มีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมทุกชั้นปี บางท่านแต่งชุดรักษาดินแดนเข้าร่วมกิจกรรมนี้
เพื่อนำเรื่องใกล้ตัวมาเปรียบเทียบกับการจัดการข้อมูล เรื่องการแบ่งช่องแบบแถวลำดับ (อาร์เรย์ = Array)
จึงขอใช้ "ภาพต้นไม้ของพ่อ" มาอธิบายเรื่องอาร์เรย์ เริ่มจากการนำไป split ในเว็บไซต์ imagesplitter.net
แบ่งเป็น 5 แถว (row) 5 คอลัมน์ (column) จะได้ภาพย่อย 25 ภาพ แต่ละภาพจะมีจำนวนชาวลำปางแตกต่างกัน
เมื่อนำมาบันทึกในอาร์เรย์ก็จะได้อาร์เรย์มิติเดียวมี 25 สมาชิก และเรียงภาพจาก 00.jpg ไปถึง 44.jpg ค่าแต่ละสมาชิกก็จะได้จากการนับจำนวนชาวลำปางในภาพ
นับโดยประมาณได้ดังนี้
00 = 400
01 = 500
02 = 200
03 = 250
04 = 300
10 = 200
11 = 500
12 = 450
13 = 550
14 = 300
20 = 250
21 = 600
22 = 600
23 = 600
24 = 400
30 = 300
31 = 500
32 = 600
33 = 600
34 = 500
40 = 200
41 = 400
42 = 80
43 = 400
44 = 400
ได้ข้อมูลทั้ง 25 ช่อง (โดยประมาณ)
ก็คัดลอกไปวางใน excel
แล้วเลือก ข้อมูล, ข้อมูลเป็นคอลัมน์ โดยที่คั่นคือ =
เพื่อแยกข้อมูลออกจากกันสำหรับการคำนวณ
แล้วสั่งหาผลรวมจะได้ 10,080 คน
ต้องการกำหนดจำนวนสมาชิกเป็นค่าให้ตัวแปรอาร์เรย์
ก็ใช้ฟังก์ชันของ excel ช่วยจัดเตรียมคำสั่ง
="ar[ar.length]=" & C1 & ";"
|
หากเขียนเป็น javascript ก็จะได้ว่า
<script>
var ar = new Array();
ar[ar.length]=400;
ar[ar.length]=500;
ar[ar.length]=200;
ar[ar.length]=250;
ar[ar.length]=300;
ar[ar.length]=200;
ar[ar.length]=500;
ar[ar.length]=450;
ar[ar.length]=550;
ar[ar.length]=300;
ar[ar.length]=250;
ar[ar.length]=600;
ar[ar.length]=600;
ar[ar.length]=600;
ar[ar.length]=400;
ar[ar.length]=300;
ar[ar.length]=500;
ar[ar.length]=600;
ar[ar.length]=600;
ar[ar.length]=500;
ar[ar.length]=200;
ar[ar.length]=400;
ar[ar.length]=80;
ar[ar.length]=400;
ar[ar.length]=400;
window.alert(ar.length); // 25
var total = 0;
for (idx in ar) { total += parseInt(ar[idx]); }
window.alert(total); // 10080
</script>
ทดสอบ script นี้ ที่
+ http://www.w3schools.com/html/
บางสาขาวิชาจะพัฒนาเครื่องมือ
ให้สามารถสั่งนับจำนวนคนในภาพได้
เหมือนกับแอพที่สามารถประเมินอายุคนในภาพได้
เรียกว่า image processing
|