thaiall logomy background

การจัดการความรู้ และมาตรฐาน ISO 30401:2018

my town
ISO 30401 | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | แนวปฏิบัติที่ดี | แนวทางของ กพร. | ความจำเพื่อนำไปใช้ |
ความหมายของความรู้
วามรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำ และการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน [wiki]
ความหมายของ KM
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของ “การจัดการความรู้” ไว้ว่าสำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมกัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
สารบัญ
1. ความหมายของการจัดการความรู้
2. กระบวนการการจัดการความรู้
3. เครื่องมือในการจัดการความรู้
4. หัวใจของการจัดการความรู้
5. KM กับ องค์กรแห่งการเรียนรู้
6. ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP)
7. โมเดลการจัดการความรู้
8. คุณอำนวย คุณประสาน คุณกิจ
9. ต.ย. ผลงานการจัดการความรู้ R2R วิจัยและนวัตกรรม
10. มาตรฐานระบบจัดการความรู้ ISO 30401:2018
แหล่งข้อมูล
เครื่องมือการจัดการความรู้ (ดร.วิภาดา#)
เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ (SECI)
ผลการจัดการความรู้ โดย : รศ.ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย
นักวิชาการด้านการศึกษา ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้
"ผมไม่ถามลูกว่าได้เกรดเท่าไร
แต่ถามว่า เรียนสนุกไหม
เรียนอะไรและนำมาใช้ทำอะไรได้บ้าง
"
ค้นใน facebook.com ก็จะพบ

รู้สึกชอบมาก เมื่อเห็นคำว่า
"ความรู้อาจจะแพง แต่ความไม่รู้แพงกว่า"
ในแฟนเพจ มหา'ลัยชีวิตออนไลน์
ภาษาอังกฤษน่าจะใช้คำว่า
"Knowledge is less expensive than ignorance"
แนะนำเว็บไซต์
(เลิก) มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
แผนการจัดการความรู้
คู่มือเขียนแผนฯ [.doc]
กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้
สิ่งที่กำหนดก่อนเริ่ม คือ เป้าหมายเคเอ็ม และหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม
สิ่งที่มีในแต่ละกิจกรรม คือ ตัวบ่งชี้ของกิจกรรม และเป้าหมายของกิจกรรม
แบบที่ 1 ตามแนว กพร.
กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม
ดังนี้ 1) การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร # 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม # 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน # 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ # 5) การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา # 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น # 7) การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ # # #
แบบที่ 2 ตามแนว ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม
ดังนี้ 1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมขององค์กร 2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งาน 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน 5) การนำประสบการณ์จากการใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก ขุมความรู้ แก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน
แบบที่ 3 ตามแนว ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม
ดังนี้ 1) การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้ 2) การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร 3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ 4) การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้ 5) การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้ 6) การวัดประเมินผลการจัดการความรู้
(ลำดับ) นั้นสำคัญไฉน
เคยเห็นนักเขียนหลายท่านใส่ (ลำดับ) ต่อชื่อบันทึก เคยสงสัยว่าเขาใส่ไปทำไม ก็มาเข้าใจกับตัวเองหลังเขียนไปได้ประมาณ 20 บันทึกใน ระบบบล็อกที่สร้างใช้เอง เพราะการเขียนบันทึกที่แยกตามกลุ่ม (Categories) ถ้าเป็นของ gotoknow.org เรียกว่า blog การมีลำดับที่นั้น เพื่อใช้อ้างอิงว่ามีภาคต่อ ส่วนการสร้างกลุ่มย่อยผ่านชื่อบันทึก ช่วยให้รู้ได้ทันทีว่าอยู่ กลุ่มใดเขียนไปกี่เรื่อง และกลุ่มใดที่ยังทำหน้าที่บกพร่องไปบ้าง เช่น ชีวิตที่พอเพียง 3976. ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของลุ่มแม่น้ำน่าน พ.ศ. ๒๓๙๘ - ๒๕๐๔
ตัวอย่างนักเขียนใน gotoknow.org ที่มี (ลำดับ)
+ ศ.นพ.วิจารณ์ พาณิช (๑.) + วีรยุทธ สมป่าสัก (1.) + อรุณรัตน์ คำพีพงษ์(1.) + Dr.Phichet Banyati + สนง.สนับสนุน KM Dental + วัลลา ตันตโยทัย + นฤมล จันทรศรี + พนัส ปรีวาสนา

gotoknow.org/blog/thaiall


article-thaiall.blogspot.com


thaiall.com/blog

blog.nation.ac.th
ที่มาของเว็บเพจหน้านี้
- อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย (หัวหน้าของผม) ได้เล่าให้ฟัง แบ่งปันประสบการณ์ หลักการ ความรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการที่ท่านเรียนต่อ ป.เอก ด้านนี้ที่ มช. จนเป็นผลให้ผมลงมือรวมรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ การจัดการความรู้ ไว้ ณ เว็บเพจนี้ .. หากเกิดข้อผิดพลาดประการใดก็คงเป็นความบกพร่องของผมแต่เพียงผู้เดียวที่เข้าใจ KM ผิดเพี้ยนไป .. ก็จะเรียนรู้ และปรับปรุงเนื้อหาในเว็บเพจนี้ให้ทันสมัย เนือง ๆ ต่อไป
1. ความหมายของการจัดการความรู้ ารจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ระบุว่าการจัดการความรู้สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่ 1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร 2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน 5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้ บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน
เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม 2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ 3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ 4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง
เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย
ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา 3 ประเด็น
- งาน พัฒนางาน
- คน พัฒนาคน
- องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้

ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน .. การจัดการความรู้ จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว
การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ
การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง
การจัดการระบบการจัดการความรู้
แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง
องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. กระบวนการความรู้ เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือ มุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป
2. กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน #
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบันมีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
เป็นการแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
7. การเรียนรู้ (Learning)
เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
แบบ Demarest
1. การสร้างความรู้ (Knowledge Construction)
2. การเก็บรวบรวมความรู้ (Knowledge Embodiment)
3. การกระจายความรู้ไปใช้ (Knowledge Dissemination)
4. การนำความรู้ไปใช้ (Use)
แบบ Turban และคณะ
1. การสร้าง (Create)
2. การจับและเก็บ (Capture and Store)
3. การเลือกหรือกรอง (Refine)
4. การกระจาย (Distribute)
5. การใช้ (Use)
6. การติดตาม/ตรวจสอบ (Monitor)
แบบ Probst และคณะ
1. การกำหนดความรู้ (Knowledge Identification)
2. การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
3. การพัฒนาความรู้ใหม่ (Knowledge Development)
4. การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer)
5. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Storing)
6. การนำความรู้มาใช้ (Knowledge Utilization)
3. เครื่องมือในการจัดการความรู้
กรมการปกครองได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสาร “คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549” ซึ่งได้ส่งให้ ก.พ.ร.เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2549 แล้ว เมื่อพิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระในแผนดังกล่าว จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 1) แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) 2) แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)
ซึ่งทั้ง 2 ส่วน จะมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนตามขอบเขต และเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล ขณะเดียวกันในแต่ละ ส่วนก็จะมีโครงการและกิจกรรมของแต่ละสำนัก กอง รองรับ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 15 โครงการ/กิจกรรม การขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของกรมการปกครองเพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นงานที่มีความสำคัญอีกงานหนึ่ง ที่ต้องการ พลังการมีส่วนร่วมของทุก ๆ ส่วน ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการที่จะก่อเกิดการรวบรวมสะสมองค์ความรู้ การใช้ประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit มักเป็นแบบทางเดียว
2. เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit อาศัยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก
ในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่ง คือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือชุมชน นักปฏิบัติ (Communityof Practice : CoP)
เครื่องมือ (Tools)
1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of practice : CoP)
2. การศึกษาดูงาน (Study tour)
3. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After action review : AAR)
4. การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ (Retrospect)
5. เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard Storytelling)
6. การค้นหาสิ่งดีรอบตัว หรือสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiring)
7. เวทีเสวนา หรือสุนทรียสนทนา (Dialogue)
8. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)
10. มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)
11. การสอนงาน (Coaching)
12. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
13. ฟอรัม ถาม – ตอบ (Forum)
14. บทเรียนจากความผิดพลาด (Lesson Learning)
15. เวทีกลุ่มเฉพาะ (Focus Group)
โดย Dr. Phichet Banyati #
เว็บไซต์ learners.in.th (เปลี่ยนไปที่ classstart.org)
จัดเป็น เครื่องมือในการจัดการความรู้ ที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษาได้ดีกว่า group ของ facebook.com เพราะ มีเนื้อหา และมีเพื่อน ที่มาจากภายนอกกลุ่มอย่างชัดเจน .. การเปิดให้นักศึกษาได้พบกับเพื่อนนอกกลุ่ม และมีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนต่างสถาบัน เป็นเสน่ห์ที่ไม่พบใน facebook.com เพราะปกติแล้ว facebook.com จะเน้นการสื่อสารระหว่างเพื่อน หรือเพื่อนของเพื่อนเป็นสำคัญ และไม่มีประเด็นทางวิชาการที่ชัดเจน
+ เอกสารประกอบการสอนใช้ learners.in.th
4. หัวใจของการจัดการความรู้ มีผู้รู้ได้กล่าวถึง KM หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า หัวใจของ KM อยู่ที่ไหนได้ โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ KM เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ ( Hierarchy of needs ) ของ Mcgregor ได้ โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง (DOPA KM Team)
1. Knowledge is Power : ความรู้คือพลัง
2. Successful knowledge transfer involves neither computers nor documents but rather in interactions between people. (Thomas H Davenport) : ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนด้วยกัน
3. The great end of knowledge is not knowledge but action : จุดหมายปลายทางสำคัญของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ
4. Now the definition of a manager is somebody who makes knowledge productive : นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล
จะเห็นว่าจากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าวพอทำให้มองเห็นหัวใจของ KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่าประโยชน์เป็นรูปธรรมว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลยทีเดียว ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวไว้น่าคิด หลังจากการไปร่วมสัมมนา “นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข” โดยได้ฟังการบรรยายของ ศ. นพ. ประเวศ วะสี ตีความ “การเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข” ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้อย่างลึกซึ้งมาก จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านบอกว่า การพัฒนาชุมชนต้องมี 4 องค์ประกอบ
1. ชุมชน หมายถึงการอยู่ร่วมกัน ความเป็นชุมชนมีเป้าหมายที่การอยู่ร่วมกัน
2. เป็นสุข หมายถึงความเป็นทั้งหมด ความเป็นปรกติ สมดุล บูรณาการของปัจจัยต่าง ๆ อย่างน้อย 8 ด้าน ได้แก่ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ศาสนธรรม ครอบครัว และชุมชน
3. การเรียนรู้ หมายถึงการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนนั้น ๆ ผ่านการปฏิบัติ
4. การสร้างเสริม หมายถึงการเข้าไปเอื้ออำนวย ส่งเสริม เสริมพลัง (empower) ไม่ใช่เข้าไปสอนหรือถ่ายทอดความรู้
ทั้ง 4 องค์ประกอบ คือหัวใจของการจัดการความรู้ในทุกบริบท ไม่ใช่แค่การจัดการความรู้ของชาวบ้านหรือของชุมชน ในเรื่องการจัดการความรู้นี้ การเรียนรู้สำคัญกว่าตัวความรู้ เพราะถ้าไม่ระวัง ตัวความรู้จะเป็นความรู้ที่หยุดนิ่งตายตัว การเรียนรู้จะมีลักษณะ “ดิ้นได้” คือมีชีวิต เป็นพลวัต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้ร่วมกัน เป็น collective learning และเป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ (interaction learning through action)
อ.บดินทร์ วิจารณ์ เป็นบุคคลหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในด้าน การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) และองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)ได้กล่าวไว้เมื่อคราวสัมมนาวิชาการ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2548 ณ ห้องประชุม 2 อาคาร HS05 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่า การจัดการความรู้ (KM) สิ่งสำคัญมันอยู่ที่การลงมือปฏิบัติให้ได้ ใช้ภาษาเดียวกัน สื่อความหมายกันให้ได้ การเรียนรู้ของบุคคลหัวใจสำคัญอยู่ที่เราจะได้เรียนรู้จากการสอนคนอื่น (Learning from Teaching) และ สิ่งที่สำคัญของการจัดการความรู้ ก็คือ เรื่องของคน การพัฒนาคน คนพัฒนาตนเอง การวางแผนทำงาน การจัดลำดับความสำคัญ ของงาน ขององค์กร
5. การจัดการความรู้กับองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นพบว่าองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆ กับการที่บุคลากรลาออกหรือเกษียณ อายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจากแนวคิดที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้มากแต่เพียงอย่างเดียวจึงเปลี่ยนไป และมีคำถามต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรได้เรียนรู้ด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้จึงสัมพันธ์กับเรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นอย่างยิ่ง หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบเพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกายังคงแข่งขันกันหาวิธีบริหารจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อให้อยู่ในโลกของการแข่งขันได้สำหรับประเทศไทยนั้นคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้บริหารที่จะหายุทธวิธีในการดึงความรู้ออกมาจากตัวบุคคล และการกระตุ้นให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนร่วมงาน ซึ่งการถ่ายทอดความรู้บางประเภทนั้น การฝึกอบรมอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด อุปสรรคที่มักพบอยู่เสมอของการบริหารจัดการความรู้คือพฤติกรรม "การหวงความรู้" และวัฒนธรรม "การไม่ยอมรับในตัวบุคคล" หากองค์กรสามารถกำจัดจุดอ่อนทั้งสองอย่างนี้ได้การบริหารจัดการความรู้ก็มิใช่เรื่องยากจนเกินไป สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญที่ผ่านมาเมื่อเดือนตุลาคม 2545 ได้มีการวางกรอบแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นเรื่องของการกำหนดขอบเขต แบบแผน วิธีปฏิบัติ โดยเฉพาะมาตรา 11 ได้กำหนดเป็นหลักการว่าส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
6. ชุมชนนักปฏิบัติ
ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน
ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร
เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ
แนวคิดของการปฏิบัติในชุมชนนักปฏิบัติ หรือ P ใน CoP หมายถึง การกระทำในบริบทเฉพาะ
สิ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติ และเป็นผลจากการเรียนรู้ ได้แก่
• สิ่งที่ปรากฎชัดแจ้ง: เครื่องมือ เอกสาร ภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ บทบาที่ชัดเจน เกณฑ์ที่กำหนดไว้ กฎข้อบังคับ สัญญา
• สิ่งที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง: ความสัมพันธ์ กฎเกณฑ์ในใจ ความหยั่งรู้ การรับรู้ ความอ่อนไหว ความเข้าใจ สมมติฐาน มุมมองซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป
การปฏิบัติมิใช่สิ่งตายตัว ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง หรือกฎระเบียบ
มีคนอื่นในองค์กร ซึ่งมีประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์กับเรา พวกเขาเต็มใจที่จะแบ่งปันประสบการณ์นั้น ให้ผู้อื่น และเราเต็มใจที่จะช่วยพวก เขา เราสามารถค้นหาพวกเขาได้พบ แม้จะไม่รู้จักพวกเขา
ธรรมชาติของ CoP
1. องค์กรประกอบไปด้วย CoP จำนวนมากทับซ้อนกันอยู่ คู่ขนานไปกับโครงสร้างที่เป็นทางการขององค์กร
2. รอบชีวิตของ CoP ไม่มีความชัดเจนว่า เริ่มต้นเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร ขึ้นกับความพร้อม และโอกาสเหมาะ สำหรับการเรียนรู้
3. ประเด็นที่ CoP ให้ความสนใจจะเปลี่ยนไปตามความต้องการ และความสนใจของสมาชิก
การสนับสนุน CoP
1. ปฏิบัติต่อ CoP เสมือนทรัพย์สินขององค์กร ให้การสนับสนุนทรัพยากร และข้อมูลข่าวสาร ดูแลเป้าหมายให้สอดคล้องกับองค์กร
2. ส่งเสริมการสร้าง CoP ด้วยการยอมรับผลงานที่เกิดขึ้น จากกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ และดึงชุมชนเข้ามาร่วมกันทำงาน ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีก
3. มองว่า องค์กรเป็นที่รวมของชุมชน ที่เชื่อมต่อกัน
ส่งเสริมให้มีจุดยืนที่เหมาะสม และมีส่วนต่อความสำเร็จขององค์กร
1. ส่งเสริมให้ CoP เรียนรู้จากภายในกลุ่ม และจากกลุ่มอื่นๆ
2. ดูแลว่า กลไกขององค์กรมีส่วนในการสนับสนุน CoP
3. ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกรูปแบบ และเชื่อมต่อทั่วทั้งองค์กร
มุมมองต่อการเรียนรู้
1. การเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ แต่เรามักจะมองไม่เห็นว่า เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการดูเอกสาร ของคนอื่น แต่เกิดจากการทำความเข้าใจ ในตรรกะ หรือวิธีคิดของคนอื่น

เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยให้เราแลกเปลี่ยนความเข้าใจ และความคิดกันได้กว้างขวางขึ้น
2. หัวใจของการแลกเปลี่ยน คือ ความสนใจร่วมกัน ใส่ใจความคิดของกันและกัน และสร้างชุมชนซึ่งเชื่อใจกัน
การหาโอกาสเรียนรู้
1. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ให้มองหาแบบแผน / สาเหตุของการมีส่วนร่วม และการแยกตัวของสมาชิก
2. เมื่อมีการนำความรู้ไปใช้ในบริบทอื่น หรือมีการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปยังอีกหน้วยงานหนึ่ง ให้ติดตามเรียนรู้การปรับเปลี่ยน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และการแผลความหมายใหม่
3. รับรู้การเกิดขึ้น ของวิธีปฏิบัติใหม่ๆ ในที่ไกลหูไกลตา
4. การเรียนรู้ที่ชายขอบของ CoP ก็มีความสำคัญ ได้แก่ การดึงดูดสมาชิกใหม่ การตอบสนองสิ่งกระตุ้นจากภายนอก การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนอื่นๆ
ข้อควรระวัง
1. ความพยายามที่จะเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึก มาเข้าไว้ในลักษณะของเอกสาร อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกิดเป็นขยะของข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่คนใช้ สุดท้ายคนก็ยังต้องการความช่วยเหลือ ในเรื่องประสบการณ์ จากเพื่อนร่วมงาน
2. ให้มีการเรียนรู้ใกล้ชิดกับการปฏิบัติให้มากที่สุด อย่าด่วนหลวมตัวที่จะสกัดความรู้ความรู้จาก CoP หรือเปลี่ยนความรู้จาก CoP ไปเป็นหลักสูตรเพื่อการฝึกอบรม

แนวคิดปัจจุบัน
เปลี่ยนจากการเก็บเกี่ยวความรู้ ไปสู่การเชื่อมต่อระหว่างบุคคล อย่าสร้างห้องสมุดที่เต็มไปด้วยเอกสาร ให้สร้างบัตรรายชื่อบุคคล (card catalog) เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลต่อบุคคล
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
กลุ่มที่ไม่เป็นทางการเป็นสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติอยู่แล้วในองค์กร มีลักษณะของสิ่งมีชีวิต เติบโตขึ้นเมื่อเป็นที่ประสงค์ของสมาชิก การที่จะให้มีคุณค่าต่อองค์กร จะต้องได้รับการเพาะบ่ม ดูแลด้วยความระมัดระวัง การสนับสนุนมาเกินไป อาจจะทำให้ไม่เป็นที่สนใจจากสมาชิก การปล่อยปละละเลย ก็อาจจะทำให้แคระแกร็นเหี่ยวเฉา ความท้าทายนี้แตกต่างจากปัจจัยต่างๆ ที่ผู้นำองค์กรเคยประสบ
ความท้าทายสำหรับ CoP
ปัญหาสำคัญของชุมชนที่กำลังเติบโต คือ การที่สมาชิกสูญเสียความสนใจ และปล่อยให้ผู้ประสานงานรับผิดชอบไปคนเเดียว เมื่อผู้ประสานงานหันไปทำงานอื่น ชุมชนก็ล่มสลาย ปัญหาสำคัญของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่สนใจอยู่แต่ความสำเร็จของตนเอง ข้อเสนอแนะต่อไปนี้ จะช่วยรักษาพลังของชุมชน ให้เกิดความต่อเนื่อง นำสมาชิกใหม่เข้ามาร่วม และมุ่งไปที่ประเด็นที่แหลมคม
เชิญผู้นำทางความคิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับเข้ามาร่วมแต่เริ่มแรก เพื่อสร้างพลังให้แก่ชุมชน
จัดให้มีเวทีพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อสร้างความตื่นตัว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้สึกร่วม
ส่งเสริมการติดต่อระหว่างสมาชิกของชุมชน
จัดตั้งกลุ่มแกนที่แข็งขัน ไม่จำเป็นว่าสมาชิกทุกคนจะมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน สนับสนุนกลุ่มแกนด้วยการให้เป็นที่รับรู้ของชุมชน และไม่รบกวนเวลาเพิ่มมากเป็นพิเศษ
ความท้าทายด้านเทคนิค
ทำให้การติดต่อ การให้ข้อมูล และการเข้าถึงชุมชนเป็นเรื่องง่าย เช่น การใช้ Software computer ที่ใช้ง่าย และคุ้นเคย ความท้าทายสำหรับสมาชิก สิ่งที่มีคุณค่ามากของชุมชน คือ การร่วมกันแก้ปัญหา แต่การอภิปรายปัญหาอย่างเปิดอก ในขณะที่ความคิดยังไม่สุกงอมดี หรือคิดดัง ๆ ในที่ประชุมเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติของเรา ความท้าทายของสมาชิกที่สำคัญ คือ การพูดถึงปัญหาของตนเอง ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่เราไม่รู้จัก
สร้างเวทีเสวนาในประเด็นที่เฉียบคม ให้สมาชิกอาวุโสซึ่งคนยอมรับ เป็นผู้ขอความช่วยเหลือ และหาผู้ที่มีกึ๋นไปร่วมอยู่ในเวที ผู้ประสานงานช่วยกระตุ้นให้อธิบายหลักคิดของข้อเสนอ เพื่อให้สมาชิกอภิปรายไปที่สมมติฐาน ที่ใช้และเลือกการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มขนาดเล็ก 2-3 คน อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างชุมชนได้
ตามนิยามของ DOPA KM Team ได้กล่าวไว้ว่า CoP เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะนี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สำคัญ
Cop จะมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเป็นทีมปฏิบัติงานปกติทั่วไปตรงที่ Cop เป็นการรวมตัวกันอย่างสมัครใจ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยกิจกรรมทางสังคม ไม่ได้มีการมอบหมายสั่งการเป็นการเฉพาะและจะเลือกทำในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจร่วมกันเท่านั้น
ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม CoP จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงานของบุคคลและองค์กรต่อไป และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในท่ามกลางบรรยากาศแบบสบาย ๆ ประกอบกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่าสุนทรีสนทนา (Dialogue) ซึ่งเป็นการสนทนาที่เคารพความคิดเห็นของผู้พูดให้เกียรติกัน ให้โอกาสกัน และไม่พยายามขัดขวางความคิดใคร กับรับฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ (Deep Listening)
กรมการปกครองเริ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Cop) นำร่องที่ วปค.
จากการที่กรมการปกครองได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลมอบหมายให้เป็น ภาคส่วนหลักในการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญระดับชาติต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การรักษาความมั่นคงภายใน การแก้ไขปัญหายาเสพติด การบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น แสดงถึงการมีบุคลากรที่เป็น “ทุนทางสังคม” อยู่เป็นพื้นฐานในองค์กร กรมการปกครองจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในรูปของการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น โดยนำร่องที่วิทยาลัยการปกครองก่อน เรียกว่า “โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) วิทยาลัยการปกครอง” โดยมีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ
(1) นำทฤษฏีการจัดการองค์ความรู้ (KM) มาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติงานจริง
(2) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทั่วองค์กร (Communication) ด้านการจัดการองค์ความรู้
(3) เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ CoP ในกระบวนการ KM สำหรับแนวทางดำเนินการกำหนดไว้ ดังนี้
3.1 การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร
3.2 ทำหนังสือเวียน เชิญชวน ข้าราชการ ลูกจ้าง ร่วมเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้
3.3 เชิญสมาชิกประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ตามหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสมาชิก
3.4 ประสานงานเรื่องสถานที่ประสานงานบุคคลและงานธุรการอื่น
3.5 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ
3.6 จัดทำสรุปการเสวนาของ CoP เพื่อเผยแพร่ จัดกิจกรรม กระตุ้น ส่งเสริม เป็นระยะ ๆ
3.7 ติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงาน
โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องมีความอดทนและใช้เวลารวมถึงการกระตุ้นส่งเสริมและให้กำลังใจจากผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ๆ ก็คงจะต้องให้มีการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่งแล้วติดตามประเมินผลเพื่อทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อไป
บทสรุป
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) เป็นกิจกรรมเริ่มต้นอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการ KM ที่มีกิจกรรมหลายประการที่จะต้องดำเนินการทั้งในส่วนที่อาจเรียกว่าเป็นมิติของการบังคับและในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริม ส่วนที่เป็นมิติการบังคับ คือ การที่จะต้องดำเนินการ KM ในฐานะตัวชี้วัดที่เป็นพันธะสัญญาที่กรมการปกครองได้จัดทำไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 กับ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้สำเร็จ คือ การดำเนินการในส่วนกลางของทุกสำนัก/กอง ตามแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ (KM Action Plan) กับการดำเนินการในส่วนภูมิภาคของอำเภอ/กิ่งอำเภอ ในการทำให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอำเภอ/กิ่งอำเภอ จะต้องจัดทำผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ จำนวน 1 เรื่อง เพื่อเผยแพร่ติดไว้ที่ ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ และบันทึกไว้ที่เว็บไซต์ของจังหวัดและกรมการปกครอง ในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริมคือ การดำเนินการ KM ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อน องค์กรสู่ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและทำให้มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด บุคลากรของกรมการปกครองที่ถือได้ว่าเป็น “ทุนทางสังคม” มีความสำคัญยิ่งต่อการเดินทางไปสู่เป้าหมาย KM ดังกล่าว การศึกษาเรียนรู้เรื่อง KM และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรม KM ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผล กับงานด้านการจัดการความรู้ที่กรมปกครองรับผิดชอบเช่นเดียวกับงานอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ามาและสำเร็จผลลงด้วยดี กับทั้งเกิดคุณค่าประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนและชาติบ้านเมืองไปพร้อมกัน เป็นที่ยอมรับและได้เกิดความไว้วางใจจากรัฐบาลทุกรัฐบาลเสมอมา
7. โมเดลการจัดการความรู้
Nonaka, I. and H. Takeuchi, (1995), The Knowledge Creating Company, Oxford University Press, New York, NY.
มเดลเซกิ (SECI Model) [8] # ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit
กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit
กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร
http://en.wikipedia.org/....knowledge_dimensions
http://aminaghazadeh.edublogs.../nonakas-seci-model/
http://www.slideshare.net/..knowledge-managemetn
http://nandita-msn.blogspot.com/..-km-models.html
NCCIT2013 : an_information_technology_knowledge_...pdf
NCCIT2013 : online_computer_crime_law_knowledge_...pdf
NCCIT2013 : semantic_knowledge_..auditing.pdf
วงจรชีวิตแบบก้นหอย (Spiral life cycle model)
Barry Boehm, “Spiral Development: Experience, Principles, and Refinements,” Wilfred J. Hansen, ed., CMU/SEI-2000-SR-008, July 2000. Available at http://..sei.cmu.edu/.. 008.pdf. Accessed March 8, 2016.
วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยตัวแบบก้นหอย (Spiral Model)
วงจรชีวิตแบบก้นหอย (Spiral life cycle model) คือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สมบูรณ์จำเป็นต้องมีการดำเนินการหลายวงรอบ ทบทวนจนกว่าจะได้ซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์ ในแต่ละรอบมีรายละเอียดกิจกรรมแตกต่างกันไป อาทิ กำหนดแนวคิดความต้องการ กำหนดการดำเนินการ กำหนดความต้องการของแผน สร้างต้นแบบแรก ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ทบทวนแผน พัฒนาต้นแบบ และทดสอบใหม่ ออกแบบในรายละเอียด ทดสอบครั้งสุดท้าย นำไปติดตั้ง และใช้งาน แล้วทบทวนว่าต้องดำเนินการรอบใหม่หรือไม่ ซึ่งกิจกรรมหลักมี 4 กิจกรรม หากพบว่าขั้นตอนใดไม่สมบูรณ์ก็จะมีการทบทวน และทำซ้ำ ดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Determine objectives) เป็นกิจกรรมแรกของทุกรอบ ที่ต้องอาศัยข้อมูลก่อนหน้านี้ไปประกอบการวางแผน กำหนดตัวชี้วัด ระบุทางเลือก
2. ระบุปัญหา และแก้ไขความเสี่ยง (Identify and resolve risks) เป็นกิจกรรมที่นำทางเลือกมาประเมินความเสี่ยง และหาแนวทางแก้ไข
3. พัฒนาและทดสอบ (Development and test) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการให้ความเสี่ยงหมดไป ด้วยการแก้ปัญหาตามที่ได้ประเมินไว้
4. วางแผนสำหรับวงรอบต่อไป (Plan the next iteration) เป็นกิจกรรมที่มองไปข้างหน้า ทดสอบ และประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละรอบ
wikipedia.org/wiki/Spiral_model
freetutes.com/..spiral-model.html
courses.cs.vt.edu/../spiralmodel.html
แผนผังก้างปลา กับ ทูน่าโมเดล แผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
เรียกเป็นทางการว่า แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)

แผนผังสาเหตุและผลเป็นแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา (Problem)
กับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น (Possible Cause)
โดยแผนผังนี้มีลักษณะเหมือนก้างปลาที่เหลือแต่ก้าง จึงเรียกว่าผังก้างปลา
หรือเรียกว่าแผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa Diagram) ตามชื่อผู้พัฒนา

แผนผังก้างปลาได้รับการพัฒนาครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ.2486)
โดย ศาสตราจารย์คาโอรุ อิชิกาว่า แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JIS)
ได้นิยามความหมายของผังก้างปลานี้ว่า "เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ
ระหว่างสาเหตุหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา"

การกำหนดปัจจัยบนก้างปลา
หลักการ 4M 1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อจะนำไปสู่การแยกแยะสาเหตุต่าง ๆ
1. Man คนงาน หรือพนักงาน หรือบุคลากร
2. Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
3. Material วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
4. Method กระบวนการทำงาน
5. Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน
prachasan.com/../fishbonemm.htm
แผนผังก้างปลา เป็นเรื่องหาทางแก้ปัญหา เหมาะกับองค์กรที่รู้ตัวว่ามีปัญหา
โมเดลปลาทู เป็นเรื่องของการจัดการความรู้ เหมาะกับองค์กรที่บุคลากรมีความรู้

โมเดลปลาทู (Tuna Model)
เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วนสัมพันธ์กัน
ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision- KV)
หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้
โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?”
โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด
โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ

ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS)
หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ”
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว
“คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม
ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets-KA)
หมายถึง ส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้”
ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา”
ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่าง ๆ
เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด
นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
+ http://plan.rmuti.ac.th/plan/?p=176
การปรับใช้ ทูน่าโมเดล
ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด,
"การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ",
สำนักพิมพ์ใยไหม, กรุงเทพฯ, 2549.
ตัวแบบทูน่า (Tuna model) โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด (2550: 21-26) เป็นตัวแบบหนึ่งของการจัดการความรู้ ที่ผมนำมาประยุกต์ และเพิ่มระบบย่อยเข้าไปในแต่ละส่วน ให้เป็นตัวแบบที่ใช้อธิบาย “การพัฒนาการบูรณาการระบบสารสนเทศบุคลากร โดยใช้ตัวแบบทูน่า” ซึ่งตัวแบบกำหนดเป็น 3 ส่วน
ส่วนแรก ส่วนกำหนดทิศทาง (Knowledge Vision)
1. วิสัยทัศน์/นโยบาย (Vision)
2. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ (Indicator)
3. แผนปฏิบัติการ (Plan)
4. จัดสรรทรัพยากร (Resource)
ส่วนที่สอง ส่วนแลกเปลี่ยน และแบ่งปัน (Knowledge Sharing)
1. กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Group Discussion)
2. วิเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Analysis)
3. ฝึกใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Practice)
4. สังเคราะห์ แล้วแบ่งปัน (Synthesis)
ส่วนที่สาม ส่วนสะสม (Knowledge Asset)
1. รวบรวมความรู้เข้าคลัง (Collection)
2. จัดการความรู้ (Management)
3. ประเมินความรู้ (Evaluation)
4. เผยแพร่ความรู้ (Sharing)
และมีการไหลของวิสัยทัศน์จากหัวปลาไปหางปลา ซึ่งผู้บริหารกำหนดวิสัยทัศน์ในแบบ (Top-Down Direction) และมีการไหลของความรู้ขึ้นมาจากหางปลาไปสู่หัวปลา ซึ่งความรู้ถูกเรียกใช้ขึ้นมาจากทุกระดับ (Bottom-up Direction)
8. คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ คุณประสาน คนสำคัญที่ดำเนินการจัดการความรู้
1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO) สำหรับวงการจัดการความรู้ ถ้าผู้บริหารสูงสุดเป็นแชมเปี้ยน (เห็นคุณค่า และดำเนินการผลักดัน KM) เรื่องที่ว่ายากทั้งหลายก็ง่ายขึ้น ผู้บริหารสูงสุดควรเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจัดการความรู้ โดยกำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ “คุณเอื้อ (ระบบ)” ของ KM ซึ่งควรเป็นผู้บริหารระดับสูง เช่น รองอธิบดี, รองผู้อำนวยการใหญ่
2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) ถ้าการริเริ่มมาจากผู้บริหารสูงสุด “คุณเอื้อ” ก็สบายไปเปลาะหนึ่ง แต่ถ้าการริเริ่มที่แท้จริงไม่ได้มาจากผู้บริหารสูงสุด บทบาทแรกของ “คุณเอื้อ” ก็คือ นำ เป้าหมาย/หัวปลา ไปขายผู้บริหารสูงสุด ให้ผู้บริหารสูงสุดกลายเป็นเจ้าของ “หัวปลา” ให้ได้ บทบาทต่อไปของ “คุณเอื้อ” คือ การหา “คุณอำนวย” และร่วมกับ “คุณอำนวย” จัดให้มีการกำหนด “เป้าหมาย/หัวปลา” ในระดับย่อยๆ ของ “คุณกิจ/ผู้ปฏิบัติงาน”, คอยเชื่อมโยง “หัวปลา” เข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ขององค์กร, จัดบรรยากาศแนวราบ และการบริหารงานแบบเอื้ออำนาจ (Empowerment), ร่วม Share ทักษะในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการจัดการความรู้โดยตรง และเพื่อแสดงให้ “คุณกิจ” เห็นคุณค่าของทักษะดังกล่าว, จัดสรรทรัพยากรสำหรับใช้ในกิจกรรมจัดการความรู้ พร้อมคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ทั้งภายในและนอกองค์กร, ติดตามความเคลื่อนไหวของการดำเนินการให้คำแนะนำบางเรื่อง และแสดงท่าทีชื่นชมในความสำเร็จ อาจจัดให้มีการยกย่องในผลสำเร็จ และให้รางวัลที่อาจไม่เน้นสิ่งของแต่เน้นการสร้างความภาคภูมิใจในความสำเร็จ
3. คุณอำนวย (Knowledge Facilitator , KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ความสำคัญของ “คุณอำนวย” อยู่ที่การเป็นนักจุดประกายความคิดและการเป็นนักเชื่อมโยง โดยต้องเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (“คุณกิจ”) กับผู้บริหาร (“คุณเอื้อ”), เชื่อมโยงระหว่าง “คุณกิจ” ต่างกลุ่มภายในองค์กร, และเชื่อมโยงการจัดการความรู้ภายในองค์กร กับภายนอกองค์กร โดยหน้าที่ที่ “คุณอำนวย” ควรทำ คือ - ร่วมกับ “คุณเอื้อ” จัดให้มีการกำหนด “หัวปลา” ของ “คุณกิจ” อาจจัด “มหกรรมหัวปลา” เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของ “หัวปลา” - จัดตลาดนัดความรู้ เพื่อให้ คุณกิจ นำความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดความรู้ออกมาจากวิธีทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้น เพื่อการบรรลุ “หัวปลา” - จัดการดูงาน หรือกิจกรรม “เชิญเพื่อนมาช่วย” (Peer Assist) เพื่อให้บรรลุ “หัวปลา” ได้ง่าย หรือเร็วขึ้น โดยที่ผู้นั้นจะอยู่ภายในหรือนอกองค์กรก็ได้ เรียนรู้วิธีทำงานจากเขา เชิญเขามาเล่าหรือสาธิต - จัดพื้นที่เสมือนสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสำหรับเก็บรวบรวมขุมความรู้ที่ได้ เช่น ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศซึ่งรวมทั้งเว็บไซต์ เว็บบอร์ด เว็บบล็อก อินทราเน็ต จดหมายข่าว เป็นต้น - ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP-Community of Practice) ในเรื่องที่เป็นความรู้ หรือเป็นหัวใจในการบรรลุเป้าหมายหลักขององค์กร - เชื่อมโยงการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร กับกิจกรรมจัดการความรู้ภายนอก เพื่อสร้างความคึกคักและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภายนอก
4. คุณกิจ (Knowledge Pracititoner, KP) “คุณกิจ” หรือผู้ปฏิบัติงาน เป็นพระเอกหรือนางเอกตัวจริง ของการจัดการความรู้ เพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ประมาณร้อยละ 90-95 ของทั้งหมด “คุณกิจ” เป็นเจ้าของ “หัวปลา” โดยแท้จริง และเป็นผู้ที่มีความรู้ (Explicit Knowledge) และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง “เป้าหมาย/หัวปลา” ที่ตั้งไว้
5. คุณประสาน (Network Manager) เป็นผู้ที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงที่กว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ
9. ต.ย. ผลงานการจัดการความรู้ - R2R วิจัยและนวัตกรรม หกรรมงานคุณภาพ การจัดการความรู้ R2R วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 7 / 2563 วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ผลงานการจัดการความรู้ โดย : รศ.ดร.สุธรรม นันทมงคลชัย จำนวน 72 หน้า มีตัวอย่างชื่อผลงาน 5 รายการแรก จากทั้งหมด 24 เรื่อง ดังนี้
1. การฟอกเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตติดเชื้อโควิด-19
2. การจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน : หวานเป๊ะ ทันใจไม่ไฮเปอร์
3. การพัฒนาคุณภาพการดูแลบาดแผลเปิด ด้วย VACUUM DRESSING ในจังหวัดชุมพร
4. การพัฒนาเครื่องมือการตรวจราชการ และนิเทศงานของเขตสุขภาพที่ 11 ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ โคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19)
5. การบูรณาการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย และจิตใจ 14 วันแห่งความหวัง สําหรับผู้ถูกกักตัว Hotel Quarantine ตําบลเชิงทะเล
เอกสารประกอบการประชุม มหกรรมงานคุณภาพฯ
ต.ย. ผลงานการจัดการความรู้ - จังหวัดลำปาง กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศ และการสื่อสารจังหวัดลำปาง รวบรวมเอกสาร การจัดการความรู้จังหวัดลำปาง (KM) ไว้ปีละหลายเรื่อง
ข้อมูลทั้งหมดจาก lampang.go.th/db_lap/km/
ปี 2554
- การพัฒนาตลาดสับปะรด (สนง.สหกรณ์จังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_54_pineapple_kmstep.pdf
- การจัดทำแนวกันไฟแบบป่าเปียก (สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..forest_info_kmstep.pdf
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้วัสดุเศษหินจากกระบวนการผลิตครกหินฯ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง)
thainame.net/..summary_working.pdf
ปี 2553
- การจัดการขยะชุมชน (สนง.ทรัพยากรธรรมชาติฯ)
thainame.net/..garbage_fullreport.pdf
- การเพาะเลี้ยงปลาบึก (สนง.ประมงจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_53_fish_fullreport.pdf
- การปลูกผักปลอดสารพิษ (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..vegetable_brochure.pdf
- การปลูกข้าวโดยวิธีโยนกล้า (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_53_rice_brochure.pdf
- ประโยชน์น้ำส้มควันไว้ PV (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..wood_vinegar_howto.pdf
ปี 2552
- การสร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบถุงหมักพีวีซี (สนง.ปศุสัตว์จฯ)
thainame.net/km/km_52_gas_howto.pdf
- การเพาะเลี้ยงอึ่ง (สนง.ประมงจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_52_frog_poster.pdf
- การเลี้ยงหมูหลุม (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..pig_brochure.pdf
- การอนุบาลลูกไก่พื้นเมือง (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..chicken_brochure.pdf
- เครื่องหยอดปุ๋ย (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..fertilizer_brochure.pdf
- การเลี้ยงหนองนก/จิ้งหรีด (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_52_worm_ppt.pdf
- ไผ่ชุมชน (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_52_bamboo_ppt.pdf
ปี 2551
- การแปรรูปอาหาร (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..processing_brochure.pdf
- การผลิตเสบียงสัตว์ (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/..animal_food_proposal.pdf
- การบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/.._community_brochure.pdf
- การเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้กับแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงฯ
thainame.net/..happy_village_report.pdf
ปี 2550
- การปรับปรุงบำรุงดิน (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_50_soil_howto.pdf
- เทคนิคการตัดแต่งกิ่งกาแฟ (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_50_coffee_brochure.pdf
- เทคนิคการผลิตสับปะรด (สนง.เกษตรจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_50_pineapple_howto.pdf
- กระบวนการเรียนรู้ผู้นำเครือข่าย (สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง)
thainame.net/km/km_50_leader_report.pdf
10. มาตรฐานระบบจัดการความรู้ ISO 30401:2018 International Standard - ISO 30401:2018 : Knowledge Management Systems
ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานระบบการจัดการความรู้ จาก ISO 9001:2015 เป็น ISO 30401:2018 ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2018 ได้มีการประกาศ ISO 30401:2018 ระบบการจัดการความรู้ที่เสนอข้อกำหนด แนะนำแนวทางในการจัดตั้ง ดำเนินการ ประเมิน และปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ครอบคลุม บริบทองค์กร (Context of the organization) , ความเป็นผู้นำ (Leadership) , การวางแผน (Planning) , การสนับสนุน (Support) , การดำเนินงาน (Operation) , การประเมินผลการดำเนินงาน (Performance evaluation) , และ การปรับปรุง (Improvement)
อ่านเพิ่ม .. iso30401.htm
อ่านเพิ่มเติม
แนะนำหนังสือ หนังสือ องค์กรแห่งการตื่นรู้ Awakening Organization ของ ดร.เกศรา รักชาติ
p.29 องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

คือ องค์กรที่มุ่งพัฒนาและปรับปรุงขีดความสามารถ ศักยภาพของทั้งบุคลากร ทีมงานและองค์กร อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์อย่างที่ใจสมาชิกทุกคนในองค์กรต้องการ (A Learning Organization is one that is continually improving its ability to get the results it truly wants.) หนังสือ ทฤษฎีการจัดการความรู้ p.24 กระบวนการจัดการความรู้ในองค์กรมี 6 กิจกรรม ดังนี้ 1)การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้ (Knowledge Audit) 2)การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร (Create Business Framework) 3)การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ (Knowledge Analysis and Structuring) 4)การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้ (IT-Based Knowledge management System) 5)การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้ (Foster Application) 6)การวัดประเมินผลการจัดการความรู้ (Performance Measurement)
บทความไอทีในชีวิตประจำวัน ไอทีในชีวิตประจำวัน # 266 จัดการความรู้เครื่องพิมพ์
รุ่นและยี่ห้อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน แต่ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการมักไม่แตกต่าง เพราะต้องมีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ แม้มีความแตกต่างของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงความเข้ากันได้เป็นสำคัญ ทำให้สามารถใช้ซอฟท์แวร์มาเป็นตัวกลางลดช่องว่างระหว่างความแตกต่างลง ส่วนองค์กรที่ใช้ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการแตกต่างกัน อาทิ ไมโครซอฟท์ ลีนุกซ์ แมคอินทอร์ช ย่อมทำให้การใช้ข้อมูลข้ามเครื่องเกิดความโกลาหลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เฉพาะเครื่องใดเครื่องหนึ่ง บางองค์กรจัดตั้งเครื่องพิมพ์ให้ถูกใช้ร่วมกันจากเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง และองค์กรขนาดใหญ่มักมีประเภทของเครื่องพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 ประเภท คือ Laser , Inkjet และ DotMatrix การเลือกเครื่องพิมพ์ของหน่วยงานย่อมมีความเหมาะสมแตกต่างกันไป เช่น ผู้บริหารย่อมใช้แบบ Laser เพื่อคุณภาพของงานที่ต้องมาก่อน แผนกประชาสัมพันธ์เลือกใช้แบบ Inkjet เพราะต้องใช้เอกสารหลากสี นำเสนอภาพลักษณ์ ใช้เครื่อง Scan และ Copy ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้ด้วยเครื่องพิมพ์แบบ Inkjet เพียงเครื่องเดียว ส่วนแผนกการเงินต้องใช้แบบ Dotmatrix เพราะต้องพิมพ์เอกสารแบบมีสำเนาผ่านหัวเข็มแบบตอกกระทบ หรือใช้กับกระดาษคาร์บอนที่ใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการรุ่นของเครื่องพิมพ์จะเกิดขึ้นในองค์กรที่ขาดการจัดการความรู้ ไม่มีการบ่งชี้ความรู้ไปถึงการเรียนรู้ เพราะถ้าปล่อยให้หน่วยงานเลือกซื้อเครื่องพิมพ์โดยขาดการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขาดการทำความเข้าใจร่วมย่อมไม่สามารถบริหารจัดการสินค้าคงเหลือในองค์กร บางองค์กรมีหน่วยงาน 50 หน่วยอาจมีเครื่องพิมพ์ถึง 25 รุ่น แต่ถ้ามีการจัดการความรู้ก่อนซื้อเครื่องพิมพ์ก็จะทำให้จำนวนรุ่นลดลง สามารถบริหารจัดการ บำรุงรักษา แลกเปลี่ยน ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และจัดซื้อหมึกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ระบบองค์ความรู้กฎหมายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ [5] เปรมวดี วิเชียรทอง และมาลีรัตน์ โสดานิล (2556) ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ระบบองค์ความรู้กฎหมายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้นำความรู้ที่ได้จากระบบที่พัฒนาขึ้น ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2550 มีวิธีการดำเนินงานวิจัย 4 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล 2) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3) การพัฒนาระบบ 4) การทดสอบและประเมินผลระบบ ในการวัดประสิทธิภาพของการค้นคืนข้อมูลองค์ความรู้ใช้ค่าความสอดคล้อง (Recall) และค่าความสัมพันธ์ (Precision) พบว่ามีความสอดคล้องกับคำสอบถาม คือ 0.5 - 1 และมีความสัมพันธ์ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.333 - 1 แล้วใช้แบบประเมินความพึงพอใจเป็นเกณฑ์ประเมิน จำแนกผู้ประเมินเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งานทั่วไป พบว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจ 3.84 S.D. 0.63 และผู้ใช้งานทั่วไปมีความพึงพอใจ 4.06 S.D. 0.40 ซึ่งสรุปได้ว่าทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจในระดับมาก
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่อง การจัดการองค์ความรู้เชิงความหมายโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอสำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์ [6] อัจฉรา แก้วละเอียด และผุสดี บุญรอด (2556) ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง การจัดการองค์ความรู้เชิงความหมายโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอสำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้สำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยสร้างฐานความรู้ออนโทโลยีในรูปแบบโดเมนออนโทโลยี แล้วแปลงไปเป็นภาษาเอ็กซ์เอ็มแอลรองรับการค้นคืนเชิงความหมาย ใช้เครื่องมือคือ โปรแกรมโฮโซ ออนโทโลยี อีดิเตอร์ (Hozo-Ontology editor) มีวิธีการดำเนินงานวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์และออกแบบระบบจัดการองค์ความรู้โดยใช้โมเดลเอสอีซีไอ 2) การพัฒนาฐานความรู้และระบบการจัดการองค์ความรู้ 3) การทดสอบระบบ โดยประเมินคุณภาพด้วยวิธีการแบบแบล็คบ็อกซ์ (Black box testing) มีผลประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.16 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 มีผลประเมินโดยผู้ใช้ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.12 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 ซึ่งสรุปได้ว่าฐานความรู้ออนโทโลยีและระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถจัดการองค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง [7] ณัฐพล สมบูรณ์ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร (2556) ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อพัฒนาระบบถามตอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้เทคนิคการจัดการความรู้ด้วยโมเดลปลาทู (Tuna Model) ที่มี 3 ส่วนคือ 1) การรวบรวมและจัดเก็บความรู้ แยกหมวดหมู่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (KV = Knowledge Vision) 2) การกระจายความรู้ (KS = Knowledge Sharing) 3) การเก็บเข้าคลังความรู้ (KA = Knowledge Assets) มีวิธีการดำเนินงานวิจัย 2 ขั้นตอนคือ 1) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2) การพัฒนาระบบ มีผลประเมินความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23 มีผลประเมินโดยผู้ใช้ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86 ซึ่งสรุปได้ว่าระบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงและช่วยในการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มองเลยไปหน่อย กับ เขื่อนแม่วงก์

หนังสือ “สร้างเขื่อนแม่วงก์เถอะนะฯ” 2564
พบเสือโคร่ง 16 ตัว
แผนพัฒนาแหล่งน้ำ แทนการสร้างเขื่อน
ทำความเข้าใจก่อนอ่านเรื่องต่อไปนี้ ตามหลักของการจัดการความรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้องเชื่อก่อนว่า เหรียญมีมากกว่า 2 ด้าน
ประเด็น คือ .. ผมสนับสนุนการไม่สร้างเชื่อนแม่วงก์ เหมือนกัน เพียงแต่มองเลยมุมที่เห็นมอง ๆ กันอยู่ไปอีกหน่อย เท่านั้นเอง และไม่ใช่ทุกเขื่อนที่เหมาะสมกับการถูกปล่อยน้ำจนหมดเขื่อน
thaiall.com/blog/burin/5529/

การมีเขื่อน หรือสร้างเขื่อนใหม่ อาทิ เขื่อนแม่วงก์ ทำให้กระทบสิ่งแวดล้อมมากมาย [มหาศาล] มีกลุ่มคนในประเทศไทยไม่เห็นชอบต่อการสร้างเขื่อน ลอง [ลองเฉย ๆ ครับ] ชวนคิดย้อนกลับปล่อยน้ำให้หมด แล้วใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหนือเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้น โดยพิจารณาข้อมูลจากคลิ๊ปที่อธิบายผลเสียของเขื่อน
ปล่อยน้ำหมดเขื่อนแล้วได้อะไร
1. ได้พื้นที่ดินบนพื้นโลก สำหรับปลูกต้นไม้ เพาะปลูก เป็นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด เพื่อขึ้นอีกมากมาย
2. ได้พื้นที่ป่าราบต่ำเพิ่มขึ้น ที่เป็นแหล่งหากิน และอาศัยของสัตว์ หากพัฒนาให้ดีก็จะมีสัตว์ป่ามาพักอาศัยชุกชุม เพราะดินอุดมสมบูรณ์
3. ได้แหล่งปลูกต้นไม้ใหญ่จะมีที่เติบโต ด้วยโครงการพัฒนาป่า ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ได้ ในช่วงเวลา 100 - 200 ปีอย่างแน่นอน

อีกมุมที่ตอบผู้คัดค้านการปล่อยน้ำหมดเขื่อน
1. จากสถิติน้ำท่วมทุกภาค ไม่มีเขื่อนใดหยุดน้ำท่วมได้ สถิติน้ำท่วม 2554 พบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อน ต่อปริมาณน้ำท่วม ไม่เป็นเหตุผลที่จะต้องเก็บน้ำในเขื่อนอยู่อีกต่อไป
2. เหตุน้ำท่วมในทุกพื้นที่ มีน้ำจากทุกทิศทุกทาง ที่ไหลมารวมกัน ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อน จึงไม่ใช่เหตุผลของการมีเขื่อนกันน้ำท่วม
3. จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ก็ไม่คิดว่าจะมีกรรมการชุดไหนบอกว่า เขื่อนไม่กระทบสิ่งแวดล้อม เพราะทุกชุดบอกตรงกันว่า การสร้างเขื่อนกระทบสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การปล่อยน้ำเหนือเขื่อน จะคืนพื้นที่ เกิดต้นไม้และสัตว์ป่า ในอนาคตไปชั่วลูกชั่วหลานอย่างไม่ต้องสงสัย

เหตุผลหลัก ที่เขาว่าควรมีน้ำในเขื่อน
1. เขื่อนช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ซึ่งไม่จริง เพราะเชื่อนทุกเขื่อนคือแหล่งต้นน้ำ แม้ไม่มีเขื่อนก็ยังมีน้ำไหลตลอดปี ให้ชีวิตเกษตรกรได้
2. เขื่อนไม่ได้แก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง และที่ราบในภาคกลาง เพราะเขื่อนเก็บน้ำได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดที่ท่วมในแต่ละพื้นที่

ทำไม ควรปล่อยน้ำจนหมดเขื่อนจึงสำคัญ
1. ได้พื้นที่ดินเพิ่ม มีต้นไม้ สัตว์ป่ามีที่ยืนในที่ ๆ อุดมสมบูรณ์ ในเวลา 20 - 30 ปีก็จะเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ได้ ป่าสักที่ไม่เคยมี ก็จะเติบโตขึ้นใหม่ริมห้วย หนอง คลอง บึง
2. พื้นที่หลังเขื่อนเป็นพื้นที่ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ เมื่อได้กลับคืนมา ก็จะทำให้ป่าในบริเวณนั้น เป็นผืนเดียวกัน และมีความเป็นป่าที่สมบูรณ์กว้างใหญ่
3. สัตว์ที่ไม่เคยพบเห็นก็อาจได้พบเห็นในพื้นที่ใหม่ มีสัตว์นานาสายพันธ์เข้าไปอาศัย ก็อาจกลายพันธ์ใหม่ ตามสภาพพื้นที่ที่เกิดใหม่ แล้วเกิดสัตว์ประจำถิ่นใหม่ขึ้น
4. มีแหล่งน้ำ หรือผืนป่าต้นน้ำขนาดใหญ่กลับมา ในเวลาเพียงไม่กี่สิบปี ซึ่งคุ้มค่าแก่การรอคอย
การใช้ FB Group เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้

องค์ประกอบของ FB Group ในภาพนี้
1. Favorites
2. Photo
3. Video
4. Add file (25 MB) + Create Doc
5. Events
6. Question in Pined Post
7. Group name
8. Members in public group
+ facebook.com/groups/thaiebook/
7 กระบวนการ ของ ก.พ.ร.การใช้คน/เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ
1. การบ่งชี้ความรู้ - สร้างกลุ่มที่มีชื่อกลุ่มตามประเด็นความรู้อย่างชัดเจน
- รวบรวมสมาชิก สร้างเครือข่ายสมาชิกผ่านกลุ่ม
- กำหนดประเภทของกลุ่ม ลักษณะของประเด็นความรู้
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ - แต่ละคนรวบรวมความรู้เดิม/ใหม่
- ส่งแฟ้มข้อมูล หรือแหล่งคน/สถานที่ หรือสแกนเก็บไว้
- รับ/ส่งความรู้ระหว่างสมาชิก
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - กำหนดผู้รับผิดชอบ หน้าที่ และขั้นตอน
- จัดกลุ่มความรู้ที่ได้มาเป็นกลุ่มในระบบที่สร้างขึ้น
- จัดทำตารางความรู้ที่มีประเภท ชนิด แหล่งที่มา ผู้รับผิดชอบ ฯลฯ
- ทำ poll เพื่อช่วยในการตัดสินใจของกลุ่ม เป็นเครื่องมือหาข้อยุติ
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ - ทำชั้นความรู้แบบ organization อาจใช้ ppt ช่วยวาดแผนผัง
- กำหนดวิธีจัดเก็บให้ชัดเจน หรือสร้างระบบฐานความรู้
- เรียบเรียงใหม่ให้เป็นระบบที่เข้าใจ และเข้าถึงได้ง่าย
5. การเข้าถึงความรู้ - เผยแพร่ความรู้ในเครือข่ายสังคม
- อยู่ในรูปเว็บเพจ โบว์ชัวร์ รายงาน บทความ คลิ๊ปภาพ คลิ๊ปเสียง
- สร้างระบบสืบค้น กลั่นกรอง และรายงานแบบต่าง ๆ
6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ - กำหนดผู้รับผิดชอบในกระบวนการแลกเปลี่ยน
- แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
- แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)
- สร้างเวที และนำเสนอผลในเครือข่ายสังคม นำที่ได้กลับเข้าเวที
- ปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัย ถูกต้อง สมบูรณ์ แล้วเผยแพร่อีกครั้ง
7. การเรียนรู้ - กำหนดผู้รับผิดชอบระบบความรู้ในระบบต่าง ๆ
- แบ่งปัน Best practice ทั้งในเวที ในการทำงาน และเครือข่ายสังคม
- ใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และเป็นส่วนหนึ่งของงานที่มีส่วนร่วม
งานนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 1 ม.ค.57 มีโอกาสสอบถามเด็กที่บ้านว่า ไปทำงานกลุ่มที่โรงเรียนนั้นไปทำอะไรกัน เขาก็บอกว่าไป "จัดประชุม" พอฟังแล้วก็อึ้งไปเหมือนกันว่า ฟังผิดรึเปล่า สรุปว่าเขาไปจัดประชุมจริง โดยมีลำดับของเรื่องราวพอสังเขปดังนี้
1. ครูวิชาภาษาไทย มอบหมายให้จำลองการประชุม (Meeting Simulation) ประเด็นเกี่ยวกับ พฤกษศาสตร์ ซึ่งเป็นการทำงานแบบการศึกษาอิสระ (IS : Indenpendent Study) ในรูปของ Group Project
2. เด็กต้องทำการแสดง (Role playing) ที่กำหนดให้กลุ่มเป็นชมรมรักษ์โลก และมอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มทำหน้าที่ต่างกันไปในการประชุม
3. เนื้อหาคือการปลูกต้นไม้ หรือกิจกรรมที่จะทำให้โรงเรียนร่มรื่นน่าอยู่
4. ส่งรายงานฉบับแรก (Planning Report) คือ การสรุปว่าใครทำอะไร อย่างไร
5. ต้องไปแสดงกิจกรรมการนั่งประชุมกลุ่ม (Action) ที่มีประธาน เลขาฯ และกรรมการ และรับข้อเสนอแนะ
6. นำข้อเสนอแนะ (Feedback) หลังแสดงกิจกรรมนั่งประชุมกลุ่ม มาปรับรายงานให้สมบูรณ์ (Final Report)
ผมว่าเด็กสมัยนี้เรียนเร็วนะครับ สมัยผมเป็นเด็กม.2 ยังไม่ค่อยจะรู้อีโหน่อีเหน่เลย
หัวข้อต่าง ๆ ในหนังสือการจัดการความรู้เก่า 7 เล่ม มีเหตุผลมากมาย ที่คนไทยสนใจเรื่องการจัดการความรู้
พบในหนังสือการจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน LO ของ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด
หน้า 16 ว่า ตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546 (หมวด 3 มาตรา 11) ดังใจความตอนหนึ่งว่า
"ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ"
โดยที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการดำเนินการเรื่อง KM และ LO
ตามที่ระบุไว้ในคำรับรองปฏิบัติราชการ (มิติที่ 4 -มิติด้านการพัฒนาองค์กร)
ผมสนใจเรื่องนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ตามแนวทางการจัดการความรู้
แล้วก็ไปค้นหนังสือเก่า ๆๆๆ ในห้องสมุดพบ 7 เล่ม
แล้วนำชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่งไปสอบถามกับ se-ed.com พบว่าเหลือเล่มเดียว
ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช แล้วนอกนั้นก็ขายหมดแล้ว และไม่พิมพ์ใหม่ มีดังนี้
1. การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ วิจารณ์ พานิช 9744096861
พิมพ์ครั้งที่ 4 กันยายน 2551
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
บทที่ 1 ปฐมบท
บทที่ 2 คนสำคัญของการจัดการความรู้
บทที่ 3 การจัดระบบการจัดการความรู้
บทที่ 4 การฝึกอบรม
บทที่ 5 การเริ่มต้นการจัดการความรู้
บทที่ 6 การดำเนินการจัดการความรู้
บทที่ 7 เครื่องมือ
บทที่ 8 ฐานข้อมูลความรู้
บทที่ 9 เครือข่ายจัดการความรู้
บทที่ 10 ทางแห่งความล้มเหลว
บทที่ 11 แนวทางแห่งความสำเร็จ
บทที่ 12 การจัดการความรู้ในสังคมไทย
2. การจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด 9744914998
พิมพ์ครั้งที่ 6 กันยายน 2550
สำนักพิมพ์ใยไหม
บทนำ มองภาพใหญ่ เข้าใจภาพรวม
บทที่ 1 สิ่งที่แตกต่างระหว่างความรู้สองประเภท
บทที่ 2 การจัดการความรู้ไม่รู้จบ "infinity KM"
บทที่ 3 โมเดลปลาทู สำหรับผู้ที่เป็น "มือใหม่"
บทที่ 4 LO คืออะไร เกี่ยวข้องกับ KM อย่างไร
บทที่ 5 ประสบการณ์จากหน่วยงานที่ "ทำจริง"
บทที่ 6 ไขข้อข้องใจ ก่อนใส่เกียร์ "เดินหน้า"
บทส่งท้าย ไหลลื่นไปกับคลื่นแห่งปัญญา
3. KM วันละคำ "จากนักปฏิบัติ KM สู่ นักปฏิบัติ KM" ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 9744098384
พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2549
ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
หมวดที่ 1 ความสำคัญในการจัดการความรู้
- ผู้บริหารกับการจัดการความรู้
- คุณเอื้อ
- คนสำคัญอื่น ๆ
- ความสำคัญอื่น ๆ
หมวดที่ 2 เครื่องมือเรียนรู้
- โมเดล
- เครื่องมือชุดธารปัญญา
- เครื่องมืออื่น ๆ
- Appreciative Inquiry (AI)
หมวดที่ 3 อภิธาน KM : สร้างบ้าน KM
- เสาเข็มและคาน
- เสาและฝา
- หลังคา
หมวดที่ 4 กลเม็ด KM
หมวดที่ 5 กระบวนทัศน์ KM
หมวดที่ 6 เครือข่าย KM
หมวดที่ 7 หลากมิติหลายมุมมองของ KM
4. การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย บุญดี บุญญากิจ 9749239598
พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2548
บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด
บทที่ 1 ความสำคัญของการจัดการความรู้
บทที่ 2 ความหมายของการจัดการความรู้
บทที่ 3 กรอบความคิดการจัดการความรู้
บทที่ 4 วงจรการจัดการความรู้แบบ 3 มิติ
บทที่ 5 จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
บทที่ 6 เรียนรู้เพื่อปรับปรุง ภาคผนวก
ภาคผนวก ก.ความสำคัญของการจัดการความรู้ต่อองค์กร
ภาคผนวก ข.Most Admired Knowledge Enterprises(MAKE)
ภาคผนวก ค.เครื่องมือในการจัดการความรู้
ภาคผนวก ง.แบบประเมินการจัดการความรู้ขององค์กร
ภาคผนวก จ.บรรณานุกรมเว็บไซต์
5. องค์การแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
The Knowledge Organization : From Concept to Practice รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ 9742316589
พิมพ์ครั้งที่ 5 เมษายน 2552
สำนักพิมพ์รัตนไตร กรุงเทพมหานคร
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
บทที่ 3 คุณลักษณะของความรู้
บทที่ 4 แนวคิดการจัดการความรู้
บทที่ 5 กระบวนการจัดการความรู้
บทที่ 6 การเรียนรู้ขององค์การและการจัดการความรู้
บทที่ 7 กลยุทธ์การจัดการความรู้
บทที่ 8 การจัดการทรัพยากรมนุษย์กับการจัดการความรู้
บทที่ 9 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
บทที่ 10 การประเมินผลการจัดการความรู้
บทที่ 11 กรณีศึกษาองค์การแห่งความรู้
6. การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ Knowledge management พรธิดา วิเชียรปัญญา 9749209087
พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2547
ธรรกมลการพิมพ์
บทที่ 1 บทนำ การจัดการความรู้ สังคมแห่งความรู้ และการบริหารองค์การยุคใหม่
บทที่ 2 แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้
บทที่ 3 การจัดการความรู้กับการบริหารองค์การยุคใหม่
บทที่ 4 การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ในสังคมไทย
7. การจัดการความรู้กับคลังความรู้
Knowledge management and Knowledge center ผศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน 9749191595
พิมพ์ครั้งที่ 1 2547
บริษัท เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด
บทนำ การแสวงหาความรู้
บทที่ 1 การจัดการความรู้
บทที่ 2 ความรู้ในองค์กร
บทที่ 3 องค์กรจัดการความรู้
บทที่ 4 เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
บทที่ 5 คลังความรู้
ทุกหน่วยงานในสถาบันอุดมศึกษา ต้องทำ KM ามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 สถาบันที่ใช้เกณฑ์ของ สกอ. ต้องดำเนินการตามตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 5 ระดับมหาวิทยาลัย ปรากฏในหน้า 142 ว่า "การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบัน มีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ" สรุปว่าเกณฑ์ได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องทำ KM จึงมีตัวอย่างการจัดการความรู้ของหน่วยงานสนับสนุนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาแบ่งปัน ดังนี้
1. รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ จัด 7 กิจกรรม ให้นำเสนอประเด็นความรู้ของแต่ละหน่วยงาน จนครบ 100% ครั้งที่ 1 แนะนำ KM ครั้งที่ 2 นำเสนอปัญหา และเริ่มนำเสนอประเด็นความรู้
2. แผนการดำเนินงานคณะทำงานบริหารจัดการความรู้ ส่วนส่งเสริมวิชาการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
3. แผนดำเนินงานการจัดการความรู้ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (แผน 2 ปีเน้นที่เครื่องมือ)
4. ประเด็นการจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่หน่วยงานสนับสนุนดำเนินงานสอดรับกับยุทธศาสตร์
1) "การเรียนการสอนแบบ Active Learning" ฝ่ายวิชาการ
2) "ความร่วมมือในการทำวิจัยกับต่างประเทศ" ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
3) "เทคนิคการหาทุนสนับสนุนการวิจัย" ฝ่ายวิจัย
4) "การประชาสัมพันธ์ที่สร้างชื่อเสียงด้านการวิจัย" ฝ่ายประชาสัมพันธ์
5) "การมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเรียนการสอนแบบ Active Learning" ฝ่ายการนักศึกษา
6) "การขอตำแหน่งทาวิชาการของอาจารย์" ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์

5. ประเด็นความรู้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ "พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน" , สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1) โครงการการจัดการองค์ความรู้เรื่อง "การบริหาร จัดการ โครงการบริการวิชาการแหล่งทุนภายนอก"
2) โครงการการจัดการองค์ความรู้เรื่อง "แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางในและต่างประเทศ"
3) โครงการการจัดการองค์ความรู้เรื่อง "การพัฒนากระบวนการทำงานการยืม การคืนเงินยืมรองจ่าย"
4) โครงการการจัดการความรู้ เรื่อง "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการหักภาษี ณ ที่จ่าย“
มนุษย์แบบไหนที่พร้อมกับ KM มองไปข้างหน้า เรียกว่า Leap frog แบบที่ Steve Jobs เคยพูด แต่หากเผลอมองไปข้างหลัง จะพบข่าวมากมาย ที่ดูเหมือนมนุษย์ยังไม่พร้อมกับการจัดการความรู้ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช บอกว่าคนที่มาจัดการความรู้มีเป้าหมาย 4 ข้อ แต่ถ้าเค้าไม่มีเป้าหมายทั้ง 4 นี้ล่ะ ถ้ามีคือ
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
มีข่าวมากมายที่ทำให้เผลอรู้สึกว่า มนุษย์เราไม่นาจะมีเป้าหมาย 4 ข้อนี้
1. ข่าววัยรุ่นคือผ้าขาว แต่ยิงคนแปลกหน้า หรือ ดอกเตอร์ยิงเพื่อนร่วมงาน
2. สภามหาวิทยาลัย ปลด อธิการ สจล. ม.สุโขทัย ม.อัสสัมชัญ ม.นครพนม
3. ปิดมหาวิทยาลัยอีสาน เหตุโกงงบประมาณ
นั่งเฉย ๆ ปล่อยให้ความรู้เข้าหัว แบบ Streaming ชิลชิล

ในหนังสือ Battlefield earth
tvtropes.org หนังสือ
ในหนังเรื่อง All-Round Appraiser Q: The Eyes of Mona Lisa
นางเอกก็เรียนภาษาฝรั่งเศษ ผ่านความสามารถพิเศษ
ข้อมูลใน asianwiki.com

ในภาพยนตร์เรื่อง Gifted น้องเค้าเป็นอัจฉริยะ ที่ชอบเรียน ไม่ชอบวิ่งเล่นแบบเด็ก แต่ชอบแก้โจทย์คณิตศาสตร์อยู่บ้าน สุดท้ายก็ไปนั่งเรียนในมหาวิทยาลัยกับพี่ ๆ เค้า Movie Trailer

สมัยนี้ อยากเรียนแบบ ใน Matrix หรือ Battlefield earth มีแล้วหรา .. ก็มีนะ
1. เลือกหลักสูตร (Curriculum)
2. เข้านั่งในเก้าอี้ (Sit)
3. เริ่มโหลดเข้าสมอง (Input)
4. กำลังโหลดความรู้ หัวหมุน (Process)
5. มีดีต้องโชว์ (Output)
6. แก้ไข ปรับปรุง หรือโหลดซ้ำ (Review/Reload/Redo)
7. นำไปใช้จริง (Apply)
[Output] หลังการเรียนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เวลาที่ใช้ไม่เร็วเหมือนในหนัง และใช้เวลาในแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
- บางคนเรียนรอบเดียวก็รู้เรื่อง
- บางคนเรียน ๆ หลับ ๆ ก็ยังรู้เรื่อง
- บางคนเรียนสองรอบ กว่าจะรู้เรื่อง
- บางคนเรียนกี่รอบกี่รอบ ก็ยังไม่รู้เรื่อง
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำ และการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ตัวอย่างความรู้ ที่นำเข้าสมองได้
1. ความรู้ โดย MOOC : thaimooc.org
2. S.E.L.F. @Home : enconcept.com
3. Programming by SIPA : youtube.com
KM ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา

km2557.docx
ตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. 2557 - iqa_2558.pdf ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2558 ระดับคณะ หน้า 121
พบ ตัวบ่งชี้ 5.1 "การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ" เกณฑ์ที่ 5 "ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง"
พ.ศ. 2557 ระดับมหาวิทยาลัย หน้า 142 พบ ตัวบ่งชี้ 5.1 "การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของสถาบัน" เกณฑ์ที่ 5 "การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ"
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ในหน้า 84 พบตัวบ่งชี้ 7.2 "การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้"
มีเกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ จำนวน 5 เกณฑ์ 1. มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบันอย้างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย 2. กําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสงการณ์ตรง (tacit knowledge)เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด 4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) 5. มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ManualQA_MUA_February2554.pdf
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 มกราคม 2551 ในหน้า 77 - 78 พบตัวบ่งชี้ 7.3 "มีการพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้"
มีเกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ จำนวน 5 เกณฑ์ 1. มีการทบทวนและจัดทำแผนการจัดการความรู้ เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาคมของสถาบันรับทราบ 2. มีการดำเนินการตามแผนจัดการความรู้และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 3. มีการดำเนินการตามแผนจัดการความรู้และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายร้อยละ 100 4. มีการติดตามประเมินผลความสำเร็จของการจัดการความรู้ 5. มีการนำผลการประเมินไปปรับใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนงานปกติและปรับปรุงแผนการจัดการความรู้
Handbook%20QA_MUA_2551.pdf
ภาษิต คำคมการจัดการความรู้
Knowledge resides in the users and not in the collection.
ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้

(Y. Maholtra)
KM is a Journey, not a destination.
การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง

(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai)
A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle.
ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ

(Kahlil Gibran)
Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private.
ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล
Knowledge is not what you know, but is what you do.
ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ
Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents
but rather interactions between people.
การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร
แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน

(Mason & Mitroff, 1973)
Shift from error avoidance to error detection and correction
จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาดและแก้ไข
เอกสารอ้างอิง (Reference) [1] ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์, "ทฤษฎีการจัดการความรู้", บริษัท ธนาเพรส จำกัด., กรุงเทพฯ, 2552.
[2] ประพนธ์ ผาสุขยืด, "การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ", สำนักพิมพ์ใยไหม, กรุงเทพฯ, 2549.
[3] ประพนธ์ ผาสุขยืด, "การจัดการความรู้ ฉบับขับเคลื่อน", สำนักพิมพ์ใยไหม, กรุงเทพฯ, 2550.
[4] เกศรา รักชาติ, "องค์กรแห่งการตื่นรู้ : Awakening Organization", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[5] เปรมวดี วิเชียรทอง และมาลีรัตน์ โสดานิล, "ระบบองค์ความรู้กฎหมายคอมพิวเตอร์ออนไลน์." 209-214. the 9th National Conference on Computing and Information Technology. NCIT2013, 2556.
[6] อัจฉรา แก้วละเอียด และผุสดี บุญรอด, "การจัดการองค์ความรู้เชิงความหมายโดยใช้โมเดลเอสอีซีไอสำหรับตรวจสอบบัญชีคอมพิวเตอร์" 873-878. the 9th National Conference on Computing and Information Technology. NCIT2013, 2556.
[7] ณัฐพล สมบูรณ์ และนลินภัสร์ ปรวัฒน์ปรียกร, "ระบบการจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง" 234-239. the 9th National Conference on Computing and Information Technology. NCIT2013, 2556.
[8] Nonaka, I. and H. Takeuchi, "The Knowledge Creating Company", Oxford University Press, New York, NY, 1995.
[9] วิจารณ์ พานิช, "การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ", สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.), กรุงเทพฯ, 2551.
[10] วิจารณ์ พานิช, "KM วันละคำ จากนักปฏิบัติ KM สู่ นักปฏิบัติ KM", ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[11] นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย บุญดี บุญญากิจ, "การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ", บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด, กรุงเทพฯ, 2548.
[12] ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, "องค์การแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ", สำนักพิมพ์รัตนไตร, กรุงเทพฯ, 2552.
[13] พรธิดา วิเชียรปัญญา, "การจัดการความรู้ พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ Knowledge management", ธรรกมลการพิมพ์, กรุงเทพฯ, 2547.
[14] น้ำทิพย์ วิภาวิน, "การจัดการความรู้กับคลังความรู้", บริษัท เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2547.
Thaiall.com