thaiall logomy background ความเป็นมา ของ บทความวิจัย 5 บท
my town
introduction

ความเป็นมา คืออะไร

ความเป็นมา / ความสำคัญของปัญหา / ภูมิหลัง / หลักการและเหตุผล คือ การเขียนบรรยายเชิงพรรณา โดยเชื่อมโยง หลักการ เหตุผล แนวคิด ทฤษฎีที่สำคัญ สภาพปัญหา โอกาส หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงความเป็นมา และความจำเป็นที่ต้องทำการศึกษาวิจัย โดยเขียนอธิบายการเชื่อมโยงเนื้อหาทั้งหมดให้มีความต่อเนื่อง ซึ่งมีเนื้อหาอย่างน้อย 3 ส่วน คือ อภิปรายสภาพปัจจุบัน ความจำเป็นของการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาหรือโอกาสในการพัฒนาให้ดีขึ้น และสรุปเป้าหมายของการวิจัย
ความเป็นมา | spss | apa | peer review | TCI-1140 | TCI-1243 | TCI-1338 | TCI-1422 | research | NCCIT | ประชุมวิชาการ | อักขราวิสุทธิ์ | อ้างอิงแบบ IEEE | SJR + SIR + SCOPUS |
5 ขั้นตอนการเขียนความเป็นมาที่ดี เทคนิคการเขียนความเป็นมา 1. ระบุวัตถุประสงค์และขอบเขตการวิจัย (Identity and Scope)
2. แนะนำหัวข้อที่แสดงถึงการร้อยเรียง (Engaging Hook)
3. ให้ข้อมูลพื้นฐานและบริบทประกอบหัวข้อ (Background and Context)
4. นำเสนอคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย (Question and Objectives)
5. ทบทวนประเด็นหลักและโครงสร้างการเขียน (Main point and Structure)
บทความ โดย Betty P. ใน myperfectpaper.net
ความเป็นมา แบบ 3 ย่อหน้า ย่อหน้าแรก คือ การอภิปรายถึงลักษณะปัญหา/พัฒนา ตามสภาพปัจจุบัน (Situation) ย่อหน้าที่สอง คือ การอภิปรายถึงแนวทางแก้ไขปัญหา/พัฒนา (Method) ย่อหน้าสุดท้าย คือ การอภิปรายสรุปเป้าหมายของการแก้ปัญหา/พัฒนา (Objectives) เว็บไซต์ครูเชียงรายดอทเน็ต
เทคนิคการเขียนความเป็นมา ความสำคัญของปัญหา สำหรับนักศึกษา เทคนิคการเขียนความเป็นมา ย่อหน้า 1 ความคิด สิ่งที่คาดหวัง (Expectation)
ย่อหน้า 2 สภาพในปัจจุบัน (Situation)
ย่อหน้า 3 สภาพปัญหา/สาเหตุ (Cause)
ย่อหน้า 4 แนวทางการแก้ไข (Method)
ย่อหน้า 5 เป้าหมายในการแก้ไข (Objectives)
เพจ CMMU Library
ตัวอย่าง บทนำ / ความเป็นมา จากวารสารในกลุ่ม ThaiJO าก ต้นฉบับบทความเพื่อเสนอตีพิมพ์ (template) ของวารสาร Journal of Education and Innovation (TCI-1) มี ตัวอย่างการอ้างอิงในเนื้อหา - เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้า หรือ ข้างหลัง ของ ข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น Slavin (1995, p. 20) หรือ (Snyder & Snyder, 2010, pp. 258-260)

ชลิดา กาลเขว้า และ วิรัช เจริญเชื้อ. (2567).  กลยุทธ์การพัฒนาความมีวินัยต่อตนเองของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ.  Journal of Education and Innovation, 26(2), 93-105.

introduction introduction
เอกสารที่น่าสนใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 31 หน้า
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 29 หน้า
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 34 หน้า
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 82 หน้า
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ 30 หน้า
มหาวิทยาลัยศิลปากร 26 หน้า
Thaiall.com