thaiall logomy background เส้นทางสู่ ผอ. โรงเรียน (School Director)
my town
เส้นทางสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการ

เส้นทางสู่ ผอ. โรงเรียน

เส้นทางสู่ ผอ. โรงเรียน คือ แนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน หรือการพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอนสู่การเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ด้วย 4 เส้นทาง คือ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ตำแหน่งครู ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และ ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
เส้นทางสู่ ผอ. โรงเรียน | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | มีเหตุมีผล | การจัดการความรู้ | ห้องเรียนแห่งอนาคต | ฐานสมรรถนะ | ทักษะไอที | เกณฑ์วิทยฐานะ | Loy academy | wordwall | genially |
การเลื่อนจากครูเป็น ผอ. โรงเรียน ต้องทำอย่างไร
ส้นทางสู่ ผอ. โรงเรียน (School Director) คือ แนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน หรือการพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้สอนสู่การเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ด้วย 4 เส้นทาง คือ 1) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 2) ตำแหน่งครู 3) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ และ 4) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
คำถาม : การเลื่อนจากครูเป็น ผอ. โรงเรียน ต้องทำอย่างไร
คำตอบ : ด้วยการสอบ และต้องรอประกาศจาก กระทรวงศึกษาธิการ
เช่น ข่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดดำเนินการคัดเลือก ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองอำนวยการโรงเรียน ตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เห็นชอบ โดยจากการสำรวจข้อมูลอัตราว่างที่สามารถเปิดรับสมัครได้ในครั้งนี้รวม 3,927 อัตรา โดยประกาศรับสมัครในเดือนกันยายน 2565 จัดสอบในเดือนตุลาคม 2565
คำถาม : การเลื่อนจากครูเป็น รอง ผอ. โรงเรียน ต้องทำอย่างไร
คำตอบ : ด้วยการสอบ และต้องรอประกาศจาก กระทรวงศึกษาธิการ เช่นกัน
คำถาม : คุณสมบัติผู้สมัครสอบ มีอะไรบ้าง
คำตอบ : มีคุณสมบัติตาม มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
คุณสมบัติของผู้สมัคร เป็น ผู้บริหารสถานศึกษา ายละเอียดตามหนังสือ เลขที่ ศธ. 0206.4/ว3 เรื่อง มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 26 มกราคม 2564 เพื่อใช้ในการกำหนดเกณฑ์ในการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา
1. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
2. ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
1) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารองผู้อำนวยการชำนาญการ
2) ตำแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
4) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
1. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
2. ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
1) ตำแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ
2) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
3) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม มาตรา 38 ค. (2) ที่มีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
4) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
ต้องมี : ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ใน 4 กรณี
บอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา เรียกสั้น ๆ ว่า ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา หรือ ใบอนุญาตผู้บริหารสถานศึกษา คุณครูสามารถ ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาได้ใน 4 กรณี
กรณีที่ 1 : มีคุณวุฒิปริญญาทางการบริหารการศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรอง
กรณีที่ 2 : มีคุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรอง
กรณีที่ 3 : มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และผ่านการรับรองความรู้ครบ 10 มาตรฐาน
กรณีที่ 4 : มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่คุรุสภาให้การรับรองคุณวุฒิเพื่อประกอบวิชาชีพ
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณา
1. แบบคำขอ คส.01.20
2. หลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน หรือ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3. หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา ได้แก่ ปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองคุณวุฒิที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) และ รายชื่อผู้สำเร็จการศึกษาในระบบ KSP Bundit (ถ้ามี)
4. มติการรับรองคุณวุฒิจากคณะกรรมการคุรุสภา
5. หลักฐานแสดงประสบการณ์วิชาชีพ
5.1 มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ได้แก่ สำเนา ก.พ.7 หรือ สำเนา ก.ค.ศ.16 (ถ่ายสำเนาให้ครบทั้ง 5 หน้า) หรือ สำเนาทะเบียนประวัติพนักงานเทศบาล หรือ สำเนาสมุดประจำตัวครู หรือ สำเนาสัญญาจ้าง กรณีมีการลาออกก่อนสิ้นสุดการจ้างต้องแนบหนังสือลาออกด้วย
5.2 มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือหัวหน้าสาย หรือหัวหน้างาน หรือดำแหน่งบริหารอื่นๆ ในสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ให้แนบเอกสารตามข้อ 5.1 และ สำเนาคำสั่งแต่งตั้งของสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษา นับระยะเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 24 เดือน และคำสั่งต้องไม่อยู่ในรูปแบบคณะกรรมการ คณะทำงาน หรือประธานกรรมการ และผ่านการรับรองโดยผู้บริหารสถานศึกษา
6. รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว แต่งกายสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ จำนวน 1 รูป (ติดที่แบบคำขอฯ)
7. ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม 500 บาท
การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
ต้อง : ตรวจสอบข้อมูลการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ปี 2563pdf icon
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ปี 2562pdf icon
หลักสูตรปริญญาทางการศึกษา (หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี)pdf icon
หลักสูตรปริญญาทางการศึกษา (หลักสูตร 5 ปี)pdf icon
หลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู)pdf icon
หลักสูตรปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพบริหาร)pdf icon
หลักสูตรปริญญาเอกทางการศึกษา (วิชาชีพครู)pdf icon
หลักสูตรปริญญาเอกทางการศึกษา (วิชาชีพบริหาร)pdf icon
ข้อมูลรายชื่อสถาบันที่ผ่านการรับรองหลักสูตรปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาจากคุรุสภา
แรงบันดาลใจ : ผู้อำนวยการโรงเรียนอายุน้อยที่สุด รื่องเล่าของ ครูทราย นางสาวนิดตา อุดมสารี อายุ 30 ปี เส้นทางสู่ ผู้อำนวยการโรงเรียนอายุน้อยที่สุด หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ได้เข้ารับราชการครูในปี พ.ศ.2556 และเล่าถึงประสบการณ์การทำงาน 8 ปี จนถึงวันที่ได้รับการบรรจุตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ปี พ.ศ. 2556 อายุ 23 ได้บรรจุข้าราชการครูวิชาเอกภาษาไทยในโรงเรียนที่ห่างไกล ปี พ.ศ. 2557 สอบย้ายกลับมาอยู่จังหวัดบ้านเกิด ปี พ.ศ. 2558 เรียนจบปริญญาโท ในทุก ๆ ปี สร้าง ปั้น สั่งสม ประสบการณ์ในระดับชาติทั้งของตัวเองและนักเรียน เพื่อรอสร้างฝันอีกก้าว ปี พ.ศ. 2563 เดือนตุลาคม บรรจุรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2564 เดือนมกราคม บรรจุผู้อำนวยการสถานศึกษา (และเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาอายุน้อยที่สุด)
ภาษาไทย "แงะ" #8ปีกับความภูมิใจในวิชาชีพครูของครูแงะ
ข่าว ครูทราย ผอ.อายุน้อย เผยแรงบันดาลใจ 8 ปีได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
องค์ประกอบในการคัดเลือก ตามหนังสือ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้กำหนดองค์ประกอบในการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งเป็น 3 ภาค ดังต่อไปนี้
ภาค ก ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
- สอบข้อเขียน
ภาค ข ประวัติ ประสบการณ์ และผลงาน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
1) ประวัติและประสบการณ์ (60 คะแนน)
2) ผลงาน (40 คะแนน)
ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
1) วิสัยทัศน์และแนวคิดในการบริหารจัดการสถานศึกษา (50 คะแนน)
2) การสัมภาษณ์ (50 คะแนน)
เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อ่านเพิ่มเติม
เกณฑ์ วิทยฐานะครู หรือ วPA
ระเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู - วPA มาจาก Performance Agreement และ Performance Appraisal มี 3 คำสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) Performance แปลว่า สมรรถนะ สมรรถภาพ การกระทำ พฤติกรรม ประสิทธิภาพ 2) Agreement แปลว่า การเห็นด้วย การเห็นชอบร่วมกัน การยอมรับร่วมกัน ข้อตกลง ความตกลง 3) Appraisal แปลว่า การประเมิน การตีค่า การประเมินค่า การหาค่า
ข้อตกลงในการพัฒนางาน หรือ PA ตามหลักเกณฑ์ใหม่ ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่และมาตรฐานวิทยฐานะ
ประกอบด้วย
(1) ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด
(2) งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตําแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประกอบด้วย
(1) ประเด็นที่ท้าทายเรื่อง ..
(2) สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
(3) วิธีการดำเนินการให้บรรลุ
(4) ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
ผลการประเมินใช้ประโยชน์ เพื่อ
(1) เลื่อนเงินเดือน
(2) คงวิทยฐานะ
(3) เลื่อนวิทยฐานะ
เกณฑ์ PA ทั้ง 4 สายงาน
ดาวน์โหลด แบบข้อตกลงและคู่มือฉบับเต็ม - วPA (ครูมาแล้ว)
ความหมาย วิทยฐานะ / วpa คือ อะไร (การศึกษาไทย.com)
แฟนเพจ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
แฟนเพจ Starfish Labz รวมหลักสูตรพัฒนาตนเอง
ตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู
คู่มือ วPA 2564
ครูผู้ช่วย
ครู
ครูชำนาญการ
ครูชำนาญการพิเศษ
ครูเชี่ยวชาญ
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
อ่านเพิ่มเติม คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู
มาตรฐานตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา หน้าที่และความรับผิดชอบ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศึกษาสถานศึกษา บังคับบัญชาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา บริหารกิจการของสถานศึกษา วางแผนการปฏิบัติการ ควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป ความสัมพันธ์กับชุมชนและงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
1. บังคับบัญชาครูและบุคลากรในสถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่ บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
2. วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและจัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา
3. จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล
4. ส่งเสริมและจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
5. จัดทำระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา
6. บริหารงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน
7. วางแผนการบริหารงานบุคล การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัย และการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
8. จัดทำมาตรฐานและภาระงานของครูและบุคลากรในการศึกษา ประเมินผลในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษา
9. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10. ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและให้บริการด้านวิชาการ ชุมชน
11. จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
12. จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
13. เป็นผู้แทนของสถานศึกษาในกิจการทั่วไป
14. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
มาตรฐานตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา หน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา รวบรวมโดย ดร. เอกพรต สมุทธานนท์
บทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีด้วยกันหลายมิติ รวบรวมได้ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ
2. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
3. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 (ม.39)
4. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎ ศธ. แบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา 2546
5. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม พรบ.รบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
6. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัด สพท.พ.ศ.2546
7. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548
- กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนฯ พ.ศ.2548
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษา พ.ศ.2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการยกเลิกเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ.2534 พ.ศ.2547
- รบ.ศธ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมฯ(ฉ.2) พ.ศ.2547
คลิปนำเสนอผลสายงานบริหารโรงเรียนสะท้อนความสามารถของ ผอ. คุณชิงชัย เหมจินดา นายกสมาคมผู้ปกครองและครูฯ แชร์คลิป ของ #โรงเรียนลำปางกัลยาณี ทำให้ได้เห็นผลงานมากมายในปีที่ผ่านมา สำหรับคุณครูที่สนใจเป็น ผอ. หรือ รอง ผอ. น่าจะฟังบ่อย ๆ ฟังนาน ๆ เพื่อเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ พัฒนาโรงเรียนของตน ครู นักเรียน ให้ได้มีผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับ ทั้งในท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ โดยมีตัวแบบความสำเร็จให้เอาเยี่ยงอย่าง ของ LKS เป็นหมุดหมายหรือหลักกิโล แล้วพัฒนาต่อ เพื่อสร้างนวัตกรรมของตน
แบ่งเป็น 5 ด้าน
1. ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ
2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม
4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย
5. ด้านการพัฒนาครูและวิชาชีพ
ยอดรับนักเรียนของโรงเรียนเอกชนสะท้อนการบริหารงานได้ดี ภาพจาก drawever.com สิ่งที่ท้าทายของผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน คือ ยอดรับนักเรียนในแต่ละปีต้องไม่น้อยไปกว่าเดิม เพราะนั่นหมายถึงความอยู่รอดของโรงเรียน ครู เจ้าหน้าที่ และเจ้าของโรงเรียน พบข่าวเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2 5 6 7 ว่า นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) ให้ข้อมูลว่า โรงเรียนเอกชนที่อยู่ในความดูแลของ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีข้อมูลโรงเรียนเอกชนมากกว่า 3000 แห่ง และเปิดชื่อ 10 อันดับโรงเรียนที่มีนักเรียนเข้าเรียนมากที่สุด ทำให้โรงเรียนในรายชื่อชุดนี้ เป็นที่สนใจของนักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และผู้คนในสังคม เพราะการได้เข้าไปเรียนหมายถึง การมีเพื่อนร่วมเรียนจำนวนมาก ที่สะท้อนถึงการดูแลนักเรียนเป็นอย่างดีของผู้อำนวยการ คุณครู เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ เจ้าของโรงเรียน ย่อมเป็นที่ชื่นชมในแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และแนวปฏิบัติที่ดี ที่สังคมให้ความสนใจ
10 อันดับโรงเรียนที่มีนักเรียนเข้าเรียนมากที่สุด ประกอบด้วย
1) โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
2) โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดปราจีนบุรี
3) โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา
4) โรงเรียนมารีย์วิทยา จังหวัดนครราชสีมา
5) โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
6) โรงเรียนธิดาแม่พระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
7) โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
8) โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร
9) โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
10) โรงเรียนสำเร็จวิทยา จังหวัดสระแก้ว
น 10 อันดับแรกนี้ พบว่า จังหวัดเชียงใหม่ และ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 2 จังหวัดนี้ มีโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากที่สุดในรายการนี้ถึงจังหวัดละ 2 โรงเรียน แสดงว่า โรงเรียนเอกชน ยังเป็นที่นิยมอย่างมากใน 2 จังหวัดนี้ จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารโรงเรียนที่ต้องรักษาคุณภาพ มาตรฐาน และจำนวนรับนักเรียนไม่ให้ลดน้อยไปกว่าเดิม
เปิด 10 อันดับ โรงเรียนเอกชน ที่มีนักเรียนมากที่สุดในประเทศไทย
ชาวเน็ตถก ต้องส่งไปโรงเรียนระดับไหน ถึงจะไม่กลายเป็นคอนเทนต์ครู บว่า โรงเรียนมีหลายระดับ มีกฎกติกา ระเบียบ แนวปฏิบัติ วิธีการสอน ชื่อเสียง ผลงาน คุณภาพทั้งของโรงเรียน นักเรียน คุณครู ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และผู้บริหารแตกต่างกันไป และพบว่าในเว็บไซต์ Nisit Tutor ได้เขียน blog เรื่อง 6 ประเภท โรงเรียนประถม ที่พ่อแม่ต้องรู้ก่อนสมัครเรียน ซึ่งประกอบด้วย
1. โรงเรียนรัฐบาล
2. โรงเรียนคาทอลิก
3. โรงเรียนสาธิต
4. โรงเรียนทางเลือก
5. โรงเรียนสองภาษา
6. โรงเรียนนานาชาติ
การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ของผู้บริหารสถานศึกษา ารปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในโลกออนไลน์ มีหลักการ ดังนี้ 1) หลักการวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล (Personal Visionary Principles) 2) หลักการในการเป็นผู้นําตนเอง (Self-Leadership Principles) 3) หลักการบริหารส่วนบุคคล (Individual Management Principles) 4) หลักการเป็นผู้นํา (Leadership Principles) 5) หลักการผู้นําระหว่างบุคคล (Interpersonal Leadership Principles) 6) หลักการร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ (Collaboration Creativity) 7) หลักการเติมพลังชีวิตให้สมดุล (Work-Life Balance Principles)
ต้นแบบที่ดีของผู้บริหารสถานศึกษาตามจรรยาบรรณวิชาชีพจากข้อบังคับคุรุสภา ได้มีการระบุแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาพ.ศ. 2550 ไว้ 5 ด้าน ดังนี้ 1) จรรยาบรรณต่อตนเอง 2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 5) จรรยาบรรณต่อสังคม ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความวิชาการที่อยู่ในวารสารกลุ่ม ThaiJO

รัตนาภรณ์ พรประศาสน์สุข, ศศิพร คุ้มวงศ์ดี, ธีรังกูร วรบํารุงกุล, และ เริงวิชญ์ นิลโคตร. (2566). จรรยาบรรณวิชาชีพกับการเปลี่ยนแปลงในโลก. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 19(1), 53-67.

Thaiall.com