รณรงค์ลดดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2565-06-06 (ความจำที่กำลังทำงานอยู่)
ความหมายของกฎหมาย
Stop drink
ผู้เรียบเรียง รติกร เจือกโว้น
ใน
http://wiki.kpi.ac.th
ตัวอย่างการทำผิดกฎหมาย
เรียนแบบ เสก ยิงปืนขึ้นฟ้า
สรยุทธ คดีบ.ไร่ส้ม ยืนโทษ-13 ปี
หนอ อ้างเป็นตำรวจ จับผู้ร้าย
ก
ฎหมาย (Law) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
หมายถึง
กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
การนิยามความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามแนวความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งความต้องการของประชาชนในสังคมนั้น ๆ ทั้งนี้ จากความหมายของกฎหมายข้างต้น สามารถ
จำแนกลักษณะของกฎหมายได้ 4 ประการ
คือ
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
หมายความว่า กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดและใช้กำหนดความประพฤติของสมาชิกของสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือทำไม่ได้
2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล
ความประพฤติในที่นี้ ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายภายใต้การควบคุมของจิตใจ ซึ่งความประพฤติของมนุษย์ที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายนั้น ต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และต้องกระทำภายใต้การควบคุมของจิตใจ
3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ กฎหมายจะมีสภาพบังคับเพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้น โดยสภาพบังคับของกฎหมายมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลร้ายและสภาพบังคับที่เป็นผลดี
4. กฎหมายต้องมีกระบวนการที่แน่นอน
เนื่องจากปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายต้องกระทำโดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ เป็นต้น การบังคับใช้กฎหมายจึงต้องมีกระบวนการที่แน่นอน
ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมายหรือบ่อเกิดของกฎหมาย
หมายถึง รูปแบบการแสดงออกซึ่งกฎหมาย สำหรับกฎหมายไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (civil law) กฎหมายมีที่มา 3 ประการ คือ
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ได้แก่ กฎหมายที่รัฐได้ตราขึ้นไว้เป็นข้อบังคับกำหนดความประพฤติของบุคคล และประกาศให้ราษฎรทราบ สำหรับประเทศไทย โดยปกติกฎหมายได้ประกาศให้ราษฎรทราบในราชกิจจานุเบกษา
2. จารีตประเพณี
หมายถึง ทางปฏิบัติหน้าที่ประพฤติสืบต่อกันมาในสังคมหนึ่ง จนกลุ่มคนในสังคมนั้นมีความรู้สึกร่วมกันว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เพราะมีผลผูกพันในฐานะเป็นกฎหมาย จารีตประเพณีสามารถใช้ในฐานะบทสำรอง ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติไว้ก็นำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้ ในระบบกฎหมายไทยจารีตประเพณีมีทั้งที่บัญญัติไว้และมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร
3. หลักกฎหมายทั่วไป
หมายถึง หลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หลักกฎหมายทั่วไปจึงมีลักษณะกว้างกว่าหลักกฎหมายธรรมดา กว้างกว่าบทบัญญัติกฎหมาย เมื่อหลักกฎหมายทั่วไปเป็นหลักที่กว้างมาก ผู้ที่มีหน้าที่ในการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปก็คือผู้พิพากษาในฐานะศาลซึ่งจะค้นหาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้บังคับในระบบกฎหมาย
ดารา 24 คน โฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ต
ามข่าว เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2558 ว่าดาราหนุ่มสาว 24 คน โพสต์ภาพโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน Instagram แล้วตำรวจเรียกเข้าสอบถาม เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อาทิ
แทค ภรัณยู, โดม ปกรณ์ ลัม, ดีเจ.เพชรจ้า, ดีเจ.ภูมิ, นิวเคลียร์ หรรษา, วุ้นเส้น วิริฒิพา
เป็นต้น ตาม
พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551
มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นโดยตรงหรือโดยอ้อม ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ก็ยังมีประเด็นจริยธรรมทางเทคโนโลยีของบุคคล ข้อ 9 ที่นำเสนอโดย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ คือ ต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน ซึ่งดาราทุกคนก็ควรพิจารณาปฏิบัติตาม
khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1444528863
บทเรียนเรื่องแอลกอฮอล์จากหนังสือของคุณวิกรม กรมดิษฐ์
อ่
านหนังสือ "
กินอยู่ง่าย สไตล์วิกรม
" ของ
คุณวิกรม กรมดิษฐ์
จำหน่ายที่ 7-eleven เล่มละ 20 บาท เมื่อปีใหม่ 2559 มีหลายบทเตือนสติเรื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างน่าสนใจ
เช่น บทที่ 1 หน้า 16
"
ดื่มแอลกอฮอล์แบบไม่บันยะบันยังเช่นนี้ สงสัยชีวิตผมคงไม่ได้แก่ตายแน่ ๆ และผมคงต้องเสียเงินไปหาหมอ แถมยังต้องทนทุกข์ทรมานร่างกาย ที่ต้องป่วยเป็นโรคหัวใจ เพราะแอลกอฮอล์เข้าเส้นเลือด จากปัญหาที่มีอยู่แล้ว
"
หรือ บทที่ 7 หน้า 77
"
สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับอาหารมื้อเย็นของคุณคาวาฮารา คือเบียร์ 1 ขวดใหญ่
" "
เขาเกิดอาการเส้นเลือดที่ตาแตกอันเป็นผลมาจากโรคเบาหวาน คุณหมอสั่งให้งดดื่มเบียร์ตั้งแต่นั้น
" ซึ่งมองได้ว่าเป็นเหตุ เป็นผล และเป็นผลให้ต้องเลิกดื่มเบียร์
หรือ บทที่ 8 หน้า 84
หน้านี้ ไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์
แต่ผมชอบวิถีความเรียบง่าย
"กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน" "กินน้อยตายยาก กินมากตายง่าย"
ดังนั้นเพื่อน ๆ จะไม่เห็นผมทานอาหารเที่ยงที่โรงแรมเวลามีประชุม เพราะเคยเห็นพระท่านฉันท์มื้อเดียว ก็ทำให้คิดว่ามื้อเที่ยงไม่จำเป็น
คลิ๊ปบทเรียน 3 พื้นที่ของ อสม. ในลำปางกับกิจกรรมลดเหล้า-บุหรี่
โครงการรวมพลังอสม. ค้นหาสื่อที่เหมาะสม เพื่อสกัดนักสูบหน้าใหม่ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน
โครงการ สานพลัง อสม. เพื่อลดพฤติกรรมเหล้า-บุหรี่ของคนในชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
โครงการสร้างเสริม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ลด ละ เลิก สุรา-บุหรี่ หลังจากการทำการเกษตร ของชุมชน
กฎหมายที่เกี่ยวกับ สุรา และ บุหรี่
กรมควบคุมโรค
***
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
Alcoholic Beverage Control Act B.E. 2551 (A.D. 2008)
กฎกระทรวง
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแสดงภาพสัญลักษณ์เพื่อประกอบการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2553
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2551
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2555
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2555
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2555
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขาย หรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2556
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานีขนส่ง พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะ พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวิธีการหรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ พ.ศ. 2561
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเลือกและแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเป็นกรรมการในคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ NEW
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการคัดเลือกกรรมการในคณะกรรมการ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง รูปแบบของข้อความคำเตือนประกอบภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2557
ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558
ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
ระเบียบคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง การมอบหมายให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง การมอบหมายให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2)
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 1/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านวิชาการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 2/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 3/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการรณรงค์และการสร้างภาคี
คำสั่งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ 4/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรืออนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำสั่งคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
คำสั่งคณะกรรมการนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่ 5/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
ระเบียบกรมควบคุมโรค
ระเบียบกรมควบคุมโรค ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555
ระเบียบกรมควบคุมโรค ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ประกาศกรมควบคุมโรค
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง เรื่อง หลักเกณฑ์การแบ่งเงินรางวัลหรือวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงิน และแบบการขอรับเงินสินบนรางวัลตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2555
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามระเบียบกรมควบคุมโรคว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
คำสั่งกรมควบคุมโรค
คำสั่งกรมควบคุมโรค ที่ 1071/2555 เรื่อง การมอบหมายในการหักค่าปรับและการอนุมัติสั่งจ่ายเงินสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
29 ก.ย.58
เวทีเตรียมความพร้อม 7 ประเด็น
10 ต.ค.58
พระพูดเรื่องเหล้าบุหรี่กับชุมชน
18 ต.ค.58
พระอธิการไตรณรงค์ ชี้แจง 7 ประเด็น
24 ต.ค.58
ทีมอสม. ฝึกทำกิจกรรมในชุมชน
18 ต.ค.58
กิจกรรมละลายพฤติกรรม ของวิทยากรกระบวนการหน้าใหม่ อสม. บ้านไร่ศิลาทอง
ประชาพิจารณ์ เหล้า-บุหรี่ ครั้งที่ 1 โซนบ้านต้า
10 ต.ค.58
อสม. ผู้นำ และทีมงานวิจัย ที่บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ร่วมกันจัดเวทีระดับโซนครั้งที่ 1 คือ โซนบ้านต้า ณ วัดบ้านไร่ (ศิลาทอง)
ประชาพิจารณ์ เหล้า-บุหรี่ ครั้งที่ 2 โซนบ้านหัวโต้ง
18 ต.ค.58
อสม. ผู้นำ และทีมงานวิจัย ที่บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ร่วมกันจัดเวทีระดับโซนครั้งที่ 2 คือ โซนบ้านหัวโต้ง ณ วัดบ้านไร่ (ศิลาทอง) จากทั้งหมด 4 โซน ให้ครบทั้งหมู่บ้าน และนำเสนอประเด็นให้กลุ่มย่อย ที่จะแบ่งในแต่ละโซน ๆ ละ 4 กลุ่ม มีกิจกรรมที่ขับเคลื่อนโดย อสม.ในแต่ละโซน ในครั้งแรกวางแผนจัดเวทีใต้ต้นไม้ แต่ฝนตก จึงย้ายเข้าในศาลา
มีแผนกิจกรรม ดังนี้
9.00-9.10 กล่าวเปิดกิจกรรม
- นายจรูญ วรรณรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิด และเล่าประสบการณ์ในการนำเลิกเหล้า
9.10-9.20 ชี้แจงภาพรวม ที่มาที่ไป
- นางวันดี เครือสุวรรณ หัวหน้าโซนกล่าวชี้แจง และนำทำกิจกรรม
9.20-9.40 เล่าบทเรียนเลิกเหล้าบุหรี่
- พ่อหนานศรีรัตน์ สายศร บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
- พันตรีศักดิ์ สว่างศรีคำนวณ บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
- พ่อทองอินทร์ ยะม่อนแก้ว บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
- พ่อแสน คำฟู บุคคลต้นแบบเรื่อง เหล้า-บุหรี่
9.40-10.00 ชี้แจงประเด็นที่ได้มา
- พระอธิการไตรณรงค์ ฐิตธมฺโม ชี้แจง 7 ประเด็นที่เสนอให้กับชุมชน
10.00-10.10 ชี้แจงการทำกิจกรรมกลุ่ม
- นางวันดี เครือสุวรรณ และทีม อสม. อธิบายเตรียมแยกกลุ่ม
10.10-11.10 ทำกิจกรรมในกลุ่มย่อย
แบ่ง 4 กลุ่ม ทำประชาพิจารณ์รายประเด็นทั้ง 7 ประเด็น
1. ไม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ในวัด
2. ไม่ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ในงานศพ
3. ไม่ดื่มสุราหรือบุหรี่ในงานประเพณี เช่น งานบวช งานกฐิน
4. ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น ตลาด ที่ประชุมของหมู่บ้าน
5. ไม่จำหน่ายสุราหรือบุหรี่ให้กับเด็กและเยาวชน
6. ไม่จำหน่ายสุราในวันพระ
7. ไม่ดื่มสุราในวันสำคัญทางศาสนา
11.10-11.40 ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ
- คุณทองอินทร์ มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 1
ประธานนำเสนอ คุยสนุก เป็นกันเอง ยิงมุขครับ “เห็นด้วย จะใดบ่อฮู้” และอยากให้โอกาสคนที่เครียดได้ระบาย
- คุณศิริลักษณ์ เตชะสืบ มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 2
ยกตัวอย่างโฆษณา แล้วคุณมาทำร้ายฉันทำไม
youtube.com/watch?v=ss2N9V2ApZA
- คุณนวลจันทร์ สุริยวงค์ มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 3
ย้ำเรื่องการแสดงความเห็นกับเพื่อน ๆ ว่า ใครไม่เห็นด้วยก็บอก ถ้าไม่เห็นด้วยแล้วเงียบ พอเป็นมติแล้ว จะมาทักท้วงทีหลังก็ไม่ได้นะ
- คุณศิริลักษณ์ ผัดบุตร มานำเสนอผลการลงความคิดเห็นของกลุ่ม 4
เห็นว่า งานบวช แต่งงาน กฐินก็ยังนิยมกันอยู่นะ
11.40-12.00 สรุปภาพรวม
- พระอธิการไตรณรงค์ ฐิตธมฺโม สรุปประเด็นในภาพรวม
- นางศรีรัตน์ เขียวงาม สรุปกิจกรรมของ อสม.
- นายจรูญ วรรณรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านปิดการประชุม
https://www.facebook.com
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/1689/
ประชาพิจารณ์ เหล้า-บุหรี่ ครั้งที่ 3 โซนบ้านกลาง
24 ต.ค.58
อสม. ผู้นำ และทีมงานวิจัย ที่บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ร่วมกันจัดเวทีระดับโซนครั้งที่ 3 คือ โซนบ้านกลาง ณ วัดบ้านไร่ (ศิลาทอง)
ประชาพิจารณ์ เหล้า-บุหรี่ ครั้งที่ 4 โซนบ้านหล่ายห้วย
31 ต.ค.58
อสม. ผู้นำ และทีมงานวิจัย ที่บ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ร่วมกันจัดเวทีระดับโซนครั้งที่ 4 คือ โซนบ้านหล่ายห้วย ณ บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจารี
พระอาจารย์พูด 7 ประเด็น
อสม.ชวนชุมชนคลายเครียด
เตรียมความพร้อม 4 กิจกรรมหลัง
7 พ.ย.58
เมื่อ 3 วันก่อนเอาไวนิล 80 * 180 ไปให้พี่ยา เตรียมใช้ในงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปางวันเสาร์ที่ 14 พ.ย.58 ซึ่งทั้ง 3 พื้นที่จะนำเสนองานในวันนั้น คือ บ้านสา แจ้ห่ม บ้านกิ่ง แจ้ห่ม และบ้านไร่ศิลาทอง พิชัย และพูดคุยเรื่องการสำรวจชุมชนอีกครั้ง เพื่อยืนยันผล โดยนัดหมายคืนวันพฤหัสบดีที่ 12 พ.ย.58 เวลา 20.00น. โดยมีการชี้แจงเรื่องการสำรวจ และการเตรียมความพร้อมกับกิจกรรมต่อ ๆ ไป มีพระอาจารย์เป็นประธานนำอสม. ให้ทำงานกับเยาวชน เมื่อเก็บแบบได้แล้วก็มาสรุปงานกันบ้านพี่ยา วันอังคารที่ 17 พ.ย.58
11 พ.ย.58
ไปวัดช่วงเย็น ๆ เพราะพระอาจารย์ติดกิจแลกเปลี่ยนเรื่อง "หมู่บ้านรักษาศีล ๕" นอกหมู่บ้าน และพบว่ากำลังมีงานกฐินใหญ่วันพรุ่งนี้ ไปครั้งนี้ไปเตรียมความพร้อมกับ 4 กิจกรรม คือ ประชาสัมพันธ์ สำรวจ สรุปในทีม และสรุปในหมู่บ้าน ประเด็นพูดคุยสรุปได้ดังนี้
1. วันที่ 12 พ.ย.58 พระอาจารย์เตรียมทบทวน และเตรียมความพร้อมให้กับ อสม. ว่าประเด็นใดที่ต้องระมัดระวังในการเก็บข้อมูลผู้ดื่มสุรา และสูบบุหรี่
2. ทำแผ่นพับ 200 แผ่นแจกในงานวันที่ 14 พ.ย.58 แต่นำไปให้พี่ยาที่ ม.ราชภัฏลำปาง วันที่ 13 พ.ย.58 ช่วงเย็น พร้อมไวนิล และขาตั้ง โดยขาตั้งไวนิลได้รับจากพระอาจารย์ไตรณรงค์
3. เตรียมการประชาสัมพันธ์ด้วยไวนิลในหมู่บ้านมี 3 แบบ คือ ครอบครัวต้นแบบ "ครอบครัวนี้ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่" (32 แผ่น ขนาด 100 * 80 ภาพแบ่ง 4 โซน) ร้านค้าในชุมชน เลือกใช้ข้อ 5 และ 6 จากทั้ง 7 ประเด็น (พระอาจารย์ขอสำรวจก่อน ขนาด 100 * 80) และสี่แยก (8 แผ่น ขนาด 100 * 80) จะให้ อสม.ทั้ง 32 คัดเลือกครอบครัว และสอบถามความพร้อมที่จะรับป้าย แล้วมารับในการประชุมใหญ่เดือนธันวาคม ส่วนป้ายร้านค้า พระอาจารย์ให้มารับในวันเด็กที่จะจัดเป็นกิจกรรมใหญ่ ซึ่งจะมีการถ่ายรูปร้านค้าสำหรับไวนิลแต่ละแผ่น เป็นกิจกรรมที่จะเกิดหากสรุปเรื่องร้านค้าได้แล้ว
4. ประชุมใหญ่จะมีการมอบไวนิลให้ครอบครัวต้นแบบ และมีผลการสำรวจเปรียบเทียบ 2 ครั้ง และเป็นการนำโดย อสม.ทั้งกระบวนการ
คนทำงานจิตอาสา เจอปัญหา สสส. ไม่ปล่อยเงินก็เครียด
มี
ข่าวเศร้าเรื่องจิตอาสา ทำงานช่วยเหลือชุมชน ท่านใดเป็นจิตอาสา อ่านข่าวนี้หน่อยนะครับ เพราะจิตอาสาก็ต้องออกเงินไปก่อน เพื่อให้งานเดินได้ตามเวลา จะรอเงิน สสส. มาก่อน แล้วงานค่อยเดิน ปล่อยเงินนำ เหมือนรับจ้างคงไม่ได้
แต่บางกรณีคนที่อนุมัติเงินก็เปลี่ยนแผน ไม่ปล่อยเงิน ปัญหาต่าง ๆ จึงลงไปท่วมผู้ที่ทำงานในชุมชน เป็นกำลังใจให้จิตอาสาทุกคนครับ
dailynews.co.th/regional/380181
นักดื่มหน้าใหม่
15 ก.ย.2557
ชอบคำว่า "
รับผิดชอบสังคม
"
พบนักดื่มหน้าใหม่อื้อ สธ. ต้านขายเหล้าเด็กต่ำกว่า 20 ปี
พบว่า
พรบ.สถานบริการ พ.ศ.2509
มาตรา 16/1 ห้ามผู้ได้รับอนุญาตตั้งสถานบริการยินยอมให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เข้าไปในสถานบริการในระหว่างทำการ
อายุต่ำกว่า 18 เป็นเยาวชน และต่ำกว่า 20 ปี เข้าสถานประกอบการไม่ได้
อายุ
ใช้กำหนด
ความสมบูรณ์ทางความคิด่ (ร่างกาย) สัมพันธ์กับ ความรับผิดชอบต่อการกระทำ
ดังนั้นในประเทศไทย อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เข้าสถานบริการไม่ได้ ตามที่กฎหมายกำหนดใน
พรบ.สถานบริการ พ.ศ.2509
มาตรา 16/1
ห้ามผู้ได้รับอนุญาตตั้งสถานบริการยินยอมให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เข้าไปในสถานบริการในระหว่างทำการ
แล้วพบว่า นิยามสถานะตามอายุ คือ อายุไม่ถึง 15 เรียกว่า เด็ก และ อายุไม่ถึง 18 เรียกว่า เยาวชน ซึ่งระบุไว้ใน
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553
บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า
เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์ และ เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์
ให้เหล้าเท่ากับแช่ง
ถ้
าคนเรามีความทรงจำที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา มีสติที่พร้อมไตร่ตรอง มีสมองส่วนหน้า มีความจำให้พร้อมถูกเรียกใช้ได้ทันทีและเป็นไปโดยอัตโนมัติ ทั้งในขณะให้เหล้าเพื่อน ในขณะรับเหล้าจากเพื่อน และในขณะดื่มเหล้า ย่อมรู้ถึงพิษภัยของเหล้า ที่จะกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ถ้าเมาแล้วขับรถไปชนใคร หรือสุขภาพเสียจนดูแลตนเองไม่ได้ ก็จะเป็นปัญหาทั้งต่อตนเอง และส่วนรวม
จ
ากข้อมูลพบว่า ช่วงเทศกาล มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากกว่าช่วงปกติถึง 2.5 เท่า หรือเฉลี่ย 87 รายต่อวัน โดยสาเหตุอันดับ 1 คือ เมาแล้วขับ และ WHO ยืนยันว่า เหล้า เป็นสาเหตุของโรคกว่า 200 ชนิด รวมถึงอุบัติเหตุ ความรุนแรง และการล่วงละเมิดทางเพศ
กิจกรรมรณรงค์เลิกสูบบุหรี่
กิ
จกรรม "โครงการ NationU ปลอดบุหรี่รักษ์สิ่งแวดล้อม"
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 พบว่า นิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
สนใจศึกษาเล่าเรียนเรื่องสุขภาพ ได้ร่วมกันทำโครงการรณรงค์ฯ ซึ่งมีความเชื่อกันว่า การมีสุขภาพดี จำเป็นต้อง ลด ละ เลิก สิ่งที่จะทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง ซึ่งมีมากมาย ทั้งเหล้า ยา หวาน มัน เค็ม ถ้าปลูกจิตสำนึก ให้เห็นแค่ซองยาแล้ว รับภาพเหล่านั้นเป็นความรู้สึกกลัว กลัวบ้างนิดนึง ไปถึงกลัวที่สุด จนแค่เห็นใครสูบใกล้ ๆ ก็ผวาแล้ว และมีภาพข้างซอง ลอยมาหลอกหล่อนแต่ไกลได้ ก็จะยืดเวลาสุขภาพดีให้ยาวออกไปได้ นิสิตยุค Metaverse จะรักสุขภาพ ของตนเองและคนรอบกาย
แก๋นนำ รณรงค์เลิกดื่ม [
album
]
ตัวแทนนิสิต ม.เนชั่น ร่วมขับเคลื่อนการลดดื่มสุรา กับสมัชชาสุขภาพ ลำปาง [
album
]
วัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง
กิ
จกรรมทางพระพุทธศาสนา
ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง คนในบ้าน ในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ลดโรคภัยเบียดเบียนก่อนวัยอันควร ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน และยาเสพติด ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงไม่ใช่กิจกรรมที่ต้องทำเฉพาะบ้าน และโรงเรียนเท่านั้น แต่ถ้าเกิดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ของบ้าน วัด และโรงเรียนก็เชื่อได้ว่าจะเสริมพลังที่ทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อสังคมครอบครัวลดลงได้
พ
บว่า
พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองมูล จังหวัดลำปาง ได้แชร์ภาพที่ท่านได้ัรับ ป้ายวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็น 1 ใน 20 วัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน โดย โครงการการพัฒนาเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 จาก พระเดชพระเดชพระคุณ พระเทพเวที รศ.ดร. เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานมอบป้ายในครั้งนี้
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Thaiabc.com
Thainame.net
Lampang.net
มหาวิทยาลัยเนชั่น
HTML
PHP
MySQL
JAVA
Teach Pro.
Online quiz
Research
Flowchart
SPSS
Datastructure
Markdown
KM = Sharing
Linux
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
เกี่ยวกับเรา
FB : Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
สนับสนุนเรา
รับความคิดเห็น
Thaiall.com
Truehits.net