สมรรถนะดิจิทัล
TQF | Computer | Technology | Assignment | สมรรถนะดิจิทัล | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | แนวทางตอบคำถาม
สมรรถนะดิจิทัล
มรรถนะดิจิทัล คือ ความรู้ ความสามารถ และทักษะการใช้ เข้าใจและสร้างสื่อดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการศึกษาไทย 4.0 และกรอบการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อดคล้องกับ เกณฑ์คุณภาพระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี (หน้า 104 ตามคู่มือฯ 2557) ที่คณะต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างเหมาะสม และครบถ้วนที่ดำเนินการสอดคล้องกับ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่ประกอบด้วยมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะของข่าวปลอมในไทยและระดับความรู้เท่าทัน..Thaijo
ข้อแนะนำสังเกตุข่าวปลอมออนไลน์ ETDA
วิธีเช็คข่าวปลอม 3 จุด

ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 27/12/2561
เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
ลสำรวจแรงงานไทยจากข้อมูลปี 2007 พบว่า ทักษะต่าง ๆ ด้อย ภาษาก็แย่ ไอทีก็หลงตัวเอง บวกลบก็ไม่เก่ง แล้วจะเอาอะไรไปสู้เขา (อ้างอิงจาก นสพ. The Nation 12 มี.ค.2555)
แรงงานไทยขาดแคลนทักษะที่จำเป็น
สมรรถนะดิจิทัล 6 ด้าน
ประกาศเกี่ยวกับเรื่อง สมรรถนะดิจิทัล (Digital Competencies) [pdf]
ที่ ศธ 0506(1)/ว2086 [27ธ.ค.61] เป็นหนังสือเวียนถึงอธิการบดีอุดมศึกษา
1. การสืบค้นและการใช้งาน (รายละเอียด)
2. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
3. เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต
4. การสอนหรือการเรียนรู้
5. เครื่องมือและเทคโนโลยี
6. การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
ระดับที่จำเป็น หมายถึง ทักษะพื้นฐานสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร
ระดับสูง หมายถึง ทักษะเพิ่มเติมขั้นสูงที่เข้มข้นขึ้นสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
อ่านบทความเพิ่ม ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ พรชนิตว์ ลีนาราช
คำสำคัญ #1 การสืบค้นและการใช้งาน
บทบาทของวิชาในหลักสูตรที่ได้พัฒนาผู้เรียน

งอธิบายกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ท่านศึกษาอยู่ และลักษณะผลงานที่ได้มีการสืบค้นข้อมูล การคัดกรอง การตรวจสอบความน่าเชื่อถือและลิขสิทธิ์ การแบ่งปันและนำเสนอที่เคยทำ มาอย่างน้อย 3 กิจกรรมและ 3 ผลงาน
# ประเมินกระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output)
เครื่องมือเพื่อสืบค้นข้อมูล

- จงระบุชื่อเครื่องมือสืบค้นข้อมูลทั่วไปมา 3 ชื่อ
- จงระบุชื่อเครื่องมือสืบค้นผลงานวิชาการมา 3 ชื่อ
ตัวกรองเพื่อจำกัดผลลัพธ์

- จงอธิบายวิธีกำหนดตัวกรอง เลือกเฉพาะแฟ้ม pdf จาก google.com
- จงอธิบายวิธีกำหนดตัวกรองที่ใช้ทั้งชื่อ และนามสกุลของบุคคล จาก google.com
- จงอธิบายวิธีกำหนดตัวกรองที่ให้ค้นข้อมูลเฉพาะในเว็บไซต์ของ pantip.com จาก google.com
การค้นหารูปภาพ

- จงอธิบายวิธีค้นหาบุคคลจากภาพถ่ายที่ท่านถ่ายบุคคลมา ว่าจะค้นหาอย่างไร
- จงระบุชื่อเว็บไซต์ที่ใช้ค้นหาภาพบุคคล อย่างน้อย 2 เว็บไซต์
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล

- จงอธิบายวิธีตรวจสอบ fake news มาอย่างน้อย 5 ข้อ
การจัดระบบ และแบ่งปันทรัพยากร

- จงบอกแหล่งบริการ free cloud storage มาอย่างน้อย 3 แหล่ง
- whizlabs.com/blog/best-free-cloud-storage/
bookmarking

- จงอธิบายการทำงาน และหน้าที่ของ bookmarking
- จงระบุชื่อโปรแกรมที่ใช้ทำ bookmarking
ลิขสิทธิ์

- จงระบุว่าผลงานแบบใดมีลิขสิทธิ์ และแบบใดไม่มีลิขสิทธิ์
การคัดลอกผลงาน

- จงอธิบายการคัดลอกผลงานแบบใดไม่ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ และแบบใดผิดกฎหมายลิขสิทธิ์
ระบบห้องสมุด

- จงอธิบายขั้นตอนการให้บริการห้องสมุด เพื่อยืมคืนหนังสือมาโดยละเอียด
แหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์

- จงระบุแหล่งเก็บข้อมูลออนไลน์มาอย่างน้อย 5 แหล่ง
Creative Commons

- จงอธิบายความหมายของ Creative Commons
แบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ทางออนไลน์

- จงระบุว่าแหล่งใดใช้แบ่งปันสื่อออนไลน์แบบใด มาอย่างน้อย 5 แหล่ง
- จงอธิบายประเภทของสิทธิ์ในการแบ่งปันสื่อ มาพอเข้าใจ
แนวทางการตอบคำถาม
วิชา ... ที่สอนโดย ...
ได้รับมอบหมายงานรายบุคคล/กลุ่ม ...
ให้ทำผลงานเรื่อง ...
โดยสืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่ ...
คำค้นที่ใช้ คือ ...
มีกิจกรรมคือ 1) ... 2) ...
นำเสนอ ผ่าน ...
ประเมินผลงานด้วยการ ...
แล้วเผยแพร่ผลงานไปที่ ...
ได้บันทึกแหล่งสืบค้นในบุ๊กมาร์กไว้ดังนี้ ...
* จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 ผลงาน
ต.ย. ตรวจสอบการคัดลอกผลงาน

แฟ้มตัวอย่างพบในอักขราวิสุทธิ์ 15%
อักขราวิสุทธิ์
plagiarism checker
ต.ย. นักวิจัยที่ดีใช้อักขราวิสุทธิ์
จงค้นหารายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับ คุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย หรือกฎระเบียบ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับงานมอบหมายเรื่อง thaijo (thailis) + เลือกที่เป็นรายงานการวิจัย 5 บท ที่เป็นแบบ pdf แฟ้มเดียว + สืบค้นมาให้ได้อย่างน้อยจำนวน 2 รายงานการวิจัย + ส่งเข้าระบบอักขราวิสุทธิ์ ทั้ง 2 แฟ้ม + เปลี่ยนชื่อแฟ้มเป็น “re_รหัสนิสิต_ลำดับแฟ้ม.pdf” ก่อนอัพโหลด + สั่ง print report เป็น pdf แล้วส่งเข้า repository ใน github.com + แชร์ลิงก์ของแฟ้ม pdf เข้าใต้โพสต์ที่กำหนด + มีตัวอย่างคำค้น ดังนี้ รายงานการวิจัย การป้องกัน การทุจริต โรงเรียน พบรายงานขนาด 128 หน้า มีค่า Similarity index = 6.20% (ค่านี้จะมากน้อยไม่สำคัญเท่ากับการอ้างอิงที่ถูกต้อง และเหมาะสม)
คำสำคัญ #2 การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
บทบาทของวิชาในหลักสูตรที่ได้พัฒนาผู้เรียน

งอธิบายลักษณะผลงานสื่อ และขั้นตอนการสร้างสื่อสร้างสรรค์ อาจในรูปสื่อดิจิทัล รูปภาพ คลิ๊ป สื่อนวัตกรรม หรืออินโฟกราฟฟิกที่เป็นผลงานนำเสนอในรายวิชา มาอย่างน้อย 3 ชิ้นงาน
#ประเมินผลลัพธ์ (Output)
ผลิตสื่อดิจิทัล ภาพ เสียง คลิ๊ป

- จงอธิบายว่าจะใช้ซอฟต์แวร์ใดสร้างสื่อคลิ๊ปวีดีโอ
- จงอธิบายว่าจะใช้ซอฟต์แวร์ใดสร้างสื่อเสียง
- จงอธิบายว่าจะใช้ซอฟต์แวร์ใดสร้างสื่อภาพ
- จงอธิบายความแตกต่างของ RGB และ CYMK
การบันทึกภาพหน้าจอ

- จงอธิบายวิธีการบันทึกภาพหน้าจอ และใช้ซอฟต์แวร์ใดในการแก้ไข
ผลิตอินโฟกราฟิก

- จงระบุชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างอินโฟกราฟฟิก
- จงอธิบายลักษณะผลงานอินโฟกราฟิกที่ท่านเคยสร้างมาโดยละเอียด
แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด

- Open Education Resource (OER) คืออะไร
- Lifelong Learning คืออะไร
- จงระบุสิ่งที่จัดเก็บใน คลังของวัสดุการเรียน (Repositories of Learning Object) มาอย่างน้อย 5 อย่าง
การใช้เครื่องมือสร้างสรรค์

- จงระบุชื่อเครื่องมือที่ใช้สร้างสรรค์งานกราฟฟิก มาอย่างน้อย 3 ชื่อซอฟต์แวร์
สื่อแบบปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ

- จงอธิบายการสร้างสื่อแบบ interactive มาพอเข้าใจ
- จงอธิบายการสร้าง google form และการนำข้อมูลมาใช้โดยละเอียด
แนวทางการตอบคำถาม
วิชา ... ที่สอนโดย ...
ได้รับมอบหมายงานให้ผลิตสื่อ ชื่อ ...
มีขั้นตอนการผลิตสื่อ ดังนี้ 1) ... 2) ...
ส่งผลงานด้วยการ ...
* จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 ผลงาน
คำสำคัญ #3 เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต
บทบาทของวิชาในหลักสูตรที่ได้พัฒนาผู้เรียน

งอธิบายวิธีการขั้นตอนการแบ่งปัน หรือเผยแพร่แฟ้มผลงานต่าง ๆ แหล่งที่แบ่งปันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกำหนดระดับสิทธิ์ในการแบ่งปัน และการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย ที่ดำเนินการในแต่ละวิชา มาอย่างน้อย 3 รูปแบบการแบ่งปันผลงาน
#ประเมินกระบวนการ (Process)
ความปลอดภัยออนไลน์

- จงอธิบายการใช้งานอินเทอร์เน็ตในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่อย่างปลอดภัย
การปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตน

- จงอธิบายการปกป้องข้อมูลและภาพลักษณ์ส่วนตนที่พึงปฏิบัติว่าทำอย่างไร
คุณลักษณะด้านความปลอดภัย

- จงบอกชื่อซอฟต์แวร์ต้านไวรัส มาอย่างน้อย 3 ชื่อ
- จงอธิบายวิธีการป้องกันตนเองจากการติดไวรัส มาอย่างน้อย 3 วิธี
- จงอธิบายการตั้งค่าความมั่นคงปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ให้ตนเองปลอดภัย มา อย่างน้อย 2 วิธี
- จงอธิบายการตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวบนสื่อสังคมออนไลน์ ว่าทำอย่างไร
การป้องกันข้อมูล

- จงอธิบายวิธีการป้องกันข้อมูลสูญหาย มาอย่างน้อย 3 วิธี
การแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น

- จงอธิบายวิธีการแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่นว่าดำเนินการอย่างไร มาอย่างน้อย 3 วิธี
การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ทางออนไลน์

- จงอธิบายประเด็นที่ใช้พิจารณารับเพื่อนใหม่ มาอย่างน้อย 3 ประเด็น
แนวทางการตอบคำถาม
วิชา ... ที่สอนโดย ...
ได้รวบรวมผลงาน แล้วแบ่งปันไว้ที่ ...
มีการพิจารณาไตร่ตรองการคัดเลือกเพื่อน เชิญเพื่อน คัดกรองผู้ขอติดตาม/ผู้ขอเข้ากลุ่ม/ผู้เข้าแลกเปลี่ยน/เพื่อน/ผู้สนใจทั่วไป ดังนี้ ...
เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน มีตัวอย่างเหตุการณ์ ดังนี้ ...
มีการป้องกันการสูญหายของผลงาน และการเก็บรักษาให้ปลอดภัย ด้วยการ ...
* จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 ผลงาน
ต.ย. ผู้เผยแพร่ผลงาน
จงระบุจำนวนเพื่อน ผู้กดชอบ ผู้กดติดตาม กลุ่ม แฟนเพจ คลิป ภาพ ในสื่อสังคมที่ท่านได้มีตัวตน แล้วแบ่งปัน เผยแพร่ แลกเปลี่ยน ทั้งแบบสาธารณะ เฉพาะเพื่อน หรือส่วนตัว พร้อมอธิบายประกอบข้อมูลเหล่านั้นมาพอเข้าใจ
คำสำคัญ #4 การสอนหรือการเรียนรู้
บทบาทของวิชาในหลักสูตรที่ได้พัฒนาผู้เรียน

งอธิบายการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสนับสนุนการเรียนรู้ของตนเอง หรือการใช้แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือบนเครื่องคอมพิวเตอร์ สนับสนุนการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ที่ใช้เรียนรู้ในวิชา หรือหัวข้อในหลักสูตร มาอย่างน้อย 3 รูปแบบของการเรียนรู้
#ประเมินกระบวนการ (Process)
เทคโนโลยีในการเรียนรู้

- จงอธิบายถึงอุปกรณ์ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ออนไลน์ มาอย่างน้อย 3 อุปกรณ์
ติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์

- จงอธิบายถึงแหล่งซอฟต์แวร์ที่นำมาติดตั้งในอุปกรณ์ของท่าน มาอย่างน้อย 3 แหล่ง
เครื่องมือสำหรับการอ้างอิง

- จงอธิบายแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำมาอ้างอิง มาอย่างน้อย 2 แหล่ง
การผลิตงานนำเสนอ

- จงบอกชื่อแหล่งเผยแพร่ผลงานนำเสนอที่เป็นคลิ๊ปวีดีโอ แฟ้มภาพ แฟ้มเสียง บล็อก หรือสไลด์ มาอย่างน้อย 3 แหล่ง
เทคโนโลยีช่วยทดสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้

- จงบอกแหล่งบริการที่ท่านเคยใช้งานระบบ e-learning หรือ mooc มาอย่างน้อย 3 แหล่ง
แนวทางการตอบคำถาม
วิชา ... ที่สอนโดย ...
ได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่/แอปพลิเคชันอย่างหลากหลาย มาช่วยการเรียนรู้ ชื่อ 1) ... 2) ...
มีวัตถุประสงค์การนำมาใช้ เพื่อ ...
บนอุปกรณ์ ...
มีขั้นตอนการใช้เทคโนโลยี/แอปพลิเคชันร่วมกัน ดังนี้ 1) ... 2) ...
* จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 การเรียนรู้
ต.ย. ผู้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
จงระบุเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ที่นำมาใช้ประโยชน์ ทั้งใช้เอง ใช้ในกลุ่ม หรือใช้เป็นสาธารณะ แล้วประเมินประสิทธิภาพของแต่ละเทคโนโลยีที่ท่านได้ใช้นั้น
คำสำคัญ #5 เครื่องมือและเทคโนโลยี
บทบาทของวิชาในหลักสูตรที่ได้พัฒนาผู้เรียน

งอธิบายการใช้เครื่องมือการเรียนรู้ แบบใหม่ หรือเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ที่เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ได้เรียนรู้ในรายวิชา โดยนำเสนอคำศัพท์เฉพาะ มาอย่างน้อย 6 คำ พร้อมอธิบายว่าใช้หรือเกี่ยวข้องอย่างไร
#ประเมินกระบวนการ (Process)
เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลาย

งบอกชื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลที่เคยใช้งานร่วมกัน หรือเชื่อมโยงกันมา 1 คู่อุปกรณ์
คำศัพท์เฉพาะ

- จงบอกความหมายของ Encryption
- จงบอกความหมายของ Libra
- จงบอกความหมายของ HongmengOS
- จงบอกความหมายของ FinTech
- จงบอกความหมายของ Startup
เทคโนโลยีอุบัติใหม่

- จงบอกความหมายของ AR
- จงบอกความหมายของ VR
- จงบอกความหมายของ AI
- จงบอกความหมายของ IoT
กรีนเทคโนโลยี (Green technology)

- จงอธิบายความหมายของ Green Technology
เอนเนอจีเซฟวิ่ง (Energy saving)

- จงอธิบายความหมายของ Energy saving
แนวทางการตอบคำถาม
วิชา ... ที่สอนโดย ...
ได้ใช้เครื่องมือการเรียนรู้แบบใหม่ / เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เป็นคำศัพท์เฉพาะ ชื่อ ...
มีนิยามศัพท์เฉพาะโดยละเอียด คือ ...
เกี่ยวข้องกับคำศัพท์นี้อย่างไร ...
* จำนวนไม่ต่ำกว่า 6 คำศัพท์
ต.ย. เทคโนโลยีใหม่ที่มีศัพท์เฉพาะ
จงระบุศัพท์เฉพาะที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมอธิบายคำเหล่านั้นมาโดยละเอียด ในมิติต่าง ๆ ที่ท่านสนใจ
คำสำคัญ #6 การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
บทบาทของวิชาในหลักสูตรที่ได้พัฒนาผู้เรียน

งอธิบายการใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสาร แบ่งปันเอกสารออนไลน์ การใช้ทำงานร่วมกับผู้อื่น กระบวนการส่งผลงานวิชาการ หรือการสัมมนาออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร มาอย่างน้อย 3 รูปแบบการสื่อสาร
#ประเมินกระบวนการ (Process)
ทำงานร่วมกับผู้อื่นแบบออนไลน์

- จงอธิบายวิธีการแชร์แฟ้มกับเพื่อน มาอย่างน้อย 3 วิธี
video-conferencing

- จงอธิบายการทำ video conference มาให้เข้าใจ ว่าดำเนินการอย่างไร
การเข้าร่วมสัมมนาผ่านเว็บไซต์

- จงอธิบายประสบการณ์การใช้บริการสัมมนาผ่านเว็บไซต์ มาโดยละเอียด
แนวทางการตอบคำถาม
วิชา ... ที่สอนโดย ...
ได้ใช้เทคโนโลยีติดต่อสื่อสาร ชื่อ ...
มีการติดต่อสื่อสาร/ประชุม/ส่งรายงาน มีกิจกรรม/ขั้นตอน ดังนี้ 1) ... 2) ...
การส่งผลงาน(วิชาการ) แล้วติดต่อสื่อสารกันอย่างไร ...
* จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 การสื่อสาร
ต.ย. เทคโนโลยีการสื่อสาร
จงอธิบายการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เทคนิค วิธีการ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารยุคใหม่ การทำงานร่วมกัน หรือการเรียนการสอน ระหว่างตัวท่าน ผู้สอน เพื่อน หรือบุคคลทั่วไป
Digital literacy คืออะไร

ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ
1. การใช้ (Use)
2. เข้าใจ (Understand)
3. การสร้าง (create)
4. เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 9 ด้าน
1. การใช้งานคอมพิวเตอร์
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ต
3. การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (Cloud, Net Cafe)
4. การใช้โปรแกรมประมวลคำ
5. การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ
6. การใช้โปรแกรมนำเสนองาน
7. การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล
8. การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์
9. การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (ID Card, Password)
IoT ไม่ยากอย่างที่คิด โดย อ.อาคม ไทยเจริญ
Internet of Things (IoT) คือ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง การที่ทุกอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถรับส่งข้อมูล และควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร วัดระดับน้ำ วัดความชื้น วัดแสง วัดอุณหภูมิ ส่งข้อมูลไปจัดเก็บเพื่อประมวลผล วิเคราะห์ และรับส่งคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ เป็นต้น
บว่า การเรียนเขียนโปรแกรม หรือ Coding ไม่ยากอย่างที่คิด ผู้เข้าอบรมไม่มีพื้นฐานความรู้คอมพิวเตอร์ก็สามารถเรียน IoT ได้ เพราะไม่ยากอย่างที่คิด ที่ยาก คือ ทำอย่างไรให้อยากเรียน Internet of Thing เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้ Hardware ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ สร้างอุปกรณ์ด้วย Arduino เป็นแพลตฟอร์ม Open Source สอนการเขียน Code ด้วยภาษา C ควบคุมอุปกรณ์ให้ทำงานร่วมกันในเครือข่ายตามที่กำหนด ทำ workshop แล้วฝึกประยุกต์ใช้ เช่น ควบคุมการเปิดปิดไฟในบ้านได้อัตโนมัติ การเปิดปิดน้ำเมื่อเต็มถัง เชื่อมข้อมูล และประมวลผลบนคลาวด์ เพื่อเชื่อมโยงได้จากทุกที่ ติดตาม อ.อาคม ไทยเจริญ ได้ในกลุ่ม Arduino Thailand
ต.ย. มาตรฐานการเรียนรู้กลางด้านที่ 5 แต่ละหลักสูตร มาตรฐานกลางทั่วไป
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1) สามารถสื่อสารภาษาไทย ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การสรุปประเด็น และการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) สามารถเลือก และใช้รูปแบบการนำเสนอสารสนเทศ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์
3) สามารถเลือก และประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
วิทยาการคอมพิวเตอร์
5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematical analytical thinking, communication skills, and information technology skills)
1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4) สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
thaiall.com/tqf
มาตรฐานภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนิสิตนักศึกษาไทย
นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา
1. มาตรฐานภาษาอังกฤษ จัดให้ทุกคนทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ พบ ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามลิงก์แนบ เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา ข้อ 5 ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดให้นิสิตนักศึกษาทุกคน ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ตามแบบทดสอบมาตรฐานระดับอุดมศึกษาที่สถาบันสร้างขึ้น หรือที่เห็นสมควรจะนำมาใช้ วัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ (English Proficiency) โดยเทียบเคียงกับ CEFR เริ่มตั้งแต่ 2559
2. การพัฒนาเทคโนโลยี มีเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง 2.1 นิยาม ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตาม คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2557 หน้า 66 ปกชมพู องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ระดับหลักสูตร พบว่า กลุ่มหลักที่ 4 "กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี" เป็นทักษะที่ทุกสถาบันต้องพัฒนาให้นิสิตตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ได้คะแนนตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา 2.2 อยู่ในจุดดำ มคอ.2 ของเล่มหลักสูตร ทุกรายวิชากำหนดไว้ สอดคล้องกับประกันคุณภาพ ตัวบ่งชี้ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี (หน้า 104 ตามคู่มือฯ 2557) ที่คณะต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอย่างเหมาะสม และครบถ้วนที่ดำเนินการสอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ที่ประกอบด้วยมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อธิบายเพิ่มเติม 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 1) สามารถสื่อสารภาษาไทย ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การสรุปประเด็น และการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สามารถเลือก และใช้รูปแบบการนำเสนอสารสนเทศ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ 3) สามารถเลือก และประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม 2.3 ตามประกาศจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เมื่อ 27 ธันวาคม 2561 ที่ ศธ 0506(1)/ว2086 "เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการศึกษาไทย 4.0 และกรอบการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ได้กำหนดด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนานิสิต เป็นแนวทางเรื่องสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี แบ่งเป็นระดับที่จำเป็นและระดับสูงแต่ละด้าน ไว้ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การสืบค้นและการใช้งาน 2) การสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) เอกลักษณ์และคุณภาพชีวิต 4) การสอนหรือการเรียนรู้ 5) เครื่องมือและเทคโนโลยี 6) การติดต่อสื่อสารและการประสานงาน
บุ๊กมาร์ก (Bookmark)
เครื่องมือเพื่อ "รู้วิธีการจัดระบบ และแบ่งปันทรัพยากร"
บุ๊กมาร์ก (Bookmark) หรือคั่นหน้า คือ เครื่องมือบันทึกที่อยู่เว็บไซต์ (Address) ที่ต้องการบันทึกเก็บไว้ในกรณีพบเว็บไซต์ที่ชื่นชอบ หรือของโปรด (Favorites) และต้องการเข้าถึงครั้งต่อไปได้โดยง่าย ด้วยการสั่งบุ๊คมาร์กเว็บไซต์ หรือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URL = Uniform Resource Locator) เก็บไว้อย่างเป็นระบบบนบราวเซอร์ (Browser) เช่น chrome, opera, safari, firefix, puffin ซึ่งบน Desktop สามารถสั่ง Import หรือ Export bookmarks เพื่อย้ายรายการบุ๊กมาร์กเข้าออกระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
# # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # #
การสอนด้วยกรณีศึกษาที่ใช้คลิปวิดีโอ ารสอนด้วยกรณีศึกษา (Case study) ที่ใช้ Movie สอดคล้องกับแนวคิดของ อ.ทันฉลอง และ อ.อุดม โดยใช้หัวข้อการเขียนรายงานการวิจัย 5 บทมาเป็นฐาน เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องมี 5 ประเด็นให้ชวนคิด คือ 1) ที่มา 2) ทฤษฎีรองรับ 3) วิธีเดินเรื่อง 4) ผลจากการรับสาร 5) อภิปรายผลโดยผู้รับสาร
ล้วพบว่า มีนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ (กราฟ) ได้โพสต์ตามหานักแสดงนำหญิงจำนวนสามคน มาร่วมแสดงหนังสั้นเกี่ยวกับ ความเกลียดชัง/ความน่ากลัว (Horror) ที่เป็นงานจบในมหาวิทยาลัย การถ่ายทำมีแผนชัดเจน อาทิ นัดซ้อม ถ่ายจริง บวงสรวงจริง สอดคล้องกับ งานมอบหมายทำคลิปวิดีโอของอาจารย์หลายท่าน อาทิ อ.ใหญ่ อ.แม็ค และอ.เก๋ ที่ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติเชิงบูรณาการที่มีประสิทธิภาพ และได้รับความนิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนเชิงสร้างสรรค์
ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล บว่า เพื่อนหลายท่านในสื่อสังคม แชร์ประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เพื่อน ๆ ได้ไปเรียนออนไลน์ในหลักสูตร "ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล" (New Normal Life and Digital Quotient) และทำแบบทดสอบหลังเรียน จนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นบทเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนและประชาชน ท่านใดสนใจ สามารถเข้าไปเรียนได้ ที่ learningdq-dc.ku.ac.th
ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตร หากทำแบบทดสอบท้ายบทครบถ้วนตามเกณฑ์ ซึ่งเนื้อหามี 8 บทเรียน ประกอบด้วย 1) วิกฤติการณ์โควิด 19 และผลกระทบ 2) ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) 3) การศึกษาวิถีใหม่ 4) ทักษะดิจิทัลเพื่ออนาคต 5) ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ-Digital Quotient) 6) การรู้เท่าทันสื่อใหม่ 7) การเป็นพลเมืองดิจิทัล 8) คุณธรรมและจริยธรรมในสังคมไซเบอร์
พัฒนาบทเรียนโดย ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ และรองศาสตราจารย์ ยืน ภู่วรวรรณ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล
# การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (1/6)
- ฟังเพื่อนอาจารย์พูดคุยกันอีกครั้ง เรื่อง ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 
- พบในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2557 หน้า 66 ep3 ปกชมพู
- พบว่าเลขหน้าไม่ตรงกับเล่ม ed1 ปี 2558 ที่ผมมีอยู่ ที่อยู่ในหน้า 67 ปกม่วง
- [อ่านเพิ่ม คู่มือประกันคุณภาพภายใน](https://qm.kku.ac.th/downloads/hbMUA57ed3.pdf)
- [อ่านเพิ่ม ประกันคุณภาพภายใน](http://www.thaiall.com/iqa)
- [อ่านเพิ่ม thaiall.com/tec/digital_competencies.htm](http://www.thaiall.com/tec/digital_competencies.htm)
- [อ่านเพิ่ม คู่มือพลเมืองดิจิทัล](http://www.thaiall.com/tec/digitalCitizenship-book-ok.pdf)
---
# ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (2/6)
1. กลุ่มวิชาหลัก (Core Subjects)
2. กลุ่มทักษะชีวิต และอาชีพ (Live and career skills)
3. กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and innovation skills)
4. กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, media and technology skills)
---
# ทักษะสำคัญที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก (3/6)
- กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
1. การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (Critical thinking and problem solving)
2. นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (Innovation and creativity)
3. การสื่อสารและความร่วมมือกัน (Communication and collaboration)
- กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information , media and technology skills)
1. การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
2. การรู้สื่อ (Media Literacy)
3. การรู้ ICT (ICT Literacy) (ICT = Information and Communication Technology = เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร)
- กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and career skills)
1. ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น (Adaptability and flexibility)
2. ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Initiative and self-direction)
3. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และข้ามวัฒนธรรม (Social and cross-cultural interaction)
4. ความรับผิดชอบและความสามารถผลิตผลงาน (Accountability and productivity)
5. ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม (Leadership and social responsibility)
---
# ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (4/6)
![หน้า 66 ในคู่มือประกัน](http://www.thaiall.com/iqa/handbook_mua57ed3_p66.png)
---
# ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (5/6)
- ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองผู้ใช้งานสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐาน
ของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม และมีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน
- การเป็นพลเมืองดิจิทัลควรมีทักษะที่สำคัญ 8 ประการ
1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity)
2. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) 
3. ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) 
4. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) 
5. ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management) 
6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล ที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) 
7. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management) 
8. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) 
- https://www.salika.co/2019/04/03/8-skills-for-digital-citizenship/
- https://thaidigizen.com/wp-content/uploads/2018/06/DigitalCitizenship-Book-ok.pdf
- https://www.thaihealth.or.th/Content/48161-citizen
---
# ทักษะจำเป็น เพื่อก้าวสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล (6/6)
![ความเป็นพลเมืองดิจิทัล](http://www.thaiall.com/tec/digital_citizen_skill.jpg)
การปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นชั้นเรียน ยังคงมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่เป็นสภาพจริง (Authentic Learning) และการประเมินผลที่เป็นสภาพจริง (Authentic Assessment) และให้ความสำคัญกับการสอบวัดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ โดยกำาหนดให้นำผลการสอบมาใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะของผู้สอน, การประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก ดังนั้น เพื่อให้ผู้สอนมีแนวทางในการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด จึงได้จัดทำเอกสาร “ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21” เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับศตวรรษที่ 21
ส่วนที่ 1 Student outcomes
9 สาระวิชาหลัก
1) ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา
2) ภาษาสากลต่างๆ
3) ศิลปะ
4) คณิตศาสตร์
5) เศรษฐศาสตร์
6) วิทยาศาสตร์
7) ภูมิศาสตร์
8) ประวัติศาสตร์
9) การปกครองและสิทธิหน้าที่พลเมือง
3Rs ของ Sir William Curtis
1) Reading หมายถึง อ่านหนังสือออก
2) Writing หมายถึง เขียนหนังสือได้
3) Arithmetic หมายถึง คิดเลขเป็น
3Rs สำหรับศตวรรษที่ 21
รู้ที่หนึ่ง คือ รู้ภาษา (Literacy)
รู้ที่สอง คือ รู้คณิต (Numeracy)
รู้ที่สาม คือ รู้ ICT (Information and Communications Technology Literacy)
ความสามารถในการปฏิบัติ 4 ทักษะ หรือ 4Cs
1) การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
2) การสื่อสาร (Communication)
3) การทำ งานร่วมกัน (Collaboration)
4) การสร้างสรรค์ (Creativity)
ส่วนที่ 2 Support Systems
ระบบที่ 1 ด้านมาตรฐานและการประเมินผล (Standards and Assessments)
ระบบที่ 2 ด้านหลักสูตรและวิธีการสอน (Curriculum and Instruction)
ระบบที่ 3 ด้านการพัฒนาวิชาชีพให้แก่ผู้สอนและผู้บริหาร (Professional Development)
ระบบที่ 4 ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (Learning Environments)
ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21
การปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
รายงานผลการจัดงานมหกรรมการศึกษาแห่งชาติ ก้าวสู่คุณภาพการศึกษาที่ดีกว่า 26 – 27 สิงหาคม 2562
การปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 โดย ชมรมสภาปฏิรูปการศึกษาไทย
rspsocial
Thaiall.com