thaiall logomy background พุทธานุภาพ แห่งธรรมะ สู่พลังจิต และความสุข และมรณานุสติ
my town
นั่งใต้ต้นไม้

ธรรมะ

ธรรมะ คือ สภาพที่ทรงไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ ในศรัทธาทางพระพุทธศาสนาแล้ว วิถีชีวิตของมนุษย์ จะมี 2 สาย คือ สายทางโลก กับ สายทางธรรม บางคนก็คิดว่ากำลังใช้ชีวิตอยู่ตรงกลางระหว่างทางโลกกับทางธรรมก็มี ในทางธรรม คิดว่า ในมนุษย์เราแบ่งแยกได้ 2 ส่วน คือ กาย กับ จิต
ธรรมะ | ศีล 5 | ทาน | ทาน และ การบริจาคอวัยวะ
ศรัทธาทางพุทธ
พุทธานุภาพ แห่งธรรมะ สู่พลังจิต และความสุข ซึ่งธรรมะ หมายถึง สภาพที่ทรงไว้ ธรรมดา ธรรมชาติ
นศรัทธาทางพระพุทธศาสนาแล้ว วิถีชีวิตของมนุษย์ จะมี 2 สาย คือ สายทางโลก กับ สายทางธรรม บางคนก็คิดว่ากำลังใช้ชีวิตอยู่ตรงกลางระหว่างทางโลกกับทางธรรมก็มี ในทางธรรม คิดว่า ในมนุษย์เราแบ่งแยกได้ 2 ส่วน คือ กาย กับ จิต ผู้คนจำนวนไม่น้อยเข้าวัด เพราะมีอาการเจ็บป่วย หรือหวังสั่งสมบุญไว้โลกหน้า ซึ่งธรรมะก็ช่วยทั้งให้ความหวังเก็บบุญ และบรรเทาความเจ็บป่วยทางจิตได้ดี ส่วนผู้ที่เจ็บป่วยทางกาย ความเจ็บป่วยมักส่งผลถึงการเจ็บป่วยทางจิตด้วย แยกกันไม่ได้ แล้วธรรมะก็ช่วยลดความรู้สึกทางจิตที่มีต้นเหตุจากความเจ็บป่วยทางกายได้ ซึ่งบรรเทาได้มากกว่า มากกว่าการไม่มีอะไรให้ยึดเหนี่ยวเลย เหมือนจมน้ำแล้วไม่มีอะไรให้ไขว่คว้า

ฐิตินาถ ณ พัทลุง
ทำจิตให้เข้มแข็ง


อ่านเพิ่มเติม
นั่งสมาธิ ทำให้หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หรือเอ็นโดรฟินส์ (Endorphins)

endorphins อยากได้เอ็นดอร์ฟิน ต้องนั่งเอง
จะฝากใครนั่งแทน ก็หาได้ไม่
willpower
สมาธิ.คอม
ปอ่านมาจากหลายแหล่ง พอสรุปได้ว่า นั่งสมาธิถึงระดับหนึ่ง จะส่งผลให้ร่างกาย หลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน หรือเอ็นโดรฟินส์ (Endorphins) ทำให้มีความสุข ดังนั้นการนั่งสมาธิแล้วมีความสุข ก็มาจากการที่ร่างกายหลั่งสารนี้ ถ้านั่งแล้ว นั่งได้นานถึง 30 นาที แสดงว่ามีการหลั่งสารนี้แล้ว บางสำนักก็ปฏิบัติด้วย การนั่งสมาธิเป็นเวลา 30 นาที
ล้วอ่านจาก wiki พบว่า เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่หลั่งออกมา เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ผลิตจากต่อมใต้สมอง และ ไฮโปทาลามัส ในกระดูกสันหลัง สารเอ็นดอร์ฟินมีลักษณะคล้ายคลึงกับ โอปิแอต ในกลุ่มโอปิออยด์ ที่ใช้สำหรับระงับการเจ็บปวด แล้วอ่านจาก Blog : Nanjeeraporn พบว่า ฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้น เมื่อเราเกิดความสุขใจ หรือเมื่อเกิดความปีติสุข เช่น การนั่งสมาธิ สวดมนต์ การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การออกกำลังกาย การฟังดนตรี การทำงาน ศิลปะ การได้รัก ได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกันและกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก
แล้วอ่านจาก Kapook พบเรื่อง "8 ฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย" โดย เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) คือ ฮอร์โมนหลั่งเมื่อฉันฟิน ฮอร์โมนที่ทำให้เรามีความสุข คลายเครียด เมื่อเรามีความสุขกายสบายใจ สารเอ็นดอร์ฟินจะหลั่งออกมามากขึ้น แล้วเข้าสู่กระแสเลือด จนสามารถไปกดการสร้างฮอร์โมนแห่งความเครียด เช่น นอร์เอพิเนฟริน ทำให้เรารู้สึกหายเครียด และยังเป็นผลให้ระดับภูมิคุ้มกัน (antibody) ในเลือดเพิ่มขึ้น อีก 7 ฮอร์โมน คือ เทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน โดฟามีน คอร์ติซอล เซโรโทนิน และอีพีเนฟรีน (อะดรีนาลิน)
ทานมี 4 ประเภท
ทานมี 4 ประเภท
1. อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของ หรือปัจจัยสี่
2. ธรรมทาน คือ การให้ความรู้เรื่องธรรม เป็นทานที่ไม่เป็นอามิสทาน
3. อภัยทาน คือ การปล่อยวาง การปล่อยชีวิตสัตว์ ปล่อยวางความโกรธ
4. วิทยาทาน คือ การให้ความรู้ แนะนำสั่งสอนที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
บโพสต์ เมื่อ 26 ก.ค. 2565 แฟนเพจ - Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital ได้แชร์เรื่องดี ๆ เกี่ยวกับการให้ทาน ที่อากงจุน วนวิทย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด #hatari บริจาคเงินให้โรงพยาบาล #มูลนิธิรามาธิบดี ถูกแบ่งปันทาง #สื่อสังคม โดนคนไทย ขอชื่นชม และสนับสนุน การให้ทานกับองค์กรด้านส่งเสริมสุขภาพกายโดยตรง การแบ่งปันเรื่องดี ๆ ของคนไทย ช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดีเช่นกัน ดังคำว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว คิดดี พูดดี ทำดี สุขภาพกายก็จะดีไปด้วย
ปักหมุดเมืองไทย วัดจังหวัดลำปาง vol.18 ระครูสุตชยาภรณ์,ผศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดศรีชุม ท่านกรุณามอบหนังสือให้ ในโอกาสไปทำบุญให้ผู้ล่วงลับของครอบครัว ในวันออกพรรษา 21 ตุลาคม 2564 หนังสือดีมาก ชื่อหนังสือ ปักหมุดเมืองไทย บันทึกเรื่องราววัด จังหวัดลำปาง หรือ เส้นทางบุญ เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง vol.18 เนื้อหาแน่น และเป็นข้อมูลล่าสุดให้อ่านกันเพลิน ๆ ด้วยภาพ 4 สีทั้งเล่ม รวมกว่า 228 หน้า ขนาด A4 ภาพวัดในลำปางแบบคมชัดผ่านมุมกล้องบินโดรน 1) มีทำเนียบพระสังฆาธิการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย จังหวัดลำปาง รวมกว่า 44 รูป 2) มีประวัติวัดที่น่าไปเที่ยวอีกมากมาย และละเอียดพร้อมภาพสวยสดงดงาม 3) มีแนะนำไหว้พระทำบุญวัดสำคัญในแต่ละอำเภอพร้อมประวัติโดยละเอียด 4) มีหน้าสุดท้ายมีรายชื่อวัดทั้งหมดในจังหวัดลำปางเป็นข้อมูลให้ได้ศึกษา และ 5) มีแนะนำเส้นทางไหว้พระ 9 วัดใน 5 อำเภอ ประกอบด้วยในอำเภอเมือง มี (1) วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม พระอารามหลวง (2) วัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง (3) วัดศรีชุม (4) วัดนาก่วมเหนือ และ (5) วัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง ในอำเภอเกาะคา มี (6) วัดพระธาตุลำปางหลวง ในอำเภองาว มี (7) วัดจองคำ พระอารามหลวง อำเภอแม่เมาะ (8) วัดนาแขม ในอำเภอสบปราบ มี (9) วัดปงกา เมื่อสืบค้นพบว่า ทีมงานจัดทำหนังสือ ได้เผยแพร่ e-book ไว้ที่เว็บไซต์ pukmudmuangthai.com
หนังสือหลวงพ่อพวง จากตู้ของคุณแม่
อีกครั้งที่เปิดตู้หนังสือคุณแม่ คิดว่าได้ฤกษ์ที่จะเคลียร์หนังสือ หยิบขึ้นมาเล่มหนึ่ง นั่งอ่านเพลิน และแล้ววันนี้ก็ไม่ได้เคลียร์ตู้อีกตามเคย หนังสือแต่ละเล่มล้วนมีคุณค่า และต้องสอดเข้าไปที่เดิมเสมอ หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับคุณพ่อ มีชื่อท่านร่วมบริจาคเมื่อปี 2537 อยู่ท้ายเล่ม เพราะท่านเป็นศรัทธา วัดถ้ำอินทร์เนรมิต เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ท่านพาผมและคุณแม่ไปนมัสการหลวงพ่ออยู่เสมอ จำได้ว่าครั้งหนึ่งใส่บาตรเช้า เราตื่นกันตั้งแต่ยังไม่แจ้งดี และออกเดินทางกันแต่เช้ามืด ในหนังสือมีภาพกิจกรรมใส่บาตร ทำให้ภาพจำเรื่องราวในอดีตผุดขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย หนังสือเล่มนี้ชื่อ "แสงธรรมส่องใจ" จัดสร้างเป็นธรรมทาน เนื่องในงานมุทิตาจิต #หลวงพ่อพวง ฆรมุตฺโต ครบ 72 ปี เมื่อ 6 ก.พ.2537
มื่ออ่านหนังสือไปได้ไม่กี่หน้า พบคติธรรมมากมาย ตอนหนึ่งในหน้า 69 "เมื่อเอากิเลสมาเป็นนายก็เลยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร" และในหน้า 41 "เรายังมีชีวิตชีวา มีหูตาดี จมูกดี ลิ้นดี กาย ใจดีนี้ เราควรรีบประพฤติ ปฏิบัติ ให้รีบแก้รีบไข โกรธเข้ามาก็รีบแก้ รักเข้ามาก็รีบแก้ โลภเข้ามาก็รีบแก้ นั่นล่ะ ความอดทนเป็นตะบะ" ซึ่งทั้งสองหน้ามีหลักธรรมที่น่าจดจำและนำไปปรับใช้ในชีวิตได้
ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) (Five aggregates) คท รัตกาล แบ่งปันคำว่า "เบญจขันธ์เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง เราบอกแล้วสาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้" และคำว่า อุปโลกน์ (Suppose) .. "แค่ อุปโลกน์ อยู่แล้ว มิใช่รึ? ให้แบบไร้ขอบเขต ไปเลยสิ !"
ารปฏิบัติธรรม ช่วยให้เข้าใจว่า ทุกข์ไม่เที่ยง ผ่านหลักธรรมที่เรียกว่า ขันธ์ 5
ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) (Five aggregates) คือ หลักธรรมในศาสนาพุทธที่สอดคล้องกับเรื่องของ “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจ 4 หมายถึง กองแห่งรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5 ที่ทำให้เกิดเป็นตันตนหรือชีวิตขึ้นมา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่า ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมกันแล้ว ก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมานั่นเอง
ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกองรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 1 รูป และ 4 นาม ดังต่อไปนี้
1. รูปขันธ์ หมายถึง กองรูป ส่วนที่เป็นร่างกาย พฤติกรรม คุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย และส่วนประกอบที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ หมายถึง กองเวทนา ส่วนที่ "เป็นความรู้สึก" ทุกข์ สุข ดีใจ พอใจ เฉย ๆ
3. สัญญาขันธ์ หมายถึง กองสัญญา ส่วนที่ "เป็นการจำ" สิ่งที่ได้รับ
4. สังขารขันธ์ หมายถึง กองสังขาร ส่วนที่ "เป็นการคิดปรุงแต่ง" โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่รู้สึกหรือจดจำได้
5. วิญญาณขันธ์ หมายถึง กองวิญญาณ หรือ จิต "เป็นการรู้แจ้ง" ถึงสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
- ถ้ารู้แจ้งทางตา (รูป) เรียกว่า จักษุวิญญาณ
- ถ้ารู้แจ้งทางหู (เสียง) เรียกว่า โสตวิญญาณ
- ถ้ารู้แจ้งทางจมูก (กลิ่น) เรียกว่า ฆานวิญญาณ
- ถ้ารู้แจ้งทางลิ้น (รส) เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
- ถ้ารู้แจ้งทางกาย (สัมผัส) เรียกว่า กายวิญญาณ
- ถ้ารู้แจ้งทางใจ (ความคิด) เรียกว่า มโนวิญญาณ, จิตวิญญาณ
อ่านเพิ่ม th.answers.yahoo.com
หลวงพ่อแบน เมืองสุพรรณ ลวงพ่อแบน เมืองสุพรรณ
พบข่าวเศร้าของชาวพุทธ พระสงฆ์ละสังขาร
พระเกจิอาจารย์ อายุ 86 ปี
อาพาตด้วยโรคเนื้อร้ายที่ลำคอ และไตวาย
ละสังขาร 12 มีนาคม 2560 เวลา 7.50 น.
ข่าวเศร้าของพุทธศาสนิกชน
อ่านข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/882556
มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์ มีโอกาสอ่านหนังสือธรรมะ ชื่อหนังสือ "มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์" หนังสือเล่มที่ผมมี จัดพิมพ์โดย ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 12,000 เล่ม ปี พ.ศ.2547 เป็นหนังสือเก่าเมื่อเห็นปีที่พิมพ์ เนื้อหา เป็นประวัติและปฏิปทาของ หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล พระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ซึ่งน้อยคนจะได้พบตัวจริงของหลวงปู่ทองรัตน์ ในหนังสือมักเรียก ครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ เพราะท่านละสังขารไปเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2499 อายุ 68 ปี 42 พรรษา ท่านจากล้มหมอนนอนเสื่อ ท้องร่วง อ่อนเพลีย แล้วสิ้นลมในเวลาประมาณ 2 - 3 วัน เรื่องนี้อยู่ในหัวข้อ 79 เรื่อง "เกิดเองตายเอง" รายละเอียดในหน้า 173 ใน e-book อยู่หน้า 184 หัวข้อ 79 เรื่อง "เตรียมการก่อนละสังขาร" maneerat_1-13.pdf และ maneerat_14-192.pdf
หลวงพ่อชา (พระโพธิญาณเถร) มีโอกาสอ่านหนังสือธรรมะ ชื่อหนังสือ "หลวงพ่อชา (พระโพธิญาณเถร)" วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ฉบับที่ผมมีคือ เล่ม 2 พระธรรมเทศนา สำหรับคฤหัสถ์ มี 22 หัวข้อ และ "ชีวประวัติและจริยาวัตร" เป็นหัวข้อที่ 23 ISBN : 974-89198-3-8 พิมพ์ครั้งที่ 5 เมษายน 2537 ผู้จัดพิมพ์เล่าว่า พิมพ์ครั้งแรก 11 เมษายน 2534 ในหน้า 390 แจ้งว่า หลวงพ่อชา อาพาธนาน 11 ปี และถึงแก่มรณภาพ เมื่อพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2535 แสดงว่าตอนหนังสือเล่มนี้ออก หลวงพ่อยังไม่มรณภาพ ใน e-book เล่ม 2 หน้า 719 พบเนื้อหาตรงกับเล่มที่ผมมีอยู่ ไม่ได้ปรับปรุงในส่วนของ ชีวประวัติและจริยาวัตร หัวข้อ 30 หลวงพ่ออาพาธ ใน ชีวประวัติและจริยาวัตร เล่าว่า มีอาการความจำไม่ดี อาการโงนเงน ทรงตัวไม่ดี เมื่อย และอ่อนเพลีย มีอาการหนักตึงที่ต้นคอ พบช่องภายในสมอง ที่น่าจะมาจากอาการสมองเสื่อม ต่อมาพบว่าเป็นเบาหวาน หัวข้อ 31 เล่าเรื่อง ผ่าตัดเจาะกระโหลก 31 ตุลาคม 2524 หัวข้อ 32 เล่าเรื่อง ผ่าตัดเจาะคอ 29 มีนาคม 2530 เนื้อหาของหนังสือ ชีวประวัติและจริยาวัตร จบเพียงเท่านี้
48PratamPuCha ภาค 1 สำหรับบรรชิต และ 48PratamPuCha ภาค 2 สำหรับ คฤหัสถ์
หลวงปู่แสง ญาณวโร
หลวงปู่แสง ญาณวโร อายุ 98 พรรษา ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าดงสว่างธรรม บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร สรุป 10 อาการอาพาธ "หลวงปู่แสง" จากประวัติการรักษาของทีมแพทย์
1. การทำงานของทางเดินอาหารผิดปกติ (GI vasculopathy)
2. โรคหัวใจที่เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายผิดปกติ (CHF c Cardiomypathy LVH)
3. โรคความดันโลหิตสูง (HT)
4. โรคต่อมลูกหมากโต (BPH)
5. ปวดหลังเนื่องจากกระดูกสันหลังคด (Low back pain c Scoliosis)
6. ข้อเข่าเสื่อมทั้ง 2 ข้าง (OA both khee)
7. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
8. โรคนอนหลับยาก (Elderly c Insomnia)
9. สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ระยะที่ 1 (dementia c Alzheimer’s)
10. ภาวะพฤติกรรมอารมณ์ที่ผิดปกติที่เกี่ยวกับสมองเสื่อม (BPSD = behavioral and psychological symtoms of dementia)
thairath.co.th
หลวงปู่แหวน สุจิณ.โณ
มัยเด็ก เคยไปงานศพของ หลวงปู่แหวน สุจิณ.โณ ท่านสิ้นอายุขัย เมื่อ 2 ก.ค.2528 สิริอายุได้ 98 ปี 5 เดือน พบในหน้า 48 จากหนังสือในบ้าน คุณแม่ได้มาเมื่อปี 2540 มีเรื่องราวประวัติของหลวงปู่แหวนให้ค้นหา ค้นนอกหนังสือจะได้ข้อคิดอีกมุม ในหนังสือไม่ได้อธิบายช่วงของการอาพาธ หาอ่านจากเน็ตได้ วันที่ 4 มิถุนายน 2528 หลวงปู่มีอาการอาเจียน ขณะฉันอาหาร ไอและหอบ ต้องให้อ๊อกซิเจนช่วยหายใจ แพทย์ได้ผ่าตัดท้องใช้สายยางสอดเข้าไปในกระเพาะเพื่อให้อาหาร ใช้เวลาผ่าตัด 2 ชั่วโมง
dharma-gateway.com
pantip.com
พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย เป็นหนังสือในบ้านอีก 1 เล่ม ชมรมพุทธการไฟฟ้าพิมพ์แจก เมื่อปี 2542 ประวัติของท่าน พบในวัดใหญ่หลายวัดทางเหนือ อาทิ วัดพระธาตุดอยสุเทพ มีผลงานในหลายจังหวัดกว่า 100 แห่ง ลมปราณขาดออกจากร่าง เมื่อ 21 ก.พ.2481 อายุ 60 ปี 8 เดือน ในหนังสือหน้า 145 ท่านป่วยเป็นโรคริดสีดวง
พระไตรปิฎก
พระครูสังวรสุตกิจ,ผศ.ดร. แชร์ภาพมาว่า "เวลาเป็นสิ่งมีค่า บางเวลาก็แบ่งปันให้ผู้อื่น ลืมถามตัวเองว่า เราเหลือเวลาให้กับตัวเอง อีกสักเท่าไหร่กัน" แต่สิ่งสำคัญที่ท่านสอน คือ อย่าลืมหลักของเซ็น (ทางสายกลาง) ถ้าแบ่งให้ผู้อื่นน้อยไป อาจกลายเป็น "เห็นแก่ตัว"
ระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่ประมวลเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาจารึกไว้ ?
สติ คือ ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ และ สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อย่างต่อเนื่อง หรือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา
ระดับของสมาธิในพุทธศาสนา
- ขณิกสมาธิ สมาธิค่อย ๆ เล็กน้อย ที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถ
- อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่าอัปปนาสมาธิ
- อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึง สมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป
สมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต
dmc.tv
wikipedia.org
ปล.หลักของเซ็น (Center) = ทางสายกลาง
พุทธทาส
ทเรียน ที่ได้จากการไปเวียนเทียนกลับมา .. คือ ทำให้รู้จักทางสายกลาง
เรื่องหนึ่งที่ได้จาก วันวิสาขบูชา คือ ทำให้รู้ว่า "ถนนหนทางไม่ได้มีเส้นเดียว การเลือกทางสายกลางก็ขึ้นอยู่กับว่ากลางของใคร อย่าให้กลางของเราไปทับทางของใครล่ะกัน" เพราะเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญในวันวิสาขบูชา คือ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ซึ่งการค้นพบทางสายกลาง จึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า [ google map ]
ในเรื่องนี้ Little Buddha บอกว่า ตึงเกินไปก็จะขาด หย่อนเกินไปก็ไม่ดี ตรงกลางน่ะดี youtube...?v=aAMnjj6oU6s
อุดมคติของชีวิต : พุทธทาส #
พระเงื่อม ได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้ นักธรรมเอก แล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ ๓ ประโยค ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม ๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออกไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของพุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอนที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อนไปมาก จากที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ
ท่านจึงตัดสินใจ หันหลังให้กับการศึกษาของสงฆ์เวลานั้น กลับไชยาเพื่อศึกษา และทดลองปฏิบัติ ตามแนวทาง ที่ท่านเชื่อมั่น โดยร่วมกับนายธรรมทาส และ คณะธรรมทาน จัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม "สวนโมกขพลาราม" ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากนั้น ท่านได้ศึกษา และปฏิบัติธรรมะ อย่างเข้มข้น จนเชื่อมั่นว่าท่านมาไม่ผิดทางแน่ และได้ประกาศ ใช้ชื่อนาม
"พุทธทาส" เพื่อแสดงว่า ให้เห็นถึงอุดมคติสูงสุด ในชีวิตของท่าน
จากบันทึกของท่าน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เขียนไว้ว่า
"...ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมาย ต่อความสุขนี้ และประกาศ
เผยแพร่ความสุขนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ในบรรดามีอยู่ใน พุทธศาสนา...
"
http://www.buddhadasa.com/history/budprofile2.html
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ระวัติของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) - วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2560 เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มีพี่น้อง 5 คน เมื่ออายุ 6 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่ออายุ 15 ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อ.ตลิ่งชัน จ.ธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ 19 ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช อุปสมบท เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2480 เวลา 13.00 น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ 21 ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ 22 ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ 23 ปี สอบได้นักธรรมเอก ระหว่างปี พ.ศ.2480-2481 ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่น หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ
ประวัติการจำพรรษาและสมณศักดิ์
พ.ศ. 2481 เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อ.ตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ 4 วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด
พ.ศ. 2511 มาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ 6 ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ 289 ไร่
พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “พระสุธรรมยานเถร”
พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”
มรณภาพ
ตุลาคม 2535 พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2535 เวลา 16.10 น.
youtube.com
ประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ความสุข
เพลงธรรมะ และบทสวด
+ Video เพลงดั่งดอกไม้บาน #
+ ปลงสังขาร
รวมเว็บไซต์ธรรมะ
+ ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
+ 84000 พระธรรมขันธ์
+ สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ
+ อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ.คอม
+ พลังจิต.คอม
+ ยุวสงฆ์.คอม
+ วัดไทรงาม สุพรรณบุรี
+ วัดมงคลเกษตร ลำปาง
+ คณะสงฆ์ลำปาง
+ ธรรมะติดปีก
+ ทำดีดอทเน็ต
+ วัดเกาะลำปาง
+ วัดปงสนุก ลำปาง
+ ธรรมจักร
+ มูลนิธิบ้านอารีย์
+ โรงเรียนทอสี
+ ขวัญเพียงหทัย
+ วิมุตติ
+ ซีดีธรรมะ
+ มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
+ ชมรมพระเครื่อง
+ พระเครื่องไทย
+ บ้านพระ.คอม



วู้ดดี้ พูดคุยกับอาจารย์เฉลิมชัย
ดาวน์โหลด : คลิปวู้ดดี้
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
.. ชอบคำว่า "มันอยู่ที่ใจมึง"
วามสุข คือ ความสบายที่ทุกคนปรารถนา แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ ความสุขทางกาย และความสุขทางใจ แต่ทั้ง 2 แบบไม่อาจแบ่งแยกกันโดยเด็จขาดต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน
ความหมายของความสุขทางกาย ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และผิวหนัง เรียกว่า กามคุณ 5 หรือความสุขที่เกิดจากเนื้อหนังมังสาอันเป็นสิ่งสกปรก
ความหมายของความสุขทางใจ ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากจิต คือ ความสบายใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ความพอใจ อันเกิดจากจิตใจที่สงบและเย็น อันเป็นความสุขที่สะอาดเป็นความสุขที่แท้จริง
ผมขอสรุปว่าความสุข คือ การอยู่ในภาวะที่จิตใจสงบ ซึ่งอาจเกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น พอใจในสิ่งที่อยากเห็นแล้ว ได้ยินเสียงที่ทำให้ใจสงบแล้ว ได้กลิ่นที่ทำให้รู้สึกดีแล้ว ได้รับรสที่คาดหวังแล้ว ได้สัมผัสที่สิ่งที่ต้องการแล้ว หรือจิตอยู่ในภาวะสงบนิ่งแล้ว
ที่มาของความทุกข์ทั้งปวง คือ ความไม่อาจทนในภาวะนั้น หรือความอยากที่ยังไม่สมหวังในสิ่งที่อยาก จิตจึงกระวนกระวายและไม่หยุดนิ่ง เพราะยังไม่อาจคุมให้สติถอยห่างจากความอยาก
ทุกพฤติกรรมมีที่มา และที่ไป มักอธิบายได้ด้วยเหตุแห่งกิเลส คือ รัก โลภ โกรธ และหลง
กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ถอดความตอนหนึ่ง ในการอธิบาย เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) [wikipedia.org/ศาสนาพุทธ]
ว่า การหลงในสิ่งสมมุติที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์
ทำให้รู้ว่าปล่อยวางเท่าใด กิเลสเกาะใจก็จะน้อยลงเท่านั้น แล้วทุกข์ก็จะลดตามไป
แต่มนุษย์ตีความอวิชชาแตกต่างกันไป ขึ้นกับฐานคิดแต่ละคน ก็เพราะมนุษย์เราแตกต่างกัน
ความเชื่อที่ไม่ใช่ความจริง หรือ ความจริงที่ไม่ใช่ความเชื่อ .. ต่างกัน
สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับความเชื่อ คือ
ทุกคน ต่างไม่ผิด แต่ความคิดเรา ต่างกัน
ประเด็นชวนคุยเรื่อง ความเชื่อ ศรัทธา และความจริง
1. การศรัทธาในพระสงฆ์นั้น ท่านมีเงื่อนไข หรือไม่มีเงื่อนไข
2. การยอมรับในศาสนา กับวิทยาศาสตร์ นั้นแตกต่างกัน
3. การทำใจว่าเข้าใจ หรือมองข้ามความเป็นจริง นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน
พระสงฆ์ คือ ผู้ที่เข้ามาศึกษาพระธรรม
พระสงฆ์บางรูป อาจนอกลู่นอกทางจากแก่นธรรมไปบ้าง แต่ก็ยังรักษาศีลมากกว่าฆราวาส
- พระสงฆ์ที่เรียนปริญญาทางโลก .. ยังไม่หยุดศึกษาทางโลก
- พระสงฆ์ที่ให้ความสำคัญกับทรัพย์สมบัติ เงินทอง ปัจจัย .. ออกนอกแนวการแสดงหาทางหลุดพ้น
- พระสงฆ์ที่มีความพึงพอใจกับลาภยศสรรเสริญ .. สร้างระบบให้ตำแหน่ง มีวัตถุแสดงบรรดาศักดิ์
.. ถึงอย่างไรผมก็นับถือพระสงฆ์ แม้จะเห็นต่างในบ้างเรื่อง
Buddhahood
7-8 ก.ค.52
อาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล สวดมนต์ นั่งเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เดินจงกลม รับประทานอาหารเจ ฟังเทศ สนทนาธรรมกับพระครูสังฆรักษ์วิชพงษ์ ร่วมกับคนในหมู่บ้านไหล่หิน ณ วัดชัยมงคลธรรมวราราม ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ตามโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในสัปดาห์วันอาสาฬหบูชา ในโอกาสนี้ได้ร่วมทำบุญบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ชมนิทรรศการแสดงพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุในวิหารหลวง พบว่าขณะปฏิบัติธรรมจิตสงบขึ้น เห็นหนทางสู่การพ้นทุกข์ ตามหลักอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
thaiall.com/blog/burin/355/
ศีล
ศีล 227 ข้อ ที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว
ศีลมี 227 ข้อ
1. ปาราชิก มี 4 ข้อ
2. สังฆาทิเสส มี 13 ข้อ
3. อนิยตกัณฑ์ มี 2 ข้อ
4. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ
5. ปาจิตตีย์ มี 92 ข้อ
6. ปาฏิเทสนียะ มี 4 ข้อ
7. เสขิยะ สารูป มี 26 ข้อ
8. โภชนปฏิสังยุตต์ มี 30 ข้อ
9. ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี 16 ข้อ
10. ปกิณสถะ มี 3 ข้อ
11. อธิกรณสมถะ มี 7 ข้อ
เล่าว่า "เห็นกล้อง Canon สวย ๆ
ก็อย่าไปหยิบนะ .. ถ้าไม่ใช่ของเรา"
#

ประมวลกฎหมายอาญา #
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
ศีล 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. พึงละเว้นจากการลักทรัพย์
3. พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. พึงละเว้นจากการพูดเท็จ
5. พึงละเว้นจากการดื่มสุรา
sanook.com
google/site/bansamnaotum
wikipedia.org
1. ปาราชิก มี 4 ข้อ
1. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
2. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
3. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
4. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า
ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
2. สังฆาทิเสส มี 13 ข้อ
1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
5. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
11. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
3. อนิยตกัณฑ์ มี 2 ข้อ
1. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้น
ด้วยธรรม 3 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี
หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
2. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสอง
กับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้น
ได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
4. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี 30 ข้อ
คืออาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ 10 ข้อ
1. เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
2. อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
3. เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด 1 เดือน
4. ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
5. รับจีวรจากมือของภิกษุณี
6. ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
7. รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
8. พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
9. พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
10. ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า 3 ครั้ง
11. หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
12. หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
13. ใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
14. หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง 6 ปี
15. เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
16. นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
17. ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
18. รับเงินทอง
19. ซื้อขายด้วยเงินทอง
20. ซื้อขายโดยใช้ของแลก
21. เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
22. ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
23. เก็บเภสัช 5 (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน 7 วัน
24. แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด 1 เดือนก่อนหน้าฝน
25. ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
26. ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
27. กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
28. เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
29. อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
30. น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
5. ปาจิตตีย์ มี 92 ข้อ
1. ห้ามพูดปด
2. ห้ามด่า
3. ห้ามพูดส่อเสียด
4. ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
5. ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน (ผู้ไม่ใช้ภิกษุ) เกิน 3 คืน
6. ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
7. ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
8. ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
9. ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
10. ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
11. ห้ามทำลายต้นไม้
12. ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
13. ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
14. ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
15. ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
16. ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
17. ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
18. ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
19. ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน 3 ชั้น
20. ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
21. ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
22. ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
23. ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
24. ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
25. ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
26. ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
27. ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
28. ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
29. ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
30. ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
31. ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน 3 มื้อ
32. ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
33. ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
34. ห้ามรับบิณฑบาตเกิน 4 บาตร
35. ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
36. ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
37. ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
38. ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
39. ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
40. ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
41. ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
42. ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
43. ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน 2 คน
44. ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
45. ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
46. ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
47. ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
48. ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
49. ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน 3 คืน
50. ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
51. ห้ามดื่มสุราเมรัย
52. ห้ามจี้ภิกษุ
53. ห้ามว่ายน้ำเล่น
54. ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
55. ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
56. ห้ามติดไฟเพื่อผิง
57. ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
58. ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
59. วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
60. ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
61. ห้ามฆ่าสัตว์
62. ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
63. ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
64. ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
65. ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง 20 ปี
66. ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
67. ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
68. ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน 3 ครั้ง)
69. ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
70. ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
71. ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
72. ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
73. ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
74. ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
75. ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
76. ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
77. ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
78. ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
79. ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
80. ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
81. ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
82. ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
83. ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
84. ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
85. เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
86. ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
87. ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
88. ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
89. ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
90. ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
91. ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
92. ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ
6. ปาฏิเทสนียะ มี 4 ข้อ
1. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
2. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
3. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
4. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
7. เสขิยะ สารูป มี 26 ข้อ
1. นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
2. ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
3. ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
4. ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
5. สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
6. สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
7. มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
8. มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
9. ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
10. ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
11. ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
12. ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
13. ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
14. ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
15. ไม่โคลงกายไปในบ้าน
16. ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
17. ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
18. ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
19. ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
20. ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
21. ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
22. ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
23. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
24. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
25. ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
26. ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
8. โภชนปฏิสังยุตต์ มี 30 ข้อ
คือ หลักในการฉันอาหารได้แก่
1. รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
2. ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
3. รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
4. รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
5. ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
6. ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
7. ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
8. ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
9. ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
10. ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
11. ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
12. ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
13. ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
14. ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
15. ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
16. ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
17. ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
18. ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
19. ไม่ฉันกัดคำข้าว
20. ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
21. ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
22. ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
23. ไม่ฉันแลบลิ้น
24. ไม่ฉันดังจับๆ
25. ไม่ฉันดังซูด ๆ
26. ไม่ฉันเลียมือ
27. ไม่ฉันเลียบาตร
28. ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
29. ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
30. ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
9. ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี 16 ข้อ
1. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
2. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
3. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
4. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
5. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
6. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
7. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
8. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
9. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
10. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
11. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
12. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
13. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
14. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
15. ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
16. ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
10. ปกิณสถะ มี 3 ข้อ
1. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
2. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
3. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
11. อธิกรณสมถะ มี 7 ข้อ
1. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
2. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
3. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
4. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
5. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
6. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
7. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
บทปลงสังขาร
คลิป : ฉบับโบราณ
# #
5ก.พ.60 ช่วงนี้กำลังมีทุกข์ แล้วมีเพื่อนแนะนำเรื่องฟังธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ พูดเรื่องการปล่อยวางจิต ฟังแล้วดีจริง ๆ จิตที่กำลังฟุ้ง "คุ้มดี คุ้มร้าย" วิ่งตามทุกข์ ก็ไปต้อย ๆ เลย ต้อง recall มาอยู่เป็นที่เป็นทางอีกครั้ง สงบขึ้นหน่อย ปล. ขนาดนั่งทำงานให้วุ่น ๆ จิตยังฟุ้งไปหาความทุกข์เฉยเลย
บทปลงสังขาร
มนุษย์เราเอ๋ย เกิดมาทำไม
นิพพานมีสุข อยู่ใยมิไป
ตัณหาหน่วงหนัก หน่วงซักหน่วงไว้
ฉันไปมิได้ ตัณหาผูกพัน
ห่วงนั้นพันผูก ห่วงลูกห่วงหลาน
ห่วงทรัพย์ศฤงคาร จงสระเสียเถิด
จะได้ไปนิพพาน ข้ามพ้นภพสาม
ยามหนุ่มสาวน้อย หน้าตาแช่มช้อย
งามแล้วทุกประการ แก่เฒ่าหนังยาน
แต่ล้วนเครื่องเหม็น เอ็นใหญ่เก้าร้อย
เอ็นน้อยเก้าพัน มันมาทำเข็ญใจ
ให้ร้อนให้เย็น เมื่อยขบทั้งตัว
ขนคิ้วก็ขาว นัยต์ตาก็มัว
เส้นผมบนหัว ดำแล้วกลับหงอก
หน้าตาเว้าวอก ดูน่าบัดสี
จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย ไม่มีเกสร
จะเข้าที่นอน พึงสอนภาวนะ
พระอนิจจัง พระอนัตตา
เราท่านเกิดมา รังแต่จะตาย
ผู้ดีเข็ญใจ ก็ตายเหมือนกัน
เงินทองทั้งนั้น มิติดตัวไป
ตายไปเป็นผี ลูกเมียผัวรัก
เขาชักหน้าหนี เขาเหม็นซากผี
เปื่อยเนาพุพอง หมู่ญาติพี่น้อง
เขาหามเอาไป เขาวางลงไว้
เขานั่งร้องไห้ แล้วกลับคืนมา
อยู่แต่ผู้เดียว ป่าไม้ชายเขียว
เหลียวไม่เห็นใคร เห็นแต่ฝูงแร้ง
เห็นแต่ฝูงกา เห็นแต่ฝูงหมา
ยื้อแย่งกันกิน ดูน่าสมเพช
กระดูกกูเอ๋ย เรี่ยรายแผ่นดิน
แร้งกาหมากิน เอาเป็นอาหาร
เที่ยงคืนสงัด ตื่นขึ้นมินาน
ไม่เห็นลูกหลาน พี่น้องเผ่าพันธุ์
เห็นแต่นกเค้า ร้องแรกแหกขวัญ
เห็นแต่ฝูงผี ร้องไห้หากัน
มนุษย์เราเอ๋ย อย่าหลงกันเลย
ไม่มีแก่นสาร อุตส่าห์ทำบุญ
ค้ำจุนเอาไว้ จะได้ไปสวรรค์
จะได้ทันพระพุทธเจ้า จะได้เข้านิพพาน
อะหัง วันทามิ สัพพะโส
อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโย โหตุ
รวบรวมเรื่องราว
เรื่องราวที่ผ่านมา และผ่านไป .. ต้องแยกให้ออกว่าอะไรเป็นอะไร .. เชื่ออะไร ไม่เชื่ออะไร .. เรื่องใดจริง เรื่องใดลวง
14 ต.ค. 2552 : วงการสงฆ์ฉาวอีก สื่อแพร่ภาพพระลูกวัด "หนองละคอน" จ.ลำปาง วัย 75 ปี กระทำอนาจาร ด.ญ. วัย 5 ขวบ เจ้าตัวสารภาพทำผิดจริงยอมสึก
+ innnews.co.th
นายณรงค์ ทองอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า จากกรณี มีภาพถ่ายของ พระ อายุ 75 ปี พระลูกวัดหนองละคอน อ.เมือง จ.ลำปาง ที่ตกเป็นข่าวหลังจากมีคลิปภาพ เผยแพร่สื่อโทรทัศน์โดยเป็นภาพ พระทองมา นั่งกอดและลูบคลำเด็กหญิงวัย 5 ขวบ บริเวณ ถนนไปรษณีย์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำปาง
ทาง สนง.วัฒนธรรมจังหวัดลำปางได้ตามตัวพระทองมา มาสอบสวน หลังหลบหนีไปอยู่ที่บ้านญาติที่ อำเภอแจ้ห่ม จากการสอบสวนพระทองมาได้ยอมรับ ว่าได้ทำผิดจริงหลังได้เห็นภาพถ่าย โดยพระทองมานั้นยอมจำนนต่อหลักฐาน จากนั้นพระครู จินดา รัตนาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดลำปาง ทำพิธีสึกพระทองมาทันที

2 ธ.ค. 2552 : จับพระวัดดังโชว์อนาจารนศ.สาวข้างอาชีวะ
+ breakingnews.nationchannel.com
พนักงานวิทยุ สภ.เมืองลำปาง รับแจ้งจากนักศึกษาหญิงวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง ว่า มีพระภิกษุสงฆ์ ก่อเหตุอนาจาร โดยการควักเจ้าโลก ออกมาโชว์ให้นักศึกษาหญิง ที่เดินผ่านบริเวณใกล้กับประตูทางเข้าวิทยาลัย หลังรับแจ้งจึงแจ้งให้ ร.ต.อ. นิเวศน์ อินทำ รองสวป.ฯ พร้อมเจ้าหน้าที่สายตรวจ เดินทางไปตรวจสอบ เมื่อไปถึงพบพระภิกษุ กำลังยินถือย่าม อยู่บนฟุตปาธ ใกล้กับวิทยาลัยอาชีวศึกษา จึงเข้าตรวจสอบ และสอบถาม โดยมีนักศึกษาหญิง ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา 8 คน ยืนรอให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุ เบื้องต้นนักศึกษาให้การว่า ขณะที่เดินออกมาวิทยาลัยเพื่อกลับหอพัก ปรากฏว่าพบพระภิกษุรูปดังกล่าว ยืนอยู่บนฟุตปาธ ก่อนจะใช้มือควักอวัยวะเพศออกมาโชว์ให้นักศึกษาดู จากนั้นกลุ่มนักศึกษาได้รีบพากันหนี ก่อนจะตัดสินใจโทรศัพท์แจ้งทาง 191 ทราบดังกล่าว
ส่วนพระภิกษุรูปดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ ตำรวจจึงนิมนต์ ไปที่โรงพัก และทราบภายหลังชื่อพระสมพงษ์ วังสธัมโม อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 121 ม. 2 ต. พรหมมนี อ.เมือง จ.นครนายก และเป็นพระลูกวัดท่ามะโอ ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งจากการตรวจสอบภายในย่าม เจ้าหน้าที่ พบหนังสือลามกอนาจารจำนวนหลายเล่ม จึงทำการตรวจยึด และนำตัวส่งร.ต.ท. วรเทพ คำดี พนักงานสอบสวนเวรฯ ดำเนินคดีในข้อหา ”กระทำอนาจารในที่สาธารณะ“ เบื้องต้นพระสมพงษ์ ให้การปฏิเสธ ทุกข้อกล่าวหา และให้การว่าเพียงแค่ยืนรอรถกลับบ้านที่จังหวัดนครนายกเท่านั้น จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้นำตัวไปให้เจ้าคณะอำเภอดำเนินการตามกฏของสงฆ์ต่อไป

9 พ.ค. 2553 : รวบเจ้าอาวาสวัดดังเชียงใหม่ยิงกิ๊กแฟนสาว (blog)
+ news.sanook.com
9พ.ค.53 มีคนบอกว่า sanook.com ลงข่าวที่ได้มาจาก innnews.co.th ว่า พ.ต.ต.สุธีระ ปุณณะบุตร ผบก.สส.ภาค 5 พร้อมด้วย พ.ต.อ.ภาณุเดช บุญเรือง รอง ผบก.ภ.จว.เชียงใหม่ นำตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) นำหมายจับจากศาลจังหวัดเชียงใหม่ เข้าจับกุม ครูบาน้อย เจ้าอาวาสวัดดัง ใน ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วย พระโต้ง เป็น พระลูกวัดคนสนิท ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จากการสอบสวนทราบว่า ครูบาน้อย เป็นคนสั่งให้พระโต้งใช้อาวุธปืนลูกซองยิงผู้ตาย เนื่องจากโกรธแค้นที่ น.ส.กวาง เลิกคบหากับตน แล้วไปคบกับผู้ตายที่ถือว่าเป็นกิ๊ก ทางตำรวจจึงรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับและเข้าจับกุมได้คาวัดดังกล่าว
ในใจผมคิดว่าบทเรียนในปัจจุบันจะเป็นแนวทางในอนาคต จะได้ไม่เดินพลาดด้วยความตั้งใจของตนเอง เพราะถ้าพลาดจากเหตุสุดวิสัย เช่น ป่วยเป็นมะเร็งที่ผ่านการควบคุมอาหารและการใช้ชีวิตแล้ว การจากไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บก็คงเป็นเหตุสุดวิสัย .. ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ถึงอย่างไรก็ยังเป็นสิ่งเดียวที่มีให้ยึดเหนี่ยว คงเปลี่ยนที่หมายของความหวังที่จะได้ขึ้นสวรรค์ ไปพบนางฟ้า ไปนั่งกินนอนกินบนยอดเมฆอย่างมีความสุขนิรันด์กาล .. เพราะถ้าชีวิตสิ้นหวัง สิ้นความเชื่อ ก็จะเป็นทุกอย่างแสนสาหัส ขอเตือนว่าทุกคนอย่าสิ้นหวังในศาสนา ในชีวิตหลังความตายนะครับ .. ไม่งั้นจะเป็นทุกข์ไปชั่วชีวิต


ระท่าน หิ้วดอกไม้จันทน์ กับรองเท้า ถวายกรรมการ มส.
ข่าว 21 กุมภาพันธ์ 2558 หลวงปู่พุทธอิสระ ท่านถามความรับผิดชอบของมหาเถรสมาคม (มส.) โดยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กของตน ที่ยืนยันว่า พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย พ้นผิดปาราชิก โดยนำ รองเท้า ดอกไม้จันทน์ และผักผลไม้ ฝากถวายสังฆทานให้กรรมการ มส. .. ยุคนี้สมัยนี้ อะไรก็เปลี่ยนแปลงเร็วนะครับ ต่างกับความเชื่อในอดีตเยอะเลย
ทุบโต๊ะข่าว อึ้ง พระวัดดังร่วมงานชุมนุมเทพ ร่างทรงท้าจับ ถ้าไม่จริง 19/09/58 [youtube.com]
ช่วยเป็ดเหมือนกัน แต่ช่วยเป็ดไม่เหมือนกัน
ารหยุดรถ ช่วยสัตว์บนถนนหลวง ไม่ควรกระทำนะครับ อันตราย
กรณีที่ 1. คลิปที่มนุษย์แสดงความความเมตตาที่มีต่อเป็ด .. ดูแล้วก็ชวนให้รู้สึกว่าน่ารักน่าเอ็นดู มีคนมีเมตตาต่อสัตว์โลกเยอะทีเดียว น่านับถือ
sanook.com/news/7473310/
กรณีที่ 2. หญิงสาวหลั่งน้ำตา จ่อโทษคุยตลอดชีวิต ช่วยเป็ดไม่ให้ถูกรถทับกลางถนนที่แคนาดา ทำคนตาย 2 ศพ เป็นการตัดสิน และพิจารณาไปที่ผล ว่าการลงไปช่วยเป็ดแล้วทำให้คนต้องตาย เป็นความผิดที่อภัยกันไม่ได้
pantip.com/topic/32233259
bangkokbiznews.com/news/detail/624131
บูชายัญหัวหมู 300 หัวที่ จ.นครปฐม
แม่ค้าผลไม้ที่ราชบุรี นับถือศาสนาพุทธ มีความเชื่อเรื่องแก้บน โดยนำหัวหมู 300 หัวไปแก้บนที่วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม หลังลูกค้านำเงินมาใช้หนี้ล้านกว่าบาท แก้บนเสร็จก็ถวายหัวหมูให้วัด และเพื่อนแม่ค้า ก็เป็นข่าวว่าทำแล้วจะได้บุญหรือได้บาป ที่ต้องสังเวยชีวิตสัตว์ถึง 300 ชีวิต บางคนก็ comment แรง ว่านี่เป็นการบูชายัญกันทีเดียว .. เป็นประเด็นที่น่าคิดนะครับ
https://www.youtube.com/watch?v=BL17Gcz1p9w
ตรุษญวน ขุนหมู 2 ตัวไว้เชือดต่อหน้าผู้ร่วมงาน
พิธีเชือดหมู ที่จังหวัดบั๊กนิญ ทางเหนือของเวียดนาม หมูจะถูกขุน โดย 2 ครอบครัว วันงานจะแห่หมูไปรอบหมู่บ้าน หลังเชือดเนื้อหมูจะถูกแบ่งปันในหมู่บ้าน ส่วนเลือดหมู จะมีผู้เข้าร่วมงานนำธนบัตรไปจุ่มเลือดหมู เพราะเชื่อว่ามันจะนำโชคดีมาให้ตลอดปีใหม่ และรู้สึกภาคภูมิใจในประเพณีพื้นบ้านแบบนี้
nationtv.tv/../378446123/
ฆ่าเต่าบูชาเจ้าแม่กาลี ที่ประเทศอินเดีย มีการฆ่าเต่าเพื่อให้ผู้ศรัทธานำไปบูชาเจ้าแม่กาลีที่จัดทุกปีที่เมืองเบงกอล ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ในเตาหลายสายพันธุ์ มีเต่ากระดองนิ่มที่เป็นสัตว์สงวน ประเพณีนี้ฆ่าเต่าตามความเชื่อ และเพื่อการรับประทาน ก็เหมือนกับในหลายศาสนาที่มีสัตว์มาเป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรม เพียงแต่ที่จุดนี้ใช้เต่า
mthai.com/../137731.html
วันมาฆบูชา วันมาฆบูชา (Makha Bucha Day) ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ปีพ.ศ.2560 ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 คำว่า มาฆะ เป็นชื่อของเดือน 3 มาฆบุรณมี หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ (เดือน 3) ตามปฏิทินของอินเดีย
วันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทยจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 วันมาฆบูชา คือ วันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 9 เดือน เนื้อหาคำสอนหลัก คือ "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
เหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชามี 4 ประการ
1. ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
2. พระสงฆ์ 1250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
3. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
4. พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือ เอหิภิกขุอุปสัมปทา
เห็นประเด็นทั้ง 4 แล้ว ก็ชวนชาวพุทธกำหนดรู้ให้กับวันมาฆบูชาว่า วันมาฆบูชาหนอ มีความสำคัญ 4 เรื่อง คือ เวลาที่ระลึกถึงนั้นเกิดขึ้นในอดีต พระสงฆ์จำนวนมากไปรวมตัวกันในอดีต มีพระอรหันต์จำนวนมากในอดีต พระอรหันต์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทโดยพระพุทธเจ้าที่ละสังขารไปแล้วมากกว่า 2500 ปี พอรู้แล้วก็ปล่อยวาง อย่าถือไว้ให้หนัก เช่นเดียวกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามา และจะต้องผ่านไป
คลิปข่าว จับทนายสุกิจ แล้วนึกถึง ความหมายของชีวิต ห็นข่าวจับทนายสุกิจแล้ว นึกถึงคำถามนี้เลย
ความหมายของชีวิต คือ อะไร (อ่านใน wikipedia.org)
1. เพื่อตระหนักศักยะและอุดมคติของตน
2. เพื่อไล่ล่าความฝัน
3. เพื่อทำฝันของตนให้เป็นจริง
4. เพื่อใช้ไปกับบางสิ่งที่จะดำรงอยู่นานกว่าชีวิต
5. เพื่อขยายศักยะในชีวิตของตน
6. เพื่อกลายเป็นบุคคลที่คุณปรารถนาจะเป็นตลอดมา
7. เพื่อกลายเป็นแบบที่ดีกว่าของตัวคุณเอง
8. เพื่อแสวงความสุข และความรุ่งเรือง
9. เพื่อเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง
10. เพื่อสามารถใส่ตัวเองทั้งหมดในความรู้สึก งานหรือความเชื่อของคนหนึ่ง
11. เพื่อติดตามหรือยอมจำนนต่อพรหมลิขิตของเรา
12. เพื่อบรรลุยูไดโมเนีย สปิริตของมนุษย์ที่รุ่งเรือง
บทบาทและความสำคัญของวัดพะโคะ (วัดราชประดิษฐาน) : ในบริบทสังคมกระแสปัจจุบัน.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของวัดราชประดิษฐาน(วัดพะโคะ) ต่อชุมชนโดยรอบในบริบทกระแสสังคมปัจจุบัน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ โดยการเก็บข้อมูล 2 ประเภท คือ การศึกษาข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลจากภาคสนาม มีพื้นที่ศึกษา คือ วัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) และชุมชนรอบวัดราชประดิษฐาน(วัดพะโคะ) คือ หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 6 ต.ชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา ผลการวิจัยพบว่าวัดราชประดิษฐาน (วัดพะโคะ) เป็นวัดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใด ประวัติของวัดเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ในอดีตวัดราชประดิษฐาน(วัดพะโคะ)มีบทบาทสำคัญทั้งด้านศาสนา การปกครอง เป็นศูนย์กลางของชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออก ส่งผลให้ผู้คนในชุมชนยึดวัดเป็นที่พึ่งพา วัดราชประดิษฐาน(วัดพะโคะ)จึงเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของคนในชุมชน ถึงแม้ปัจจุบันสภาพความเป็นอยู่ของสังคมจะเปลี่ยนไป แต่วัดราชประดิษฐาน(วัดพะโคะ)สามารถปรับบทบาทเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชน การศึกษา เผยแพร่ศาสนธรรม ส่งเสริมประเพณีและพิธีกรรม ทำให้วัดแห่งนี้ยังคงความศรัทธา ความเชื่อมั่นของประชาชนอยู่ได้ไม่เปลี่ยนแปลง
บทบาทของวัด
1. ด้านการส่งเสริมการศึกษา
2. ด้านสาธารณสงเคราะห์
3. ด้านส่งเสริมเครื่องรางของขลัง
4. ด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ธรรม
5. ด้านการส่งเสริมศิลปะ ประเพณี และพิธีกรรม
6. ด้านการท่องเที่ยว
โดย นพรัตน์ ไชยชนะ. (2556). ใน วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(2), 104-111. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ejournals.swu.ac.th
ความสุข ของ Grand age 8 ตัวอย่าง

คลิป The grand age final
facebook.com/groups/olderperson
ความสุข นอกจากสุขภาพดีแล้ว ก็มีอีกหลายวิธีในการหาความสุข
เรื่องเล่า Grand age ใน 8 ตัวอย่าง
"โลกของผู้สูงอายุ อาจไม่เหมือนที่คุณคิด
ถึงตอนนี้คุณยังคิดเหมือนเดิม อยู่อีกหรือเปล่า
"
2.00 : 1) นรินทร์ บุญทวีกิจ และ กรองแก้ว บุญทวีกิจ
- ว่างก็ไป shopping ทานอาหารคลีน
- tour ทั่วไทย 2000 ก.ม.
- ออกกำลังกายที่บ้าน ทานน้ำปั่น ทุกวัน
3.18 : 2) สมชาย จงนรังสิน
- Tri กีฬา ปั่น ว่าย วิ่ง
- ปั่น 600 กิโล มา 3 ครั้งแล้ว
- จากไม่เคยมีจักรยาน ตอนนี้มี 12 คัน
4.04 : 3) ชัชวาล วิริยะไพบูลย์
- วิ่งตั้งแต่อายุ 50
- วิ่งได้ถ้วย 2 ปีที่ผ่านมา ได้ 50 กว่าใบ (แม่เมาะ ลำปาง)
- กลุ่มเยอะ ไลน์ ส่งสวัสดีวันจันทร์ บอกกูยังอยู่นะ (14.10)
5.11 : 4) ปัญญา ศรีสุพรรณ
- เดินป่า ถ่ายรูป 3 ปี 70 ทริป
- ไปไหนมาก็ถ่ายรูปอัพเฟสบุ๊ค
- ยุคนี้เริ่มเห็น คนเดินป่าตอนอายุเยอะล่ะ
5.32 : 5) สุพจน์ สนสุวรรณ
- เล่นกีต้า อายุเยอะก็เล่นได้
- หลัง 60 ชีวิตไม่หยุดนิ่ง หนึ่งนาทีมีค่า อยุ่หยุดกับที่
- ซื้อออนไลน์ได้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นทีวีตู้เย็น
5.46 : 6) ธนสวรรณ เทพสาธร
- กระตือรือร้นกับตัวเองตลอด แก่ไม่ได้
- สังสรรกับเพื่อนปีละครั้ง
- ทุกเดือนต้องนัดเจอ
5.52 : 7) อรัญญา จีระมะกร
- ยังไม่รู้สึกว่าต้องเกษียณ
- เรียนวาดรูป ร้องคอรัสกับเพื่อน ฝึกโยคะ
6.00 : 8) มานพ เด่นซอ
- อายุ 81 ยังเป็นหัวหน้าทัวร์
- ยังมีไฟอยู่ ไฟมันยังไม่หมด
เณรน้อยเจ้าปัญญา มื่อวาน 29/12/61 อ่านประวัติผลงาน เรื่อง มรดกพระจอมเกล้า ปี 2497 ฟิล์มจากวัดกระทงลอย
วันนี้ .. อ่านประวัติตั้งแต่เกิดถึงอายุ 88 ของ อิคคิวซัง
ที่มาที่ไปของเนื้อเรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญา อ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โดยย้อนกลับไปในช่วงยุคเฮอัง ใน ค.ศ. 794 จักรพรรดิญี่ปุ่น ได้จัดให้มีโชกุน เป็นตำแหน่งของนายทหารใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่เป็นอำมาตย์ใหญ่ช่วยในการปกครองประเทศ แต่ต่อมา ในยุคคะมะกุระ จักรพรรดิกลับดูเหมือนเป็นเพียงหุ่นเชิดของโชกุน ใน ค.ศ. 1333 จึงมีการฟื้นฟูระบบจักรพรรดิ ทำให้จักรพรรดิกลับมามีอำนาจอีกครั้ง แต่ใน ค.ศ. 1336 ก็เข้าสู่ยุคมุโระมะจิ นายทหารเข้าปราบปรามชนชั้นปกครอง แล้วก่อตั้งรัฐบาลโชกุน ขึ้นปกครองประเทศในรูปแบบเผด็จการทหารตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่ง ค.ศ. 1868 เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ตำแหน่งโชกุนถูกยกเลิก จักรพรรดิมีอำนาจในฐานะประมุขอีกครั้ง
ขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ ค้นพบแก่นธรรม คือ "เหตุแห่งความทุกข์ และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนเกิดจากจิต ที่เต็มไปด้วยอัตตา"
ชวนดูคลิป แรงบันดาลใจ อยากเรียนหมอ บันทึกคุณ .. กำหนดเอง โดย แพทย์รามา (Good practice) [98.1 vdoteach]
การกิน ทำให้ผ่อนคลายได้ ารกิน มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกแน่นอน ผมกินอาหาร การสูดอากาศบริสุทธิ์เข้าไป ส่งผลให้ความรู้สึกเกิดการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว บางวันที่จิตใจขุ่นมัว พอได้ดื่มเย็นอุ่นสักแก้ว อาหารหวานคาวสักจาน ความรู้สึกก็จะกลับสู่ปกติไม่ขึ้นลงจนวิตกหดหู่อีกต่อไป นึกถึงเหตุการณ์มากมายช่วงต้นปี 2563 ที่บางคนในข่าวเป็นทุกข์คนเดียว แต่ทำให้คนรอบข้าง คนที่รักยิ่งชีพ หรือคนอื่นที่เดินถนนไปมาทุกข์ตามตนเองไปด้วย ทำให้นึกขึ้นได้ว่า การกิน การดื่ม ได้อยู่ในที่เย็น ที่อุ่น อากาศถ่ายเท แสงสว่างเพียงพอ ท้องฟ้าแจ่มใส ได้สงบจิต สงบใจอยู่ตามลำพัง มักช่วยให้อารมณ์ความรู้สึกผ่อนคลายลงจากที่เคยเครียด อึดอัด ก็ค่อยปลดปล่อย เบาบาง ลืมเรื่องราวที่ชวนกังวลไปได้มาก
#จิตมนุษย์ยากแท้หยั่งถึง #บรรยิน
มองแต่แง่ดีเถิด

เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง

ทศพิธราชธรรม 10 ประการ ศพิธราชธรรม 10 ประการ
ประพันธ์โดย พระครูประจักษ์สารธรรม เสียงบรรยายโดย พระครูสิริธรรมบัณฑิต, ผศ.
1) ทานัง = ทาน 2) สีลัง = ศีล 3) ปริจาคะ = บริจาค 4) อาชชวัง = ซื่อตรง 5) มัททวัง = อ่อนโยน สุภาพ 6) ตะปัง = ความเพียร ข่มใจ 7) อักโกธัง = ไม่ลุแก่อำนาจ 8) อวิหิงสา = ไม่เบียดเบียน 9) ขันติ = อดทน 10) อวิโรธนัง = ยึดมั่นในความถูกต้อง
พรปีใหม่ 2564
5 ประเด็น
เผยแผ่พระพุทธศาสนา

คลิปที่ 1. (กิจกรรมประจำปี)
ประเพณี - กฐิน
คลิปที่ 2. (การบริหารงาน)
ทศพิธราชธรรม - ธรรมของพระราชา
คลิปที่ 3. (สติเรื่องเวลา)
พรปีใหม่ - การครองตนอย่างมีสติ
คลิปที่ 4. (วันสำคัญทางศาสนา)
วันมาฆบูชา - วันกตัญญูแห่งชาติ
คลิปที่ 5. (การเป็นผู้ให้)
ทาน - อามิสทาน และธรรมทาน
อเจริญพร ญาติโยมทั้งหลาย
ปีเก่า 2563 กำลังจะผ่านไป
ปีใหม่ 2564 กำลังจะก้าวเข้ามา
ธรรมะที่อาตมาอยากจะขอมอบให้ คือ ให้เรา
1 ทบทวนอดีต 2 กำหนดปัจจุบัน 3 วางแผนอนาคต
1 ทบทวนอดีต
คือ บางสิ่งที่ไม่ควรจำ ถ้ามันทำให้เจ็บ
แต่บางสิ่งก็ควรเก็บ ถ้ามันเป็นความเจ็บที่น่าจำ
หมายความว่า
เรื่องบางเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ
ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ก็อย่าเก็บมันไว้ให้รกสมอง
ทำให้ทุกข์เปล่า ๆ
แต่บางเรื่อง มันอาจจะทำให้เราเจ็บปวด
แต่มันมีประโยชน์มากสำหรับชีวิต
เราก็ต้องเก็บไว้เตือนสติตนเอง
2 กำหนดปัจจุบัน
คือ เมื่อเราทบทวนอดีตแล้ว
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
ให้ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา
ท่านทั้งหลาย
เรื่องอะไรที่เลวร้าย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
มันก็เหมือนกับพายุที่มันถาโถมเข้ามา
ไม่นานนัก มันก็จากไป
ปัญหาอุปสรรคก็เช่นเดียวกัน
มันเข้ามาในชีวิตเรา
ถ้าเรารู้จักจะเอาอุปสรรคมาเป็นกำลังใจ
มาทำให้เราเข้มแข็ง เราก็อยู่ได้
แต่ถ้าเราเอามาทำให้เจ็บใจ
มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
3 วางแผนอนาคต
คือ เมื่อเรามีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน
เราย่อมเดินไปสู่ความชัดเจนในชีวิตได้
อาตมาอยากบอกว่า
ไม่มีความเจ็บปวดใด ที่จะไม่มีค่าในชีวิต
มันขึ้นอยู่ที่ว่า เราจะเอาความเจ็บปวดนั้น
มาทำให้เราเข้มแข็ง หรือเอามาทิ่งแทงให้เจ็บใจ
เราต้องมองไปข้างหน้า มองไปด้วยความหวัง
ต้องคิดให้กว้าง มองให้ไกล ทำใจให้สูง
อย่าคิดแคบ มองใกล้ แล้วก็จะใฝ่ต่ำ
จะทำให้ชีวิตเรานั้นหม่นหมอง
ปีใหม่ 2564 นี้ ขอให้ทุกท่าน
ร่ำรวยความสุข ร่ำรวยความดี ร่ำรวยบารมี
ร่ำรวยเงินทอง มีความสุข
ร่างกายแข็งแรงปลอดภัย
มีกำลังใจเข้มแข็งตลอดไปเทอญ
สวัสดีปีใหม่จงไร้โศก
ประสพโชคดีงามตามสนอง
ปรารถนาสิ่งใด ได้สมอารมณ์ปอง
ทรัพย์เนืองนองไหลมาดังสายวารี
สาธุ สาธุ อนุโมทนา ขอบุญรักษา เทวดาคุ้มครอง
นิทานทอดกฐิน ดาวจระเข้
แนะนำกลุ่มเกี่ยวกับ พุทธศาสนา และจริยธรรม

หลักสูตร หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
ละสังขาร 22 ธ.ค.63

ปรับปรุงข้อมูล 26 มี.ค.64
  1. ธรรมะในใจ
    299.99K
  2. ธรรมะ
    85.7K
  3. พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก
    75.6K
  4. ศาสนาวิจารณ์
    51.8K
  5. ธรรมะของพระพุทธเจ้า
    49.9K
  6. ครูบาอาจารย์สายเมืองล้านนา
    41.9K
  7. ธรรมะ
    33.8K
  8. ธรรมะของพระพุทธเจ้า
    29.3K
  9. สาระความรู้เพื่อชีวิตและสังคม
    20.9K
  10. สมาพันธ์เครือข่ายประชาชนส่งเสริมและสนับสนุนพระพุทธศาสนา
    18.2K
  11. คำสอนของพระพุทธองค์และพระอริยะสงฆ์
    8.4K
  12. ศีล สมาธิ ปัญญา
    7.8K
  13. กลุ่มส่งเสริมพุทธศาสนา
    7.6K
  14. พระพุทธศาสนา
    3.6K
  15. ธรรมะเพื่อชีวิต
    605
ห้ามเปิดถุงบรรจุศพ 5พ.ค.64 จารีตประเพณีที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามค่านิยมของสังคมเมืองที่เข้ามากระชับพื้นที่สังคมชนบทจนลดเล็กลงอย่างมาก แต่การเข้ามาของ โควิด-19 เพียงชั่วข้ามสัปดาห์ ทำให้จารีตประเพณีความเชื่อถูกลดทอนจนแทบไม่เหลืออะไรเลย ด้วยอิทธิพลจากความกลัวเหนือสิ่งอื่นใด มีคำเตือนที่ผ่านความเห็นชอบจากสังคมโดยปริยาย ไม่ต้องไปทำประชาคมขอฉันทามติอีก เพราะประชมคมไม่ได้ ทุกคนยอมรับโดยดุษฎี ที่ ห้ามเปิดถุงบรรจุศพ เพื่อดูศพ รดน้ำศพ ทำความสะอาดศพ เปลี่ยนเสื้อผ้า ฉีดน้ำยารักษาศพ หรือประกอบพิธีทางศาสนาอื่น ๆ คาดว่าข้อห้ามเหล่านี้จะใช้ห้ามเพียงระยะเวลาหนึ่ง จนกว่ามนุษย์เราจะชนะโควิด-19 และเชื้อนี้ได้อันตรธานหายไปจากโลกนี้
ศีล 5 คืออะไร อธิบายมาพอเข้าใจ
ศีล 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. พึงละเว้นจากการลักทรัพย์
3. พึงละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. พึงละเว้นจากการพูดเท็จ
5. พึงละเว้นจากการดื่มสุรา
sanook.com
google/บ้านสำเนาธรรม
wikipedia.org
เบญจศีล แปลว่า ศีล 5 ได้แก่
1.ปาณาติปาตา เวรมณี
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น
2.อทินนาทานา เวรมณี
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย หรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น
3.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
บุคคลต้องห้ามสำหรับฝ่ายชาย คือ
(1) ภรรยาคนอื่น
(2) ผู้หญิงที่ยังอยู่ในความอุปการะของผู้อื่น (ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่)
(3) ผู้หญิงที่จารีตต้องห้าม (แม่ ย่า ยาย พี่สาว น้องสาว ลูกสาว ชี หญิงผู้เยาว์)
บุคคลที่ต้องห้ามสำหรับฝ่ายหญิง คือ
(1) สามีคนอื่น
(2) ชายจารีตต้องห้าม (พ่อ ปู่ ตา พี่ชาย น้องชาย ลูกชาย พระภิกษุ สามเณร ชายผู้เยาว์)
ทั้ง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ใช่เฉพาะ ห้ามแต่ร่วมสังวาสเท่านั้น แม้แต่การเคล้าคลึง การพูดจาเกี้ยวพาราสี หรือการแสดงอาการด้วยสายตา เนตรสบเนตร ก็ชื่อว่า ละเมิดศีลข้อนี้แล้ว เมื่อไม่ล่วงละเมิดศีลข้อนี้ แล้วเป็นผู้สำรวมในกาม ยินดีแต่ในภรรยาของตนเท่านั้น จงรักภักดีแต่ในสามีของตน ถ้ายังไม่ได้แต่งงานก็ต้องตั้งตนอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม มีวัฒนธรรมอันดีที่ว่า "เข้าตามตรอกออกตามประตู"
4.มุสาวาทา เวรมณี
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ อันได้แก่ คำปด ทำเล่ห์กระเท่ห์ มารยา พูดเสียดแทง ผิดสัญญา เสียสัตย์ และคืนคำ แล้วเป็นผู้รักสัจจะ พูดแต่คำสัตย์จริงด้วยความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง
5.สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่น เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือแม้แต่บุหรี่ แล้วเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะในการประกอบกิจการทั้งปวง และเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต ในการงาน ในวัย ในเพศ
ชีวิตวิถีใหม่ ไปวัด
สสส. ร่วมส่งเสริมชีวิตวิถีใหม่ ไปวัด สุขทั้งใจ ปลอดภัยทั้งกาย ห่างไกลเชื้อ
สำหรับพุทธศาสนิกชน วัดไม่เพียงเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หากยังเป็นที่หยุดพักจิตใจจากความวุ่นวายทางโลก ด้วยเหตุนี้จึงมีคนจำนวนไม่น้อยมีความผูกพันกับวัด และแวะเวียนไปมาอยู่เสมอ แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 การไปวัดซึ่งบางครั้งมีความพลุกพล่าน จึงต้องระมัดระวังกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตระหนักดีว่า วัดยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน แม้ในวันที่มีการระบาดของเชื้อโรคอันตราย และทุกคนต้องปรับตัวให้เข้า “ชีวิตวิถีใหม่” ซึ่งหลายคนก็ยังทำตัวไม่ถูก จนเกิดเป็นความเครียดและกังวล ด้วยเหตุนี้ สสส. ในฐานะองค์กรที่สั่งสมองค์ความรู้ด้านสุขภาพมาอย่างยาวนาน จึงได้จัดทำสื่อแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับสถานที่ต่าง ๆ ที่เข้าใจง่าย และถูกต้องตามหลักสุขอนามัย โดยสื่อที่ออกไปก่อนหน้านี้ก็คือ “ชีวิตวิถีใหม่...ในตลาด” และในครั้งนี้คือ “ชีวิตวิถีใหม่...ไปวัด” ซึ่งถูกสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบของโปสเตอร์ดิจิทัลที่สามารถดูผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือพิมพ์ออกมาติดตามวัดในชุมชน สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ที่ http://llln.me/guSGZcm
thaihealth.or.th/.._achisxyz1467.jpg
วัดในจังหวัดลำปาง ลูกเต๋า : ภาพวัด สามารถใช้จัดกิจกรรมในวิชาสังคมศึกษา เช่น นักเรียนทอยลูกเต๋าเพื่อให้นักเรียนเลือกวัดที่จะนำเสนอ หรือเป็นงานมอบหมายให้นักเรียนทำลูกเต๋าของตนเองด้วยการนำกลับไปทำต่อที่บ้าน หรือทำให้เสร็จในห้องเรียน เพื่อวาดวัดที่ตนเองเคยไปมาก่อน หรือคุณครูอาจ print ลูกเต๋าเปล่า แล้วให้นักเรียนกลับไปวาดภาพระบายสีลูกเต๋าขึ้นมา แล้วเขียนชื่อสกุลใต้ลูกเต๋า ไปวางไว้หน้าห้อง แล้วให้เพื่อนนักเรียนช่วยกันทายว่าใครเป็นคนสร้างลูกเต๋าลูกใดก็ได้ โดยมี dice เปล่าให้ print ได้ที่ cube.htm
ลูกเต๋าวัด
ชวนฟังธรรมหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
มีเสียงธรรมของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่เตรียมถ่ายโอนลง USB Drive ไปให้ญาติได้ฟัง คัดลอกแฟ้มรวม MP3 แบบ .zip ขนาด 3.34 GB ได้จาก TUMMA.IN (ธรรมะของพระจารย์ ทางสิ้นภพชาติ) หรือสืบค้นจาก google ก็พบเป็นลิงค์แรกครับ ในแฟ้มนี้มี .zip ถึง 96 ชุด ผมก็ยังฟังไม่หมดนะครับ เพราะมีเยอะมาก ต้องค่อย ๆ เลือกฟัง
ประกอบด้วย 1) อุทุมพริกสูตร 2) อาหาเรปฏิกูลสัญญา -2521 3) อาลัยหลวงพ่อปาน 4) อานิสงส์โดยเสด็จพระราชกุศล 5) อานาปานุสสติ -2521 6) อสุภกรรมฐาน 10 7) อภิญญา -2521 8) อนุสสติ 5 9) อนุสสติ 3 10) หนีนรก 11) แสดงตนเป็นพุทธมามกะ 12) เสียงเพลงเป็นธรรม 13) เสียงธรรมยามเช้า 14) เสียงธรรมตอนหัวค่ำ 15) เสียงธรรมของพระองค์ที่ 10 16) เสียงธรรมก่อนนิทรา 17) สุกขวิปัสสโก, ฉฬภิญโญ 18) สังโยชน์ 10 19) สอนมโนมยิทธิ 2521 20) สรุปคำสอนในพรรษา -2521 21) สมาทานพระกรรมฐาน 22) สนทนาธรรมวันมาฆบูชา 23) สนทนาธรรมที่คลองวาฬ 24) ศูนย์อารมณ์ 25) ฤาษีสอนลูกภาคเหนือ 26) ฤาษีสอนลูกภาคใต้ 27) ฤาษีสอนลูกใต้ร่มไทรงาม 28) เริ่มฝึกอิทธิบาท 4 ,บารมี 10 29) ระเบียบประจำสำนัก-จัดระเบียบภายใน- 30) รวมสารธรรม 31) รวมคำสอนก่อนเจริญกรรมฐาน 32) เมื่อข้าพเจ้าตาย 33) มหาสติปฏิฐานสูตร 34) มหาชาดก (ทศชาติ) 35) มรณสัญญา 36) มโนมยิทธิและประวัติของฉัน 37) พระสูตรต่างๆ 38) พระสูตรต่างๆ 40) พระกาลบอกเวลาตาย 41) พรหมวิหาร 4 -2521 43) ประวัติหลวงพ่อปาน (ม้วน 1-12) 44) ประวัติหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค(ฉบับเก่า) 49) ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า 50) ปกิณกะคำสอน 51) บารมี 10 ทัศ และ วิปัสสนาญาณ 9 52) บารมี 10 (สอนภายใน) -2527 54) น้ำมนต์พระพุทธเจ้า 56) ธรรมปฎิบัติ 57) เทศน์หมดสัญญาต่ออายุ 68) เทศน์เรื่องญาณ 8 69) เทศน์แจง 2 ธรรมาสน์ 70) เทศน์ 2 ธรรมาสน์(โยมห้อย) 71) เทวตานุสสติ -2521 72) เทปบันทึกลงหนังสืออ่านเล่น 73) ทำวัตรเย็น 74) ทำวัตรเช้า-เย็น 75) ทำวัตรเช้า-เย็น 76) ทำวัตรเช้า (ธรรมนิยาม) 77) ทางสู่พระนิพพาน 78) ไตรภูมิ 79) ชวนเทวดา นางฟ้า พรหม ไปนิพพาน 80) จุไรท่องเที่ยวดวงดาว 81) จริต 6 และวิธีใช้กรรมฐานให้ถูกกับจริต 82) จตุธาตุวัฏฐาน 4 2521 83) คำสอนสายลมดีที่สุด ม้วน1 84) คำสอนที่สายลม ปี 2535 85) คำสอนที่วิหารแก้ว 100 เมตร 86) คาถาเงินล้าน 87) ครบรอบวันเกิดหลวงพ่อ ปี 2518 88) แก้อารมณ์ฟุ้ง 89) การฝึกอารมณ์ให้เข้าถึงความเป็นพระอริยะแบบสุกขวิปัสสโก 90) การฝึกปฏิบัติแบบปฏิสัมภิทัปปัตโต 91) การฝึกปฏิบัติแบบเตวิชโช 92) การฝึกปฏิบัติแบบฉฬภิญโญ 93) กสิน 10 94) กรรมที่ทำให้ไม่มีลูก 95) กรรมฐานเพิ่มเติม 96) กรรมฐาน 40
bit.ly/36zMWNL
tumma.in (เข้าถึงธรรมะ)
ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน ม้วน 1 หน้า A (การทรงอารมณ์เพื่อเข้าถึงพระโสดาบัน)
ฟังธรรมพระเกจิอาจารย์จากโทรศัพท์เครื่องเก่า
ผู้สูงอายุของผม ขอให้หาเสียงธรรมให้ท่านฟัง ท่านถนัดที่จะใช้โทรศัพท์คู่ใจเครื่องเดิม ที่ถอด sim card ออกแล้ว เอาไว้ฟังธรรมอย่างเดียว ท่านชอบฟังธรรมะจากโทรศัพท์รุ่นเก่า ครั้งนี้ ท่านขอโหลดคลิปเสียงพระอาจารย์ ที่ท่านอยากฟัง เพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งเซต ในโทรศัพท์มี MicroSD Card - Class 4 ขนาด 4GB ต้องหา Card Reader ที่แปลง MicroSD Card - เป็น USB แล้วดาวน์โหลดแฟ้มเสียง และคัดลอกลง Memory เมื่อติดตั้ง Memory เข้าไปที่เดิม ต้องเข้าไปในโทรศัพท์ ทำการเพิ่มรายการเสียงธรรมเข้าไป ซึ่งมีขั้นตอนที่คาดว่าท่านอาจไม่ถนัด จึงต้องเลือกเพิ่มให้ทั้งเซตเข้า Playlist ทิ้งไว้เลย เช่น เสียงธรรมของหลวงพ่อชา ขนาด 1.3 GB แตกแฟ้มแล้วได้ 118 แฟ้ม ความยาว 95:29:17 ฟังได้รวมระยะเวลาประมาณ 4 วันแบบไม่พัก หรือ เสียงธรรมหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ จะคัดลอกเสียงธรรม ใส่ใน USB Drive ให้ผู้สูงอายุอยู่เสมอ แล้วเล่นด้วย MP3 Player เพียงเสียบเข้าเครื่องเล่น ก็ฟังได้ต่อเนื่อง แต่คาดว่าท่านต้องการพกเครื่องเล่นติดตัวไปด้วย การใช้โทรศัพท์เก่าก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ หรือบางทีอาจมีเพื่อนของท่าน แนะนำมาว่าวิธีนี้สะดวกกว่า และดีกว่าเดิม
สรุปว่า ฟังธรรมกัน ครับ
พิพิธภัณฑ์ชุมชน

วัดปงสนุก

วัดบ้านหลุก

วัดไหล่หิน

วัดบ้านก้อง

วัดบ้านต๋อมกลาง

วัดน้ำจำ
ประวัติ วัดบ้านก้อง
ตั้งอยู่เลขที่ 417 บ้านก้อง ต.ปากบ่อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 500 อาณาเขต ทิศเหนือจดโรงเรียนวัดบ้านก้อง ทิศใต้จดถนนสายสบทา - ท่าลี่ ทิศตะวันออก จดซอยปากบ่องซอย 1 ทิศตะวันตก จดซอยปากบ่อง ซอย 3 มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา น.ส. 3 ก เลขที่ 554 อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ และหอพระไตรปิฎก ศิลปะล้านนา สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปสิงห์ 1 เจดีย์ วัดบ้านก้อง สร้างเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 โดยมีสาธุเจ้าอานันท์ เป็นประธานพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายในละแวกนั้นร่วมกันสร้างขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2477 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 47 เมตร ยาว 61 เมตร การบริหาร และการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ รูปที่ 1 พระอธิการอานันท์ อานฺนโท รูปที่ 2 พระพรหม รูปที่ 3 พระครูบาอุปละ รูปที่ 4 พระใหม่ญาณะ พ.ศ. 2450 - 2453 รูปที่ 5 พระอิ่น อินโท พ.ศ. 2453- 2456 รูปที่ 6 พระอธิการอ้าย เตโช รูปที่ 7 พระครูเสาร์ อินทนฺนโท พ.ศ. 2463 - 2520 รูปที่ 8 พระโสภณกิตติธาดา พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้มีหอสมุดและโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ในที่ดินของวัด เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา
lovethailand.org
ประวัติ วัดน้ำจำ
ตั้งอยู่เลขที่ 123 หมู่ 6 น้ำจำ ม่วงม้า-น้ำจำ ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50130 วัดราษฎร์ มหานิกาย เนื่้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา วัดน้ำจำ ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2170 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2499 วัดพัฒนาดีเด่น เมื่อ พ.ศ. 2551 พระครูพิศาลเจติยารักษ์ มงฺคลธมฺโม เจ้าอาวาสวัดน้ำจำ ในอดีตคนผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบ ๆ กันหลายชั่วอายุคนว่า บ่อน้ำตื้นบ่อหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีน้ำขังอยู่ตลอดปีใช้เป็นน้ำดื่มน้ำกินของชาวบ้านและสัตว์เลี้ยงนานาชนิด ดังนั้นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้จึงพากันเรียกว่า บ้านน้ำจำ มาจนกระทั่งทุกวันนี้ วัดน้ำจำเริ่มแรกได้มีหลวงพ่อเตจ๊ะได้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 1 ได้สร้างวิหารชั้นหนึ่งหลัง ต่อมาได้มีหลวงพ่อคุณมาดำรงตำแหน่งเป็นจ้าอาวาส องค์ที่ 2 ไม่ปรากฏว่าท่านได้สร้างไร จนกระทั่งหลวงพ่อคุณได้มาจารึกต่างแดนทางวัดไม่มีพระเณรดูแลรักษาทางคณะศรัทธา จึงไปขออาราธณากราบนิมนต์หลวงปู่พระครูแก้ว ชยเสโน ซึ่งไปศึกษาพระธรรวินัยอยู่ที่วัดชัยสถานสันต้นดู่ ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด ให้กลับมาดูแลรักษาวัด และอบรมสั่งสอนญาติโยมแทนหลวงพ่อคุณ นาน 4 พรรษา หลวงพ่อยังไม่กลับ ต่อมาปีเถาะ พ.ศ.2446 ท่านเจ้าคุณอภัยสารทะ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดฝายหิน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เรียกไปพบและได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสน้ำจำ หลวงปู่พระครูแก้ว ชยเสโน เจ้าอาวาสน้ำจำ ได้ชักชวนญาติโยมศรัทธาสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา จนวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เวลา17.55 น. ท่านก็ได้มรณภาพ รวมศิริอายุ 73 พรรษา ต่อมาท่านพระครูพิศาลเจติยารักษ์ ได้รักษาการเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2529 และในปี พ.ศ.2532 ได้แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส จากเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับพระราชทาน แต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ณ สำนักราชวัง
lovethailand.org
ประวัติ วัดบ้านต๋อมกลาง
วัดบ้านต๋อมกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา ประกาศตั้งวัด พ.ศ.2346 ผูกพันธสีมา พ.ศ.2350 ก่อนจะสร้างวัดนี้ขึ้น ได้มีราษฎรอพยพมาจาก อ.เมือง จ.ลำปาง เพื่อมาตั้งหลักฐานทำมาหากิน ในราว พ.ศ.2346 โดยมี พระภิกษุแสนภาพ เป็นประธาน พร้อมด้วยทายกทายิกา ก่อสร้างสำนักขึ้นเป็นสถานบำเพ็ญกุศล และได้ไปอาราธนานิมนต์ พระภิกษุพิมสาร จากวัดพระเจ้าทันใจ จังหวัดลำปาง มาเป็นประธานสร้างวัด และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนสิ้นอายุของท่าน ต่อมาลูกศิษย์ของท่านปกครอบสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาพระภิกษุคำมา ธมมวโส (สอนใจ) เป็นประธานพร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ก่อสร้างอุโบสถขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2477 โดยใช้ที่ดินก่อตั้งวัด เดิมมีประมาณ 5 ไร่เศษ ต่อมาสร้างถนนตัดผ่าน แยกที่ออกเป็น 2 แปลง ที่ดินส่วนหนึ่งได้สร้างเป็นตาดสดขึ้นด้านทิศใต้ เพื่อเก็บผลประโยชน์บำรุงวัด ส่วนเขตที่ตั้งวัดและเขตที่ธรณีสงฆ์นั้นมีตามใบ น.ส.3 ของวัดแล้ว ปี พ.ศ. 2521 พระภิกษุบุญมี วชิรญาโณ เจ้าอาวาสพร้อมด้วยทายกทายิกา ได้พร้อมกันซื้อที่ดินด้านทิศเหนือ ในเนื้อที่ 2 งาน 70 ตารางวา เพื่อขยายเขตวัดออกไป สิ่งสำคัญประจำวัดนี้ได้แก่ พระวิหารจำลองหลังเล็ก ซึ่งแกะสลักด้วยมีภาพจิตกรรมของโบราณ ซึ่งพระพิมสาร เป็นผู้สร้าง นายแสงภาพเป็นประธานเจ้าภาพ สร้างเมื่อจุลศักราช 1216 ตรงกับพุทธศักราช 2397 วัดนี้เดิมเรียกว่า “วัดศรีดอนไชย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดบ้านต๋อมกลาง” จนถึงปัจจุบันนี้ เหตุที่เรียกชื่อวัดและหมู่บ้านนี้ อาศัยมูลเหตุมาจากลำแม่น้ำต๋อม
ผู้เรียบเรียงคือ พระอธิการบุญมี วชิราญาโณ (สอนใจ)
เฟสบุ๊คของ "วัดบ้านต๋อมกลาง"
คู่มือพุทธคลินิก และ คู่มือยกระดับจิต
คู่มือพุทธคลินิก
หรือ คู่มือการจัดการพุทธสถานในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุ
ผลงานวิจัย เรื่อง "กลไกการขับเคลื่อนศักยภาพขีดความสามารถของผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักพุทธธรรม" โดย ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง และคณะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (2560)
เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน
- ส่วนที่ 1 เป็นปัจจัยพื้นฐานโครงสร้างของศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุ "พุทธคลินิก" ด้านกายภาพ
- ส่วนที่ 2 เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ
- ส่วนที่ 3 กลไกการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุ "พุทธคลินิก"

รีวิว คู่มือฯ
คู่มือยกระดับจิต
หรือ คู่มือการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาวะการยกระดับจิตการพึ่งตนเอง
โดย แกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม ผลงานวิจัย เรื่อง "กลไกการขับเคลื่อนศักยภาพขีดความสามารถของผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักพุทธธรรม" โดย ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง และคณะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (2560)
มีหัวข้อดังนี้
1. ขั้นตอนในการพัฒนาจิตตามหลักพุทธธรรม
2. ลำดับขั้นตอนในการยกระดับจิตการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ
3. กลไกการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาวะ การยกระดับจิตการพึ่งตนเอง โดยแกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม
4. คุณสมบัติของแกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม
5. บทบาทของแกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม
6. จริยธรรมของแกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม
7. เกณฑ์การดำเนินงานของแกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม
8. กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะการยกระดับจิตการพึ่งตนเอง โดยแกนนำผู้สูงอายุพุทธธรรม
9. ตารางกิจกรรมอบรม
วช. ประกาศรับข้อเสนอกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 (ด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์)
Thaiall.com