal Harddisk Toshiba รุ่น DT01ACA100 Buffer size 32 MByte ขนาด 1TB = 1024GB ขนาด 3.5 นิ้ว interface SATA 6.0 GB/S ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 1570/1024GB = 1.53 บาทต่อGB ราคา 1570 บาท + https://www.advice.co.th/product/harddisk-for-pc/hard-disk-pc-sata-iii/1-tb-sata-iii-toshiba-32mb- ทางเลือกที่ 6 External Harddisk HDD SEAGATE BACKUP PLUS USB 3.0 ขนาด 3.5นิ้ว ขนาด 4TB = 4096GB ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 5590/4096GB = 1.36 บาทต่อGB ราคา 5590 บาท + https://www.jib.co.th/web/index.php/product/readProduct/13384/40/index.html ทางเลือกที่ 7 Dropbox for business ขนาด 1TB ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 3000/1024GB = 2.92 บาทต่อGB ราคา $99 = 3000 ทางเลือกที่ 8 FreeNAS Mini และ My Cloud EX4 ขนาด 8 TB = 1024 * 8 = 8192 GB $2,249 for 24TB ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 21000/8192GB = 2.56 บาทต่อGB $700 for 8TB ราคา $700 = 21000 บาท ทางเลือกที่ 9 Big Query กับ google cloud ใช้เยอะก็จ่ายเยอะ เก็บ 1 TB = 1024GB 1 TB for a full month, you pay $20 ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 600/1024GB = 0.5 บาทต่อ GB ต่อเดือน ราคา $20 = 600 บาทต่อเดือน + https://cloud.google.com/bigquery/pricing#storage ทางเลือกที่ 10 Big Data Cloud Service Starter Pack Oracle Cloud 6 nodes with 32 OCPUs per node 256 GB RAM and 48 TB storage per node ความจุ 6 node * 48TB = 288TB * 1024 = 294912 GB ราคาเก็บต่อ 1 GB คิดต่อหน่วยได้ 864000/294912GB = 2.93 บาทต่อGBต่อเดือน ราคา $28800 ต่อเดือน = 864,000 บาทต่อเดือน ซื้อเพิ่ม $4800 ต่อ node ต่อเดือน แต่ต้องซื้อครั้งละ 6 nodes + https://cloud.oracle.com/bigdata + http://www.thaiall.com/blog/burin/7416/