เทคโนโลยีทางการศึกษากับการวิจัย
 
# 342 เทคโนโลยีทางการศึกษากับการวิจัย

    พฤษภาคม 2555 ได้เข้าร่วมนำเสนอบทความวิจัย ในการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีครั้งที่ 8 จัดโดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา ได้ฟัง Keynote speaker บรรยายเรื่อง Dynamic neural networks และ Innovation management ในขณะฟังก็มีประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ จึงแบ่งปันให้กับเพื่อนได้ร่วมเรียนรู้ จึงสรุปประเด็นแล้วส่งเข้า twitter.com ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเหตุการณ์ด้วย micro blogging เป็นครั้งแรกของผู้เขียน แล้วนำรวบรวมเป็นเรื่องราวผ่าน storify.com

    สถานที่จัดประชุมเป็นโรงแรมที่บริการอินเทอร์เน็ตผ่านวายฟาย (Wi-Fi) ที่ใช้เบอร์ห้องเป็นรหัสเข้าใช้ เมื่อย้ายออกจากโรงแรม รหัสนั้นก็จะใช้ไม่ได้ สำหรับเอกสารบทความวิจัยฉบับเต็มที่เคยแจกเป็นเล่ม หรือซีดี ก็เปลี่ยนเป็นแจกแฟ้ม PDF ใน Flash Drive ทำให้ผู้ที่พกพา Notebook เข้าประชุมสามารถเปิดรายงานฉบับเต็มไปพร้อมกับการเรียนรู้จากผู้นำเสนอ เพื่อให้สามารถค้นหาเอกสารย้อนหลังได้ง่าย จึง upload ไปฝากไว้กับ scribd.com เพื่อจัดทำห้องสมุดส่วนตัว แยก collection เป็นหมวดหมู่ แล้วแบ่งปันเอกสารกับเพื่อนในอินเทอร์เน็ตได้ร่วมแลกเปลี่ยนอีกช่องทางหนึ่ง

    ในห้องนำเสนอบทความวิจัยจะมี chair session ช่วยเป็นกลไกควบคุมเวลา และชี้ชวนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่มีความสนใจเรื่องที่ใกล้เคียงกัน สำหรับห้องหนึ่งที่นำเสนอผลงานเน้นด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา หรือคอมพิวเตอร์ศึกษา ก็จะนำเสนอแนวคิดใหม่ด้านการจัดการศึกษา พัฒนาสื่อและกระบวนการ บทเรียนสำเร็จรูป และเทคนิคการประเมินผล ในส่วนของการประเมินก็มีการนำเสนอหลายเครื่องมือ อาทิ ความตรงของเนื้อหา ความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด ค่าประสิทธิภาพของบทเรียน ความแตกต่างของผลสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เป็นต้น

    ในห้องนำเสนอบทความวิจัยจะมี chair session ช่วยเป็นกลไกควบคุมเวลา และชี้ชวนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่มีความสนใจเรื่องที่ใกล้เคียงกัน สำหรับห้องหนึ่งที่นำเสนอผลงานเน้นด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา หรือคอมพิวเตอร์ศึกษา ก็จะนำเสนอแนวคิดใหม่ด้านการจัดการศึกษา พัฒนาสื่อและกระบวนการ บทเรียนสำเร็จรูป และเทคนิคการประเมินผล ในส่วนของการประเมินก็มีการนำเสนอหลายเครื่องมือ อาทิ ความตรงของเนื้อหา ความสอดคล้องของข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด ค่าประสิทธิภาพของบทเรียน ความแตกต่างของผลสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เป็นต้น

http://panchalee.wordpress.com/2009/04/18/programinstructional2/
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
343. วิจัยกินได้ รับใช้ชุมชน
342. เทคโนโลยีทางการศึกษากับการวิจัย
341. ชวนมองโอเอสของปี2556
340. ภาพโป๊ในสภากับวายฟาย
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com