thaiall logomy background ไอโอที (IoT) ด้วย Arduino
my town
esp32c3

Internet of Things (IoT)

อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) คือ การที่ทุกอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถรับส่งข้อมูล และควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร วัดระดับน้ำ วัดความชื้น วัดแสง วัดอุณหภูมิ ส่งข้อมูลไปจัดเก็บเพื่อประมวลผล วิเคราะห์ และรับส่งคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ เป็นต้น
IoT ไม่ยากอย่างที่คิด โดย อ.อาคม ไทยเจริญ
arduino uno Connecting Sensors to the Cloud
Internet of Things (IoT) คือ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง การที่ทุกอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถรับส่งข้อมูล และควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร วัดระดับน้ำ วัดความชื้น วัดแสง วัดอุณหภูมิ ส่งข้อมูลไปจัดเก็บเพื่อประมวลผล วิเคราะห์ และรับส่งคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ เป็นต้น
บว่า การเรียนเขียนโปรแกรม หรือ Coding ไม่ยากอย่างที่คิด ผู้เข้าอบรมไม่มีพื้นฐานความรู้คอมพิวเตอร์ก็สามารถเรียน IoT ได้ เพราะไม่ยากอย่างที่คิด ที่ยาก คือ ทำอย่างไรให้อยากเรียน Internet of Thing เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้ Hardware ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ สร้างอุปกรณ์ด้วย Arduino เป็นแพลตฟอร์ม Open Source สอนการเขียน Code ด้วยภาษา C ควบคุมอุปกรณ์ให้ทำงานร่วมกันในเครือข่ายตามที่กำหนด ทำ workshop แล้วฝึกประยุกต์ใช้ เช่น ควบคุมการเปิดปิดไฟในบ้านได้อัตโนมัติ การเปิดปิดน้ำเมื่อเต็มถัง เชื่อมข้อมูล และประมวลผลบนคลาวด์ เพื่อเชื่อมโยงได้จากทุกที่ ติดตาม อ.อาคม ไทยเจริญ ได้ในกลุ่ม Arduino Thailand
โครงการลดเปลี่ยนโลก กับ โตโยต้า ปี 2
flyingfish flyingfish
ครงการลดเปลี่ยนโลก กับ โตโยต้า มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ประกอบด้วย 1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรม ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามบริบทของพื้นที่ มุ่งสู่การสร้างสังคมเครือข่ายที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม 2) เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน
มีโอกาสได้ฟังคลิปในยูทูป เกี่ยวกับ การใช้อุปกรณ์ไอโอที ESP32 + Google sheet + App Script กับ ผศ.ดร.สมคิด เพ็ญชารี ใน โครงการลดเปลี่ยนโลก กับ โตโยต้า ปี 2 ชมคลิป ระบบตรวจวัดมีเทนเก็บข้อมูลที่ Google Sheet ประกอบด้วย EP.1 - 15.09 นาที และ EP.2 - 13.49 นาที ขอชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของนักเรียนไทย ที่ทำโครงการลดเปลี่ยนโลกปีนี้ ชวนอ่านกันครับ เพื่อต่อยอด
พบรายชื่อโครงการทั้ง 4 ภาค (191) ประกอบด้วย
ภาคกลาง (50) ภาคเหนือ (44) ภาคใต้ (50) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (47)
รายชื่อ ผลงานวิจัยเด่น ของ สวทช (NSTD)
Flying fish MQ-2
flyingfish flyingfish
ลกของเรามีผู้ผลิต ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) อยู่หลายราย แต่ไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กที่ได้รับความนิยม คงต้องยกให้ ESP32 ของบริษัท Espressif ที่เชื่อมต่อกับ Sensor ได้หลากหลาย ด้วยต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพสูงกว่าราคามาก มีเครื่องมือพัฒนา software รองรับมาก เหมาะกับการพัฒนาระบบ IoT อย่างยิ่ง เชื่องต่อฐานข้อมูลภายนอกได้มากมาย ชุดที่เห็นนี่ ใช้งบไม่น่าเกิน 300 บาท ทำให้สามารถพัฒนาเยาวชนให้เรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นที่แพร่หลาย พบในโครงการลดเปลี่ยนโลก กับ โตโยต้า
มัยนี้ นักเรียนมีความสนใจทำ โครงการลดโลกร้อน หรือ ลดเปลี่ยนโลก แล้วได้รับการอบรมการใช้อุปกรณ์ IoT จาก ผศ.ดร.สมคิด เพ็ญชารี เช่น Arduino Gas Sensor หรือ Flying fish MQ-2 ตัวไม่ถึงร้อย (ปลาบิน) ทำงานผ่าน ESP32 C3 ตัวร้อยกว่า (Micro controller) โดยเชื่อม WiFi ส่งข้อมูลเก็บใน Google sheet + app script ได้ด้วย พบว่า ห้องเรียนแห่งอนาคตมีเรื่องราวให้เรียนรู้อีกมากมาย
ากคลิปอบรมในยูทูป พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมได้รับอุปกรณ์ ESP32 และ Flying Fish MQ-2 ที่ประกอบแล้ว และพร้อมใช้งาน ทีมละ 2 ชุด และพบว่าสามารถสั่งงานผ่าน Serial Monitor โดยมีเมนูรองรับการใช้งาน สามารถสั่ง H (Help) เพื่อแสดงรายการฟังก์ชันที่รองรับหลายคำสั่ง ซึ่งเลือกใช้ติดต่ออุปกรณ์ได้ทั้ง Arduino IDE และ Tera Term 5 แล้วคาดว่า ความสามารถในการเก็บข้อมูลค่า Setting ต่าง ๆ จะเก็บไว้ใน Flash Memory ซึ่งมี EEPROM Library ที่สามารถจัดการกับตัวแปรต่าง ๆ ได้
ESP32 Flash Memory
Arduino write string in eeprom
การใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (itinlife605) นุษย์ก้าวผ่านวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีไปได้หลายช่วง ช่วงนี้อยู่ในยุคของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT = Internet of Things) หากประเทศไทยจะพูดคำว่า 4.0 ในทุกกลุ่ม ก็จะต้องมีคำว่าไอโอทีเข้าไปเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย การประยุกต์ใช้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีปัจจัยสำคัญ คือ บุคลากร ผู้ใช้ และความเข้าใจ เราสามารถนำไอโอทีมาใช้งานได้ทุกด้าน เชื่อมโยงกับคลาวด์ ธุรกิจ และเซ็นเซอร์ (Sensor) อาจกล่าวได้ว่าที่ใดมีความเคลื่อนไหวที่เป็นข้อมูลได้ ที่นั่นย่อมมีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้
ตัวอย่างการใช้ด้านความปลอดภัยในบ้าน คือ ติดตั้งไอโอทีไว้ตามประตู หน้าต่าง ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญ ว่ามีใครบุกรุก เก็บสถิติการใช้ ไฟตก ไฟเกิน ไฟช็อต แล้วส่งข้อมูล แจ้งเตือน (Alert) หรือคลิ๊ปไปยังผู้ดูแล การใช้ด้านการเกษตร คือ ติดตั้งอุปกรณ์ไว้กับทุกอย่างในพื้นที่เกษตร อาทิ เครื่องวัดอุณหภูมิ ความชื้น แสง ติดกับต้นไม้ แหล่งน้ำ ขวดยา แล้ววัดระดับเพื่อสั่งให้ดำเนินการที่เหมาะสม หรือส่งข้อมูลให้ผู้ดูแลได้แก้ไข อาทิ การชำรุดทางกายภาพ เติมน้ำมันเชื้อเพลิง เติมน้ำยาแอร์ หรือซ่อมอุปกรณ์ การใช้ด้านสุขภาพ คือ ติดตั้งอุปกรณ์สวมใส่ไว้กับตัว วัดอุณหภูมิ ชีพจร การเต้นของหัวใจ น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต จีพีเอส เก็บข้อมูลเข้าระบบเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยสุขภาพ หากพบสิ่งผิดปกติแบบเรียลทาม (Real Time) ก็จะแจ้งไปยังสถานพยาบาลให้ไปช่วยเหลือได้ทันที
ารใช้ด้านยานพาหนะ คือ ติดตั้งอุปกรณ์วัดความเร็ว ระดับน้ำมัน ความดันลมยาง อุณภูมิในห้องโดยสาร และเครื่องยนต์ จำนวนผู้โดยสาร น้ำหนักสัมภาระ ชีพจรของคนขับ ระดับแอลกอฮอล์ ส่งไปเข้าระบบวิเคราะห์ข้อมูลในระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI = Artificial Intelligence) เพื่อดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสม การใช้ด้านการทหาร คือ มีตัวอย่างมากมายในภาพยนตร์ ทั้งหุ่นยนต์ อาวุธ และเซ็นเซอร์การใช้อุปกรณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เหมาะสม การใช้ด้านการจราจร หรือควบคุมภัยพิบัติ คือ ติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับน้ำ ลม ไฟป่า การเคลื่อนที่ของรถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาบริหารจัดการ หรือการใช้ระบบตรวจสอบใบหน้า (Face Detection) ในสนามบิน แล้วเชื่อมกับฐานข้อมูลผู้กระทำผิด ทำให้การจับกุมผู้ต้องสงสัยมีประสิทธิภาพ การใช้ด้านธุรกิจ คือ การเก็บข้อมูลผ่านระบบขนส่ง ผลิต คงคลัง การทำรายการของพนักงาน การเคลื่อนที่ของลูกค้าภายในร้าน ตำแหน่งสินค้า ล้วนเป็นข้อมูลที่ส่งกลับไปยังสำนักงานใหญ่ถูกประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ไอโอทีคืออินเทอร์เน็ตสำหรับทุกอย่าง (itinlife557) ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตคือการเชื่อมต่อผู้คนในโลกมากกว่าหนึ่งพันล้านให้สื่อสารกันได้ ผ่านอีเมล โซเชียลมีเดีย หรือแชท แต่การเชื่อมต่อไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น การพัฒนาไม่มีวันหยุดนิ่ง นักพัฒนาเริ่มมองหา และสร้างสิ่งที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตสำหรับทุกอย่าง หรืออินเทอร์เน็ตสำหรับสรรพสิ่ง (The Internet of Things) ให้เป็นจริงขึ้นมา คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์ให้สื่อสารกันได้ อาทิ สมาร์ทโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ เครื่องวัดอุณหภูมิ กล้องวงจรปิด เซ็นเซอร์อุณภูมิ เซ็นเซอร์แสง หรือเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในอนาคตมนุษย์จะคุ้นชินกับการควบคุมสิ่งรอบตัวที่อยู่ในระยะใกล้และไกล อยู่ที่บ้าน ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน หรือสำนักงาน และเรียกทุกอย่างที่เชื่อมต่อกันเป็นไอโอทีว่า ระบบอัจฉริยะ เพราะสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องรอรับการสั่งงาน
ตัวอย่างการควบคุมที่ใกล้เคียงกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน อาทิ การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านให้เหมาะกับการอยู่อาศัย การเปิดปิดไฟอัตโนมัติ การสั่งเครื่องต้มกาแฟให้ทำงานเมื่อเดินเข้าห้องทำงาน การใช้อุปกรณ์อัตโนมัติทำงานแทนคน ซึ่งมีผลทำให้ผู้บริหารพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์ทำงานแทนเพิ่มขึ้น และลดพนักงานลง ตัวอย่างกลุ่มงานที่นำไอโอทีมาใช้ให้เห็น อาทิ การใช้ด้านการทหาร การควบคุมคลังสินค้า ยานพาหนะ การขนส่งมวลชน ทางการแพทย์ การผลิตภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบควบคุมอาคาร
อุปกรณ์สำคัญที่สนับสนุนให้ไอโอทีนำมาใช้งานได้จริงในอนาคตอันใกล้ คือ อุปกรณ์ตรวจจับ (Sensors) ที่สามารถรับส่งข้อมูล ถูกฝังตัวเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้ารอบตัวเรา และสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และการพัฒนาให้ทำงานร่วมกับ RFID ที่มีอยู่รอบตัวได้ ปัจจุบันมีหลักสูตร Arduino Programming Basic Course มีวิทยากรคือ อาคม ไทยเจริญ อบรมสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ชื่อ Arduino ซึ่งเป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source สามารถต่ออุปกรณ์เสริมผ่าน I/O ของบอร์ด และโปรแกรมสั่งงานได้ง่าย พัฒนาผ่านโปรแกรม ArduinoIDE และภาษาที่ใช้ก็มีโครงสร้างเหมือนภาษา C ราคาบอร์ด Arduino UNO R3 เริ่มต้นที่ 300 บาท เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านช่อง USB และเขียนโปรแกรมสั่งให้อุปกรณ์ทำงานได้ทันที
allnewstep.com
analogread.com
thaieasyelec.com
youtube.com/watch?v=9znRbMTimvc (Beginning with Internet of Things IoT for Developers)
its.sut.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=72&Itemid=468
UNO R3 พร้อมสาย USB บอร์ดทดลอง Arduino
facebook.com/ArduinoThaiProject/
รูปแบบธุรกิจกับ IoT 1. การดูแลมลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
2. การตรวจหาไฟป่า (Forest Fire Detection)
3. การดูแลเด็ก (Offspring Care)
4. การดูแลนักกีฬา (Sportsmen Care)
5. การดูแลโครงสร้างสิ่งก่อสร้าง (Structural Health)
6. การตรวจหาสมาร์ทโฟน (Smartphones Detection)
7. การควบคุมเขตปริมณฑล(Perimeter Access Control)
8. การควบคุมระดับรังสี (Radiation Levels)
9. การควบคุมระดับแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Levels)
10. การความคุมการจราจรแออัด(Traffic Congestion)
11. การควบคุมถนน (Smart Roads)
12. การควบคุมโคมไฟ (Smart Lighting)
13. การช็อปปิ้งอย่างฉลาด (Intelligent Shopping)
14. การควบคุมเสียงในตัวเมือง (Noise Urban Maps)
15. การควบคุมการขนส่งทางเรือ (Quality of Shipment Conditions)
16. การควบคุมคุณภาพน้ำ (Water Quality)
17. การจัดการน้ำเสีย (Waste Management)
18. การควบคุมที่จอดรถ (Smart Parking)
19. การควบคุมสนามกอล์ฟ (Golf Courses)
20. การควบคุมการรั่วของน้ำ (Water leakages)
21. การวินิจฉัยพาหนะอัตโนมัติ (Vehicle Auto-diagosis)
22. การควบคุมตำแหน่งสินค้า (Item Location)

libelium.com/libeliumworld/top-50-iot-sensor-applications-ranking/
linkedin.com/pulse/business-models-internet-things-mohit-agrawal
IoT โดย Libelium.com in Spain : bcom500_one_day_2559.pptx [MIS]
หลักสูตรอบรม iot ARDUINO TUTOR - วิทยากร: อาคม ไทยเจริญ (อ.อาท)
facebook.com/IAETC
artchula.wix.com/iteng
ARDUI THAI - วิทยากร: ธนากร อินทสุทธิ์
Bank.tanakorn
! arduithai.com/product/165/arduino-learning-kit
ตัวอย่างโค้ด
// data type ทำให้มีรูปแบบข้อมูลแบบใหม่
union float_t { 
  float f;
  byte b[sizeof(float)];
};
// Naming a union ทำให้ใช้งาน data.i ได้
union {
  uint32_t i;
  float f;
} data;
// ทำงานเมื่อเริ่มต้น
void setup() {
  Serial.begin(115200);
  float_t cf = {500.0};
  // float to hex
  char myhex[9];
  sprintf(myhex, "0x%02x%02x%02x%02x", cf.b[3], cf.b[2], cf.b[1], cf.b[0]);
  Serial.println(myhex);
  // hex to float
  const char hex[] = "43FA0000";
  data.i = strtoul(hex, NULL, 16);
  Serial.println(data.f, 2);
}
// ทำงานซ้ำ
void loop() { }
Arduino.cc forum : Convert float into binary and hexadecimal value
PDF : การใช้งาน arduino เบื้องต้น โดย ผศ.ศิริพงษ์ ฉายสินธ์ (198 หน้า)
PDF : Arduino project handbook 25 projects (275 หน้า)
บทที่ 5 ม.3 วิทยาการคำนวณ หัวข้อ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ทที่ 5 ม.3 วิทยาการคำนวณ หัวข้อ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง พบกรณีศึกษา 5.2 ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ โดยแสดงรายการใช้อุปกรณ์ที่น่าสนใจ มีดังนี้
- แผงวงจร IPST-Wifi
- แผงวงจร iKB-1
- ระบบรดน้ำ
- เซนเซอร์วัดความชื้นของดิน
- แอปพลิเคชัน IoT MQTT panel
- โปรแกรม MQTTlens บน Chrome

ชนมภัทร โตระสะ. (2566). ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติโดยใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สำหรับสวนปำล์มน้ำมัน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 11(1), 1-11.

นราธิป ทองปาน และ ธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์. (2559). ระบบรดน้้าอัตโนมัติผ่านเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(1), 35-43.

Thaiall.com