thaiall logomy background อัตลักษณ์ และ เอกลักษณ์
my town
lampang_identity

อัตลักษณ์

อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด ส่วน เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา
อัตลักษณ์ลำปาง | ลำปางคัลเจอร์ |
อัตลักษณ์ ของ จังหวัดลำปาง
ร่ำเปิงลำปาง หมวกผ้า
อัตลักษณ์ หมายถึง การแสดงออกให้เห็นถึงภาพลักษณ์ (Image) ขององค์กรนั้น โดยจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ลวดลายกราฟิก สี หรือข้อความสำคัญ ที่จะแสดงถึงภาพลักษณ์ตัวองค์กรนั้นได้อย่างชัดเจน หรือหมายถึง การสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และยังสามารถเป็นที่จดจำได้ เพื่อที่จะสร้างความเป็นอัตลักษณ์ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดแก่องค์กรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร
อัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง คือ ผลรวมของลักษณะเฉพาะของจังหวัดลำปาง ซึ่งทำให้จังหวัดลำปางเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น คำขวัญประจำจังหวัด เมื่อกล่าวถึงคำขวัญก็จะรู้ทันทีว่าจังหวัดลำปางมีอัตลักษณ์ 5 เรื่อง ดังนี้ 1) มีถ่านหิน เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ 2) มีรถม้า ที่ยังให้บริการเพื่อการเดินทางเพียงจังหวัดเดียวในประเทศ 3) มีเครื่องปั้น ที่ถือเป็นแหล่งผลิตเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 4) มีพระธาตุ ในวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ 5) มีการฝึกช้าง ที่มีศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่จังหวัดลำปาง
ซึ่งการรู้และเข้าใจในอัตลักษณ์ของเรา จะช่วยให้การพัฒนาสิ่งนั้นในภาพรวม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้มีการยกระดับอัตลักษณ์ให้มีความชัดเจน โดดเด่น เป็นที่ยอมรับทั่วไป และพัฒนาให้เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการพัฒนาชุมชน สังคม และเศรษฐกิจเชิงบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
อัตลักษณ์ ที่มา บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”
อัตลักษณ์ที่ได้จากการศึกษาของนักวิชาการ การพัฒนาอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดลำปางโดยใช้ภาพการ์ตูน กฤษดา สิงห์ขรณ์ น้องแก้วส่งภาพ อ.ศักดิ์ มาให้คิดถึง สิ่งที่นึกถึงเมื่อมาเที่ยวลําปาง หรือการรับรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของจังหวัดลำปาง ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดลําปาง ที่เรียงจากมากไปน้อย มีดังนี้ 1) รถม้า 2) ลําปางหนาวมาก 3) ชามตราไก่/เซรามิค 4) กาดกองต้า 5) สโลว์ไลฟ์ 6) เหมืองแม่เมาะ 7) โรงพยาบาลช้าง/อองเซนเมืองไทย
(นุชนาฎ เชียงชัย, 2558)
สัญลักษณ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองลำปาง ที่เรียงตามการรับรู้มากไปน้อง ได้แก่ 1) รถม้าลำปาง มีร้อยละ 57.5 2) ไก่ขาวลำปาง มีร้อยละ 27.5 3) หอนาฬิกา มีร้อยละ 12.5 และ 4) สะพานรัษฎาภิเศก มีร้อยละ 2.5
(กฤษดา สิงห์ขรณ์, 2559)
การพัฒนาอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดลำปางโดยใช้ภาพการ์ตูน กฤษดา สิงห์ขรณ์
การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง นุชนาฎ เชียงชัย
อัตลักษณ์ลำปาง (lampangculture.com)
    หมวดหมู่ 1. อาชีพ
  1. สล่าตีดาบ ๓ : นายบุญตัน แก้วเสมอใจ
  2. สล่าตีดาบ ๒ : นายประพันธ์ แสนใหม่
  3. สานกุบละแอ : พ่อแสวง ศิริ
  4. ถักปอบหวาย : แม่พลอย ศิริ
  5. จักสานใบตาล : ยายแก้ว ตาสิงห์
  6. สานกุบ ๒ : พ่อคำมา สุคำวัง
  7. สานกุบ ๑ : พ่อมูล สมกูล
  8. สานกล่องข้าวป่าจ้ำ ๒ : พ่อเนียม ใจวงค์
  9. สานกล่องข้าวป่าจ้ำ ๑ : พ่อเท้ง วงค์ปาละมี
  10. สานกล่องข้าวบ้านไผ่ (กล่องข้าวเมืองมาย) : นางเพ็ญศรี ลาภเกิด
  11. สล่าทำฝัก-ด้ามดาบ : นายบุญช่วย มาปะละ
  12. สล่าตีดาบ ๑ : นายบุญตัน สิทธิไพศาล
  13. ช่างทำเกวียน : นายแก้ว รินพล
  14. หมวดหมู่ 2. วรรณกรรม
  15. ตำนานเมืองเถิน
  16. ตำนานวัดพระแก้วเวียงดิน
  17. อานิสงส์ผางประทีป
  18. วรรณกรรมใบลาน วัดสันฐาน
  19. วรรณกรรรมพับสา
  20. หมวดหมู่ 3. ผ้าและเครื่องแต่งกาย
  21. ผ้าห่มต๋าโก้ง
  22. ผ้าตั้งธรรมหลวง
  23. ตุงปันหาง
  24. ตุงบ้านวังใหม่
  25. ผ้าห่อคัมภีร์
  26. ผ้าทอกี่กระตุก อำเภอเกาะคา
  27. กลุ่มผ้าทอมือบ้านบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
  28. กลุ่มทอผ้าฝ้ายปั่นมือย้อมสีธรรมชาติ ศูนย์การเรียนรู้ “ตูบแก้วมา” อำเภอเสริมงาม
  29. กลุ่มผ้าทอน้ำมอญแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน
  30. กลุ่มทอผ้าบ้านน้ำหลง อำเภอสบปราบ
  31. หมวดหมู่ 4. ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ
  32. พิธีขอฝน-ฟังธรรมพญาปลาช่อน บ้านป่าเหว อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
  33. งานบุญตามรอยศรัทธา ไหว้สาอริยสงฆ์เจ้า หลวงพ่อเกษม เขมโก
  34. ประเพณีแก้มื้อนา วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
  35. งานบุญแห่สลุงหลวงนครลำปาง
  36. ผีโขนบ้านศรีหลวงแจ้ซ้อน
  37. หมวดหมู่ 5. พุทธศิลป์
  38. จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดท่าแหน
  39. จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดอุ่มลอง
  40. จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดช้างเผือก
  41. จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดน้ำล้อม
  42. จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดเกาะวารุการาม
  43. จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
  44. จิตรกรรม ป. สุวรรณสิงห์ วัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง
  45. หมวดหมู่ 6. กวีและขับขาน
  46. แม่บุญทอง เป็นวงค์
  47. พระยาพรหมโวหาร (พรหมมินท์) ... รัตนกวีของแผ่นดินล้านนา
  48. อ.ศักดิ์(สักเสริญ) รัตนชัย ปราชญ์ชาวลำปางผู้ให้กำเนิดเพลง "ร่ำเปิงลำปาง"
  49. คุณยายคำยวง ยำนวล/ผู้ขับขาน "เพลงสิกจุงจา" คนสุดท้ายของบ้านลำปางหลวง
  50. คุณยายตา ตะวัน แม่เพลง/สาวรำวง คณะรำวงเหล่าชัยนารี
  51. หมวดหมู่ 7. ภาษา
  52. ภาษาอิวเมี่ยน
  53. ภาษาม้ง
  54. ภาษาอาข่า
  55. ภาษาลีซู
  56. ภาษามูเซอ
  57. ภาษากะเหรี่ยง
  58. ภาษาลัวะ
  59. ภาษาขมุ
  60. ภาษาไทลื้อ
  61. คำเมือง
  62. หมวดหมู่ 8. สถาปัตยกรรม
  63. วิหารวัดคะตึกเชียงมั่น
  64. วิหารวัดเวียง
  65. วิหารวัดปงยางคก
  66. วิหารวัดไหล่หินหลวง
  67. วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง
  68. หมวดหมู่ 9. การแสดง
  69. ฟ้อนเผียไหมลำปาง (อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย)
  70. ร่ำเปิงลำปาง (อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย)
  71. ฟ้อนตำนานเวียงละกอนเขลางค์
  72. ฟ้อนเจิง พ่อครูคำปา อินไผ่
  73. หมวดหมู่ 10. งานศิลปะพื้นถิ่น
  74. กล่องข้าวเมืองมาย หัตถศิลป์ล้ำค่าจากอ้อมกอดของภูเขา
  75. กลุ่มช่างทำเครื่องเงินชุมชนบ้านพิชัย
  76. หมวดหมู่ 11. ดนตรี
  77. กลองปู่เจ่
  78. กลองมองเซิง
  79. กลองสิ้งหม้อง
  80. กลองปู่จา
  81. วงตกเส้ง
  82. หมวดหมู่ 12. เซรามิก
  83. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาโป่งอุ่นสบแจ้ว ตำบลวังแก้ว
  84. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาห้วยทราย ตำบลวังแก้ว
  85. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาบ้านทุ่งฮั้ว - วังมล ตำบลทุ่งฮั้ว
  86. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาบ้านทุ่งเป้า ตำบลวัง
  87. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาบ้านป่าเหียง ตำบลวังเหนือ
  88. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาบ้านไผ่แม่พริก ตำบลวังใต้
  89. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาแม่แฮด ตำบลเสริมซ้าย
  90. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาบ้านสันกลางบ่อแฮ้ว ตำบลบ่อแฮ้ว
  91. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาบ้านห้วยลึก ตำบลบ้านเอื้อม
  92. แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาเตาทุ่งเตาไห ตำบลต้นธงชัย
  93. หมวดหมู่ 13. อาหาร
  94. แกงฮังเล
  95. น้ำพริกอ่อง
  96. แกงแคไก่
  97. ยำมะถั่วมะเขือ
  98. ห่อนึ่งแคหมูบ้านลำปางหลวง : ห่อนึ่งปี้ ห่อนึ่งน้อง
มร.ลป. ร่วมลงนามความร่วมมือ 4 ฝ่ายเพื่อขับเคลื่อนผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ม.ราชภัฏลำปาง จัดโครงการสัมนาวิชาการ “อัตลักษณ์ลำปาง” 10 ก.พ.2566
โครงการสัมมนาวิชาการ “อัตลักษณ์ลำปาง” 10 ก.พ.2566
ระบบฐานข้อมูลวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ระบบสารสนเทศงานวิจัยและบริการวิชาการแบบรวมศูนย์
รายชื่อโครงการวิจัยที่น่าสนใจ เกี่ยวกับอัตลักษณ์ในระบบฐานข้อมูลวิจัยของ มรภ.ลำปาง
แผนงานวิจัย เรื่อง การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หัตถกรรมด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง. ศิริกร อิ่นคำ 2565
โครงการย่อยที่ ๑ การศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเงินสกุลช่างลำปาง สู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น. ธวัชชัย ทำทอง. 2565
การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ปีที่ 2. สัญชัย เกียรติทรงชัย. 2564
การสร้างอัตลักษณ์ใหม่จากทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปางยุคล้านนา. ธวัชชัย ทำทอง. 2564
การสร้างองค์ความรู้ทางอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. เหนือขวัญ บัวเผื่อน. 2562
การธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม : ศึกษากรณีชุมชนซึ่งเป็นภูมิลำเนาของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ สาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. เจือจันทร์ วงศ์พลกานันท์. 2560
อัตลักษณ์ (Identity) และ เอกลักษณ์ (Uniqueness) อัตลักษณ์ มาจาก อัต+ลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะ คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว. คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป
อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา ควรเน้นที่การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน
ขั้นตอนการกำหนดอัตลักษณ์ ควร วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของสถานศึกษา และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา แล้วกำหนดอัตลักษณ์ที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา ที่ผ่านการประชาพิจารณ์ร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา และประเมินอย่างเป็นระบบ
เหตุที่ต้องกำหนดอัตลักษณ์ เพราะ หากสถานศึกษาไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทางของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา ก็จะทำให้ความโดดเด่นของเยาวชนสูญหายไป
อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา
อัตลักษณ์ + เอกลักษณ์
การพัฒนาอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจังหวัดลำปางโดยใช้ภาพการ์ตูน. กฤษดา สิงห์ขรณ์. 2016.
Thaiall.com