thaiall logomy background ห้องเรียนในอนาคต (Future Classroom)
my town
futureclassroom

ห้องเรียนในอนาคต

ห้องเรียนในอนาคต หรือห้องเรียนแห่งอนาคต เป็น สังคมในอุดมคติ คือ ห้องเรียนที่จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์ และสร้างความพร้อมให้กับผู้เรียนสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
อ้างคำพูด | เรียนรู้เชิงรุก | เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ | การศึกษา | นักศึกษา | มหาวิทยาลัย | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | Utopia | วิดีโอช่วยสอน | wordwall | genially | อาชีพในฝัน |
ห้องเรียนแห่งอนาคต ในหลายมุมมอง
ห้องเรียนในอนาคต หรือห้องเรียนแห่งอนาคต เป็น สังคมในอุดมคติ คือ ห้องเรียนที่จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์ และสร้างความพร้อมให้กับผู้เรียนสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


กฤตเมธ ธีระสุนทรไท
ข้อมูล : ห้องเรียนที่น่าสนใจ
ห้องเรียนแห่งอนาคต - J-Sharp Future classroom - 6 มกราคม 2558
ห้องเรียนแห่งอนาคต เพาะเมล็ดพันธุ์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 - 5 กันยายน 2560
ห้องเรียนแห่งอนาคต ใน ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต - 8 มีนาคม 2561
ห้องเรียนแห่งอนาคต กับ Thammasat Design School - 2 สิงหาคม 2561
ห้องเรียนแห่งอนาคต เทคโนโลยีกับครูต้องคู่กัน - 2 มกราคม 2562
ห้องเรียนแห่งอนาคต ใน Samsung Smart Learning Center - 22 มิถุนายน 2562
THE CLASSROOM OF THE FUTURE - 19 ตุลาคม 2564
ห้องเรียนแห่งอนาคต (Interactive Classroom) - 18 ตุลาคม 2562
สร้างห้องเรียนแห่งอนาคต ติดอาวุธด้านทักษะให้เยาวชนยุคใหม่ - 23 ตุลาคม 2562
บริษัท ห้องเรียนแห่งอนาคต จำกัด - 16 พฤศจิกายน 2554
สิ่งที่เด็กอยากได้จากระบบการศึกษา ปี พ.ศ. 2567 ห้องเรียนในอนาคต จะมีทุกสิ่งที่เด็กอยากได้ ได้แก่ 1) เรียนการเงิน และการลงทุน 2) มีห้องน้ำที่สะอาด 3) ไม่ได้เรียนวิชาลูกเสือ 4) ไม่ต้องยืนหน้าเสาธง 5) ไม่ถูกครูประจานต่อหน้าเพื่อน จากผลสำรวจที่ Rocket Media Lab ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ได้ทำการสำรวจ และ Spring ทำ infographic แชร์วันเด็กปี 2567 (13 ม.ค.2567)
บทวิจารณ์หนังสือ ใน วารสารวิชาการ

หัตถกาญจน์ อารีศิลป์. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 216-221.

พบศัพท์ที่น่าสนใจ เช่น New Learning Model, Active Learner, Passive Learner, Problem Based Learning, Flipped Classroom, MOOC, STEM, Creativity-Based Learning, Critical Thinking, Case Based Learning

กฤตเมธ ธีระสุนทรไท. (2559). ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(2), 6-9.

พบศัพท์ที่น่าสนใจ เช่น Problem Based Learning, Flipped Classroom, ห้องเรียนตื่นตัว Active Classroom, STEM, Creativity-Based Learning,
ลงทุนเพื่ออนาคต กับ เนื้อหาเพื่ออนาคต
ด็กไต้หวัน ลงทุนเพื่ออนาคต กับ เนื้อหาเพื่ออนาคต ซึ่ง #ห้องเรียนแห่งอนาคต ของไต้หวัน จะมีนักเรียน ตั้งใจเรียน เตรียมเนื้อหาแห่งอนาคต และสื่อสารออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ ให้เพื่อนได้ใช้ในการเรียนรู้ และเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ผ่านการสรุปประเด็นเนื้อหาที่สำคัญ จนเข้าใจได้ด้วยตนเอง และนำไปใช้ได้ในการวัดการแข่งขันตามฐานสมรรถนะของตน แล้วสอบติดได้เข้าเรียนใน #หลักสูตรแห่งอนาคต และมี #อาชีพแห่งอนาคต ในที่สุด
อ่านจาก komchadluek.net ที่พบข่าวใน ไต้หวันนิวส์ สื่อไต้หวัน พบว่า ใน Shopee ของไต้หวัน มีผู้ลงขายสรุปย่อเนื้อหาวิชาเรียนในระดับมัธยมต้น ตามหลักสูตรฉบับปรับปรุงแก้ไขปี 2562 สินค้าเป็นการถ่ายสำเนาสีจากต้นฉบับ โดยสรุปเนื้อหาแบบรวมเล่ม มี 422 หน้า รวมทุกวิชาที่สอนในโรงเรียนมัธยมต้น ราคา 2,600 ดอลลาร์ไต้หวัน มียอดขายทั้งหมด 2,653 ชิ้น เท่ากับผู้ขายทำรายได้ถึง 6,897,800 ดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 8 ล้านบาท) ผู้ค้าที่ใช้ชื่อ Cindy91005 เป็นผลงานของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสตรีไทเป (Taipei First Girls High School) ได้ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ ขอเก็บตัวเงียบ ไม่อยากเป็นจุดสนใจจนกระทบชีวิตส่วนตัวและการเรียน
อ่านข่าวแล้ว ทำให้นึกถึง บีลี่เกล สาวน้อยวัยวุ่น
อ่านหนังสือ "ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช"
ป Se-ed ที่โลตัสลำปาง ได้ยินรายการวิทยุของ se-ed บอกว่าหนังสือ "ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช" แล้วสนใจต้องซื้อหามาอ่านในบัดนาว พลิกดูเนื้อหาพบว่าแต่งโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และ ครูกมลรัตน์ ฉิมพาลี ISBN:9786160826612 ราคา 175 บาท วันนั้นต้องอยู่โลตัสหลายชั่วโมง ก็นั่งอ่าน อ่านไปก็สรุปไปด้วย แล้วแชร์ที่สรุปไว้ไปที่ แฟนเพจของผม
นั่งสแกนหนังสือด้วยสายตาไปสักพักหนึ่ง อ่านไปหลายบท แต่ที่สนใจอย่างมาก คือ บทที่ 6 "การสอนแบบใหม่หลากหลายรูปแบบ" แนะนำการสอนไว้ 3 แบบ คือ 1) การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) 2) การสอนแบบ STEM และ 3) การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) มีหลักว่า "เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน" นำมาซึ่งคำตอบมากมายของคำถามด้านการศึกษาในปัจจุบัน แล้วนึกถึงคลิ๊ปจ้าวปัญหาของ Prince EA เรื่อง I JUST SUED THE SCHOOL SYSTEM ! ที่มีคนชมไปกว่า 7 ล้านใน 24 ชั่วโมง
เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้


นื้อหาในหนังสือห้องเรียนแห่งอนาคต มีความน่าสนใจอย่างมาก จึงเริ่มติดตามแฟนเพจของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ แล้วทำให้นึกถึงอีกคำคือ #ห้องเรียนในอนาคต ซึ่งเป็นคำที่คิดต่างไปจากชื่อหนังสือเล็กน้อย เนื้อหาในหนังสือให้ความสำคัญกับ #เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้ พบว่า ในสื่อสังคมมีผู้บริหารการศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง สนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมถกเถียงอย่างสร้างสรรค์จำนวนมาก เข้าไปอ่านแล้วมีความสุข
slide_2564

เสนอสมการพื้นฐาน X + Y = Z ที่ใช้แก้ปัญหาการศึกษา
คำว่า #ห้องเรียนแห่งอนาคต กับ #ห้องเรียนในอนาคต เป็น 2 คำที่น่าชวนคิดนะครับ
อาชีพแห่งอนาคต
สาขาอาชีพแห่งอนาคต
นังสือ สาขาอาชีพแห่งอนาคต 3 (ปีที่พิมพ์ 2014) เป็นหนังสือที่ดี พบวางจำหน่ายใน se-ed มีคำนิยม ของนักวิชาการ 3 ท่าน ดังนี้ 1) ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เขียนว่า "ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมประเด็นความคิดจากเกร็ดความรู้เรื่องราวและมุมมองที่เป็นข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสาขาอาชีพและโอกาสใหม่ทางอาชีพได้อย่างน่าสนใจ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้หนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และนักวิชาการศึกษา ให้เข้าใจในทิศทางอาชีพที่เปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม" 2) ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา เขียนว่า "สำหรับเล่มนี้ อาจารย์วิริยะได้ทุ่มเทประสบการณ์และกำลังสติปัญญา ที่สำคัญสุดคือได้ทุมเทจิตใจในการกลั่นกรองข้อเขียนต่าง ๆ ออกมา โดยมุ่งหวังให้เป็นแสงสว่างอีกดวงหนึ่งที่จะช่วยนำอนาคตของนักเรียนทั้งหลาย โดยการจุดประเด็นให้ตัดสินใจเลือกเรียนวิชาที่เหมาะตอตัวเอง หนังสือเล่มนี้จึงสร้างคุณูปการต่อการศึกษาไทยเป็นอย่างยิ่ง" 3) รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เขียนว่า "'สาขาอาชีพแห่งอนาคต' เป็นอีกเล่มหนึ่งของความพยายามเสนอแนะข้อมูลใหม่ ๆ ที่พ่อแม่และเยาวชนควรทราบ เพื่อชีวิตที่รุ่งโรจน์ในอนาคต ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการศึกษาของชาติที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง"
สำหรับผมแล้ว คิดว่า
ถ้าวัตถุประสงค์ในวันนี้ คือ #สาขาอาชีพแห่งอนาคต แล้ว วางแผนอาชีพผิด ลงมือเรียนรู้สิ่งที่ต้องนำไปใช้ได้น้อย วัดผลไม่ตรงกับแผนอาชีพ คือ วัดผิด แก้ไขไม่ทัน ห่างแผน/วัตถุประสงค์ไปไกล คงต้องไปตั้งวัตถุประสงค์ใหม่ในอนาคต เพื่อให้มีรายได้ และอาชีพที่มั่นคงในอนาคต ตาม #ฐานสมรรถนะของตนเอง ดังคำว่า #ใครใคร่ค้าค้า #ใครใคร่ขายขาย
เพราะ #ผู้ที่อยู่รอดในอนาคต คือ #ผู้ที่ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด
อ่านเพิ่มที่ 16 อาชีพน่าสนใจ
ภาษาแห่งอนาคต
าษาใดก็สำคัญ พบว่า มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนสู่สากล ตามข่าวเมื่อ 20 พ.ค.2562 ว่า กพฐ. โดย นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนสู่ระดับสากล โดยมีผู้แทนจากสถาบันขงจื้อ สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติฮั่นปั้น มาร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่ ทบทวนหลักสูตรและเนื้อหา พัฒนาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตร นำเสนอระดับความสามารถของครูสอนภาษาจีน ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนั้นหากมีข้อเสนอแนะใด สามารถฝากคณะกรรมการฯ เสนอตามระบบและกลไกนี้ได้ ตามหนังสือแต่งตั้งลงวันที่ 14 มิถุนายน 2562 มีคณะอนุกรรมการฯ รวม 13 ท่าน โดยมี นายวิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เป็น ประธานอนุกรรมการชุดนี้
การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนสู่สากล
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการ พัฒนาคุณภาพภาษาจีนสู่สากล ศธ.
เรียนล่วงหน้า เรียนทบทวน เรียนพิเศษ
ะเรียนอนาคต เรียนปัจจุบัน เรียนอดีต หรือเรียนซ้ำแล้วซ้ำอีก มักต้องนึกถึงคำว่า เรียนพิเศษ หรือ เรียนกวดวิชา พบว่า เหตุผลหนึ่งที่ต้องเรียนพิเศษ คือ ครูไม่สอนในเรื่องที่อยากรู้ หรือครูสอนไม่เข้าใจ หรือที่ครูสอนนั้นไม่สามารถใช้แข่งขันได้ ดังนั้นการเรียนพิเศษ ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ช่วยควบคุมตนเอง ได้รู้แนวข้อสอบ เทคนิคเพิ่มเติมหรือมากกว่าเฉพาะในโรงเรียน
ดังนั้น ครูที่มี จรรยาบรรณวิชาชีพ ประจำใจ และมีความเชื่อมั่นในการสอนของตนเอง และมีความมั่นใจในสมรรถนะของผู้เรียนทั้งห้อง ว่ามีความรู้ความสามารถมากพอที่จะไปสอบแข่งขันในสังคมปัจจุบัน ก็จะไม่แนะนำให้นักเรียนขวนขวายหาเรียนเพิเศษ แต่ขอให้ตั้งใจเรียนในห้องเรียน ตามเนื้อหาที่คุณครูจัดเตรียมตามแผนการสอน เพียงเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
เหตุผลที่ต้องเรียนกวดวิชา
อันดับ 1 คือ เรียนเพราะอยากรู้ 83.28%
อันดับ 2 คือ เรียนเพื่อสอบแข่งขัน 80.58%
อันดับ 3 คือ เรียนเพราะครูสอนไม่เข้าใจ 76.62%
อันดับ 4 คือ ผู้ปกครองบังคับหรือเพื่อนชวน 65.80%
อ่านต่อที่ : dailynews.co.th/education/367435/
เหตุผลที่ต้อง เรียนพิเศษ
1. เพิ่มความมั่นใจ
2. รู้จักบริหารเวลา
3. ได้แนวข้อสอบ
4. มักได้เทคนิคที่นำไปใช้ตอบโจทย์
5. เรียนล่วงหน้าหรือทบทวน
อ่านต่อที่ : chulatututor.com/article/168
‘โรงเรียนกวดวิชา’ ในยุคนี้ไม่จำเป็นแล้ว หรือยิ่งจำเป็นมากกว่าเดิม
“พลัสเอ็ดดูเซ็นเตอร์” ธุรกิจกวดวิชา-โตสวนกระแสโควิด
I-STEP โรงเรียนกวดวิชา ที่รอดจากวิกฤติโควิด และบริหารโดยผู้หญิงอายุ 27
กวดวิชาคุณครู นับชั่วโมงได้ และมีเกียรติบัตร
ห้องเรียนในอนาคต พูดถึงเป้าหมาย มิใช่อุปสรรค
ห้องเรียนมีหลายห้อง และในห้องมีหลายคน
บางห้องพูดแต่อุปสรรค บางห้องพูดแต่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ คำถามคืออะไรไม่สำคัญ แต่คำตอบของแต่ละคน คือ สิ่งที่ต้องหากันเอง ว่าจะเป็นอุปสรรค หรือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
#ห้องเรียนในอนาคต พูดถึงเป้าหมาย
#ห้องเรียนในอดีต พูดถึงแต่อุปสรรค
นักเขียน - ดาเมียน บาร์ (Damian Barr, 1976-Present) กล่าวว่า “เราไม่ได้อยู่บนเรือลำเดียวกันทั้งหมด แต่เราอยู่ในพายุลูกเดียวกัน บางคนอยู่บนเรือยอชต์อันหรูหรา บางคนมีเพียงไม้พายอันเดียว” “We are not all in the same boat. We are in the same storm. Some of us are on superyachts. Some of us have just the one oar.”
อ่านเรื่องพายุของ ดาเมียน บาร์ ทำให้ผมนึกถึงบริษัทยา Pfizer ขึ้นมา
น่าคิดนะว่า บริษัทยา กับเราอยู่ในพายุลูกไหน
เสนอ - ประเด็นการศึกษากับสังคมในอุดมคติ
ห้องเรียนแห่งความสุข
การถกเถียง
ที่สร้างสรรค์
บางครั้งไม่ต้อง
มีข้อสรุปที่ตรงกัน

สังคมในอุดมคติ
ยูโทเปีย มหานครในฝัน
เขียน - เซอร์โธมัส มอร์ อาจารย์ทำอย่างไรกับพวก hater คิดลบ นักแซะออนไลน์
อาจารย์ทำอย่างไรกับ
พวก hater คิดลบ นักแซะออนไลน์
ประเด็นชวนแลกเปลี่ยน เพื่อความสุขของคุณครู
คืนครูสู่ห้องเรียน ลดภาระครูที่ไม่จำเป็น เพิ่มเวลาให้ครูได้สอน
มีระบบทำให้ครู และผู้บริหารทุกระดับมีคุณธรรม และสุจริต
วัดคุณภาพ ครู ผอ. โรงเรียนจากความรู้ ความสุขของเด็กและผปค.
ยกเลิกระบบแพ้คัดออก ที่อ่อนก็เติมเต็ม ที่เต็มก็แบ่งปัน
สอนให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กได้เตรียมตัวสู่อนาคต
การจัดการศึกษาต้องทำให้ชีวิตผู้เรียนดีขึ้น
ภาระครู คือ ช่วยเหลือให้เด็กอยากเรียนรู้ และค้นพบศักยภาพของตน
แจกอินเทอร์เน็ตให้นักเรียน ครู โรงเรียนเพื่อการศึกษาอย่างทั่วถึง
infographic2.pptx
utopia.htm
ประเด็นชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับห้องเรียนในอุดมคติ
จัดครูให้ครบชั้นในโรงเรียนเล็ก
จัดงบประมาณให้โรงเรียนได้มากพอ
งานการเงินและพัสดุไม่ใช่ของครู
เลิกส่งเล่มรายงานเป็นเอกสารกระดาษ
ประเมินแล้ว นำผลประเมินไปใช้
ลดเอกสารวิทยฐานะ
ลดตัวชี้วัดที่ไม่จำเป็น
ลดปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียน
แก้ปัญหาหนี้สินครู
ประเด็นที่ครู/นักเรียน/ผปค. ต้องมีคำตอบ - ห้องเรียนแห่งความสุข
เมื่อระบบการศึกษาไม่ตอบโจทย์ (System)
โรงเรียนจะทำลายความคิดสร้างสรรค์ (School)
วิชาที่เรียนไม่ได้ใช้ วิชาที่ใช้ไม่ได้เรียน (Subject)
เลิกการสอบคัดเลือกนักเรียน (Entrance)
เลิกเรียนเพื่อสอบ (Studing for exam)
เลิกท่องจำความรู้มุ่งสู่การฝึกแก้ปัญหา (Memorize)
ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้ (Homework)
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (Study time)
เลิกสนใจเกรดเฉลี่ย (Grade Point Average)
เลิกแข่งกันเรียน หันมาพัฒนาตนเอง (Competition)
การเรียกร้องให้เลิกสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ผ่านสื่อสังคม เรียบเรียง "เสียงเรียกร้อง ให้เลิกสิ่งที่มีประโยชน์"
- เลิกโครงการที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกหลักสูตรโบราณที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกกรอกข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกงานอื่นที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกส่งเด็กแข่งขันที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกคำสั่งที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกเอกสารที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกพิธีการที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกต้อนรับที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกจัดบูธที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกทำรายงานที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกประเมินที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกวิชาที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกตัวบ่งชี้ที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกรางวัลที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกแผนที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกปฏิบัติการที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกตรวจสอบติดตามที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีประโยชน์
- เลิกเรียนที่ไม่มีประโยชน์
+ เพิ่มสิ่งที่มีประโยชน์ ฯลฯ
เลิก108 โครงการ
โชคดีแค่ไหนแล้ว ที่ได้ตื่นไปโรงเรียน .. ในปัจจุบัน
นึกถึงนักเรียนที่ไม่ใช้โชคที่มีอยู่
ตื่นสาย ไปโรงเรียนบ่าย (Absent)
เข้าห้องเรียนสาย (Late)
ส่งงานช้ากว่ากำหนด (Expire)
ไม่อ่านหนังสือไปสอบ (Don't read)
รอที่จะแก้ ร. / รอสอบแก้ตัว (Incomplete)
นึกถึงนักเรียนที่ได้ไปโรงเรียน
ตื่นเช้า เตรียมตัวไปโรงเรียน (Preparation)
เข้าห้องเรียนตรงเวลา (On time)
ส่งงานตามกำหนด (Responsibility)
อ่านหนังสือไปสอบ (Review)
ทำครบถ้วน (Mission Complete)
เชิญชวน
การสร้างห้องเรียนแห่งอนาคต
ที่เข้าถึงเนื้อหาได้ทุกที่ทุกเวลา
ไม่จำกัดเพศ ความรู้ สมรรถนะ
ใคร ๆ ก็ทำได้โดยเฉพาะคุณครู
เรามาทำเว็บไซต์ด้านการศึกษา
ที่มีเนื้อหาส่งเสริมการเรียนรู้
เพื่อเด็กไทย เพื่อครู เพื่อการศึกษา
และเพื่อนผู้สนใจใฝ่ศึกษากันครับ
ปล. ทำทันที ถ้าตนเองมีความสุขและคนอื่นสุขด้วย
อ่านเพิ่มเติม
โรงเรียนเล็ก ที่จังหวัดเชียงราย (8 ม.ค.66) บโพสต์ของ Wiriyah Eduzones มีคำต่าง ๆ ให้นึกถึงตามโพสต์ เช่น ความสุข ความหวัง พัฒนา สมรรถนะ ความรู้ ดูแลใกล้ชิด บริบท เป้าหมาย มาตรฐาน ประกันคุณภาพ ตรวจเยี่ยม เด็ก ชุมชน ครู ผู้บริหาร ศน. เขต. สพฐ. สพม. รมต. โรงเรียนเล็ก อุตสาหกรรม นายจ้าง นวัตกรรม จัดอันดับประเทศ และ World Ranking
ห้องเรียนแห่งอนาคตอันใกล้ ประเมินแล้ว ทุกคนมีความสุข
- ประเมินคุณครู ตาม สมรรถนะคุณครู
- ประเมินนักเรียน ตาม สมรรถนะนักเรียน
- ประเมินโรงเรียน ตาม สมรรถนะโรงเรียน
- ประเมินชุมชน ตาม สมรรถนะชุมชน
- ประเมินการศึกษา ตาม สมรรถนะการศึกษา
- ประเมินเพื่อพัฒนา พัฒนาแล้วประเมิน
ทักษะชีวิต (Life Skill) คือ อะไร
ของขวัญวันครู อิ่มปัญญา การใช้ข้อมูลจากข่าวเพื่อการตัดสิน
ทักษะชีวิต คือ ทักษะพื้นฐานที่ช่วยให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จ ซึ่งทักษะชีวิตสามารถพัฒนาขึ้นมาได้จากการเรียนรู้ และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ผ่านพ่อ แม่ ครู และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะชีวิต โดยการให้ความรู้ คำแนะนำ และประสบการณ์จากการฝึกฝนในชีวิตประจำวัน
ทักษะชีวิตสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้ 1) ทักษะทางอารมณ์และสังคม 2) ทักษะการคิด 3) ทักษะการจัดการตนเอง 4) ทักษะทางกายภาพ นอกจากนี้ยังมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ มีดังนี้ 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการสื่อสาร 4) ทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 5) ทักษะการทำงานร่วมกัน 6) ทักษะการวางแผน 7) ทักษะการจัดการเวลา 8) ทักษะการวินัยตนเอง 9) ทักษะการจัดการความเครียด 10) ทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง
เรียบเรียงจาก bard.google.com
อิ่มปัญญา กับ ทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง และสาธารณสุขมูลฐาน
อาชีพที่เครียดมากที่สุด
ต่ละกลุ่มอาชีพที่คุยกันเฉพาะในกลุ่มของตน จะรับรู้ และยอมรับว่ากลุ่มอาชีพของตนนั้น มีความเครียดมากที่สุด เพราะแต่ละคน แต่ละกลุ่มอาชีพย่อมมีประสบการณ์ด้านความเครียดที่แตกต่างกันไป เมื่อเปิดมุมมองต้นกำเนิดของความเครียด และความเสี่ยงของกลุ่มอาชีพอื่น พบว่า มีการนำเสนอผลการจัดอันดับ อาชีพเครียดมากที่สุดตามคะแนน พบภาพ Infographic ของ Smart SME ได้ระบุที่มาของข้อมูลเป็น เว็บไซต์ Business News Daily มีผลการจัดอันดับ ดังนี้
1. ทหารเกณฑ์ 72.58 คะแนน
2. พนักงานดับเพลิง 72.38 คะแนน
3. นักบิน 61.20 คะแนน
4. ตำรวจ 51.94 คะแนน
5. ผู้ประกาศข่าว 51.27 คะแนน
6. ผู้ประสานงานอีเว้นท์ 51.19 คะแนน
7. นักข่าวหนังสือพิมพ์ 49.96 คะแนน
8. ผู้บริหารด้านประชาสัมพันธ์ 49.48 คะแนน
9. ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร 48.97 คะแนน
10. คนขับแท็กซี่ 48.17 คะแนน
ท่านล่ะ คิดว่าสายอาชีพของตน เครียดมากว่าสายอาชีพใดหรือไม่ สำหรับผมคิดว่าอีกสายอาชีพที่น่าจะเครียดอยู่ในรายการนี้ คือ พยาบาล ที่ต้องทำงานกับผู้ป่วย .โ.ค.วิ.ด. นะ
PDPA : ข้อมูลมีอิทธิพลต่อความคิด/การกระทำ ซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ความคิด (Thinking) มาจาก (Influenced by) ข้อมูล (Data)
ประสบการณ์ (Experience)
และพื้นฐาน (Fundamental)
ที่ต่างกันไป (Different)

PBL = Problem Based Learning
"นักเรียน ต้องหมั่นเพียร
ตั้งโจทย์ กำหนดปัญหาขึ้นมา
เพื่อถามตัวเอง
ว่า ข้อมูลอะไร ความเชื่ออะไร ประสบการณ์อะไร
ที่ส่งผลให้เราคิด หรือมีอิทธิพลต่อตัวเรา
ได้นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นพฤติกรรม
ที่ต่างจากเดิม หรือเหมือนเดิม
แล้วผลลัพธ์สุดท้าย คืออะไร
"
แนะนำ หัวข้อ/หนังสือที่น่าสนใจ
Book : Thinking Clearly with Data: A Guide to Quantitative Reasoning and Analysis
Blog : How I Let Data Influence Choices
Blog : Data-Driven Decision Making: A Primer for Beginners
Techtalkthai : ข้อมูลนั้นสำคัญทั้งบุคคล และธุรกิจ (/mis19)
เม.ย.65 - โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ใช้ทดลองใช้ หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ข้อความในภาพ ว่า "การปรับปรุงหลักสูตรฐานสมรรถนะ ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการนำร่อง ทดลองใช้ในโรงเรียนในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา อีกทั้งมีกลไกกระบวนการของการปรับปรุงอีกหลายขั้นตอน หากใช้จริงต้องแจ้งล่วงหน้า 3 ปี" โดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการฯ กพฐ. ซึ่งพบการแชร์ข้อความประกอบภาพ ว่า "หลักสูตรฐานใหม่ ยังไม่ประกาศใช้ แต่ เริ่มต้นแล้วในพื้นที่นวัตกรรม" โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชน์
ากข่าว 20 เม.ย.65 ใน Matichon online สรุปว่า ".. หลักสูตรที่จะพัฒนาใหม่ ให้ดำเนินการนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมตามที่ตกลงไว้เช่นเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง .." นั่นหมายถึง โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้มีโอกาสใช้ หลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่จะพัฒนาเด็กในพื้นที่นี้ ด้วยวิธีการสอนแบบใหม่ คิดไม่เหมือนเดิม ทำไม่เหมือนเดิม ผลการจัดการเรียนก็จะเกิดผลแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม เป็นผลลัพธ์เด็กในอนาคต ที่จะถูกใช้เป็นต้นแบบหลักสูตรสำหรับห้องเรียนในอนาคต หรือข้ามไปห้องเรียนจักรวาลนฤมิตกันเลย
‘อัมพร’ แจงมติกพฐ. แค่สับสน ยังไม่ประกาศใช้หลักสูตรใหม่
เครื่องมือวัดทักษะการคิด ใช้ข้อสอบแบบ PISA ได้ครับ ปีพ.ศ.2565 การสอบวัดประเมินผลด้วยเครื่องมือใดที่ใช้วัดทักษะการคิดได้ คือ ข้อสอบแบบ PISA ซึ่งมีตัวอย่างข้อสอบ เผยแพร่ใน ipst.ac.th เช่น 1) ข้อสอบคณิตศาสตร์ PISA 2012 2) การประเมินผลนานาชาติ PISA: การอ่าน พิมพ์ครั้งที่ 2 3) ข้อสอบการประเมินผลนานาชาติ PISA: คณิตศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 4) ข้อสอบการประเมินผลนานาชาติ PISA และ TIMSS: วิทยาศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 5) ข้อสอบการประเมินผลนานาชาติ PISA และ TIMSS: วิทยาศาสตร์ 6) การประเมินผลนานาชาติ PISA: คณิตศาสตร์ 7) การประเมินผลนานาชาติ PISA: การอ่าน มีลิงค์ให้ดาวน์โหลดแฟ้มแบบ pdf เผยแพร่ผ่าน google drive
25 ทักษะสำคัญสำหรับการเป็นครู
25ทักษะสำคัญสำหรับการเป็นครู — เพราะครูไม่ได้มีหน้าที่แค่สอนหนังสือ จึงต้องมีทักษะความชำนาญ ที่ประกอบด้วย 1) ความกระตือรือร้น (Enthusiasm) 2) ความเป็นผู้นำ (Leadership) 3) ความสามารถในการจัดการ (Organisation) 4) ความเคารพ (Respectfulness) 5) ความสามารถในการทำหลายสิ่งพร้อมกัน (Multitasking) 6) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) 7) ความสามารถในการสอน (Ability to teach) 8) การสื่อสาร (Communication) 9) การปรับตัว (Adaptability) 10) มนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Skills) 11) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 12) การประเมินตนเอง (Self-evaluation) 13) ความอดทน Patience) 14) การควบคุมอารมณ์ (Emotional intelligence) 15) ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) 16) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) 17) ความมั่นใจ (Confidence) 18) ความมุ่งมั่น (Commitment) 19) อารมณ์ขัน (Sense of humour) 20) เข้าถึงได้ง่าย (Approachableness) 21) จินตนาการ (Imaginative thinking) 22) การบริหารเวลา (Time management) 23) การใช้เทคโนโลยี (Computer skills) 24) กฎระเบียบ (Discipline) 25) ความแข็งแกร่ง (Stamina)
แหล่งที่มา careeraddict.com/teacher-skills
ผู้มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจ
ติดตาม (follow) ผู้มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจ (influencer) ที่สื่อสารเนื้อหา (content) ในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย (target audience) ซึ่ง influencer มักนำเสนอในเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับผู้ติดตาม ยิ่งเข้าไปมีส่วนร่วมกับผู้ติดตามได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้รับอิทธิพลจาก influencer เท่านั้น
ารกำหนดกลยุทธ์ของเนื้อหาว่าเป็นรูปแบบใด โดยอ้างอิงจากความชอบ และความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่เก็บไว้เป็นฐานข้อมูล แล้วนำไปพัฒนา เพื่อสร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพที่มีผู้ติดตามชื่นชอบมากที่สุด หลักจากนั้นจะพัฒนาเนื้อหาให้เกิดมูลค่าได้ อาจเป็นการตลาดทางตรง (direct marketing) หรือทางอ้อม (indirect marketing) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ต่อผลิตภัณฑ์ของตน หรือของผู้ประกอบการที่เข้ามาติดต่อว่าจ้าง
influencer คือ กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย และมีชื่อเสียงในด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเผยแพร่เรื่องราวต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างผู้ติดตาม และการมีส่วนร่วม เรียกได้ว่า เป็นการสื่อสารผ่านแนวคิดของบุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นการตลาดแบบปากต่อปาก
ปัจจุบันมีหญิงสาวต้นแบบผู้สร้างเนื้อหา ชื่อ หลี่ จื่อ ชวี่ (Li Ziqi) เธอเป็นต้นแบบของยูทูบเบอร์ชาวจีน ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก เป็น "a top influencer in china" เธออายุ 29 ปี แต่มีผู้ติดตามหลายล้านคนในหลายช่องทาง เนื้อหาเน้นไปที่ beautiful countryside and ancient tradition หากต้องการสินค้าของ Li Ziqi เข้าไปหาซื้อได้ที่ liziqishop.com
ถล่มทลาย "ตัวตนที่แท้จริง" ของคู่รักในชนบท โดย LANDNET
ช่องของ Li Ziqi
ความคิดเห็น ตามประเด็นที่น่าสนใจ
การเรียนรู้ภาษา เรียนที่นำไปใช้ได้จริง
เรียนตามฐานสมรรถนะ เรียนตามวิถีสู่สากล
เพื่อการสื่อสารตามเป้าหมาย
เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาให้เป็นทักษะ
และได้รับการส่งเสริมสนับสนุนต่อเนื่อง การเรียนรู้ภาษา เรียนที่นำไปใช้ได้จริง
เรียนตามฐานสมรรถนะ เรียนตามวิถีสู่สากล
เพื่อการสื่อสารตามเป้าหมาย
เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาให้เป็นทักษะ
และได้รับการส่งเสริมสนับสนุนต่อเนื่อง
การตั้งใจปฏิบัติหน้าที่จนแบบอย่างที่ดี
มักได้รับการชื่นชมจากผู้พบเห็น
การมีรางวัลให้บุคคลที่ดีเด่นแต่ละด้าน
คือ การสนับสนุนและให้กำลังใจ
ดังนั้น เป็นคนพึงทำดีร่ำไป การตั้งใจปฏิบัติหน้าที่จนแบบอย่างที่ดี
มักได้รับการชื่นชมจากผู้พบเห็น
การมีรางวัลให้บุคคลที่ดีเด่นแต่ละด้าน
คือ การสนับสนุนและให้กำลังใจ
ดังนั้น เป็นคนพึงทำดีร่ำไป
การสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้
เป็นที่ยอมรับของสังคม ที่มองเห็นปัญหา
เข้าใจปัญหา ได้เข้าไปมีส่วนร่วม
ในการบริหารจัดการทรัพยากรและแก้ปัญหาต่าง ๆ
จะช่วยให้ปัญหาทุเลาหรือหมดไป การสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้
เป็นที่ยอมรับของสังคม ที่มองเห็นปัญหา
เข้าใจปัญหา ได้เข้าไปมีส่วนร่วม
ในการบริหารจัดการทรัพยากรและแก้ปัญหาต่าง ๆ
จะช่วยให้ปัญหาทุเลาหรือหมดไป
กฎทองของศาสนาต่าง ๆ
  1. ศาสนาคริสต์ (Chritianity)ท่านอยากให้เขาทำต่อท่านอย่างไร ก็จงทำต่อเขาอย่างนั้นเถิด” (มัทธิว 7:12)
  2. ศาสนาคริสต์ (Chritianity)จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน” (ลูกา 6:31)
  3. ลัทธิขงจื๊อ (Confucius)จงอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ท่านไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน” (หลักปฏิบัติสั้น ๆ)
  4. ศาสนาพุทธ (Buddhism)หลักคุณธรรมที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามเป็นผู้ประเสริฐ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” (พรหมวิหาร 4)
แหล่งทุนสำหรับครูยุคใหม่ - กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDTech Fund)
องทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจัดตั้งขึ้นตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต การวิจัย และพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ โดย กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต การวิจัย การพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
องทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDTech Fund) มีประกาศเรื่อง การเปิดรับโครงการขอรับการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อย่างต่อเนื่อง พ.ศ.2563 # พ.ศ.2564 # พ.ศ.2565 # แล้วพบเอกสารเผยแพร่ในรูปของ แผ่นพับ # # ที่บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร รวมถึงมีรายชื่อผลงานและลิขสิทธิ์ของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาถึง 15 เรื่อง แล้วพบ แผนยุทธศาสตร์กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ.2563 - 2565 # และ แผนปฏิบัติการ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 -2565
คู่มือกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (กันยายน 2562)
แหล่งทุนสำหรับครูยุคใหม่ (EDTech Fund)
เด็กยุคใหม่ต้องมี 3 ส.
ด้ติดตามการแสดงความคิดเห็น ของครู อาจารย์ นักวิชาการ และเพื่อน ๆ ใน แฟนเพจ Wiriyah Eduzones ซึ่งให้ความสำคัญกับการสอนนักเรียนให้ 1) มีความคิดสร้างสรรค์ 2) เป็นคนสุจริต และ 3) มีทักษะการสื่อสาร อย่างน้อยเด็กยุคใหม่ต้องมี 3 เรื่องนี้ และคุณครูต้องเป็นต้นแบบให้นักเรียน เพื่อการพัฒนาตนเองตามวิถีที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
ร้างสรรค์ คือ สิ่งใหม่ที่ดี มีตัวอย่างผลงานของนักสร้างสรรค์ที่เราได้ใช้อยู่มากมาย เช่น Steve jobs, Bill gates, Mark zuckerberg การสอนผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์จะนำเด็กยุคใหม่ไปสู่การสร้างนวัตกรรมระดับโลกได้ เมื่อผู้เรียนได้เห็นบุคคลต้นแบบในห้องเรียน คือ คุณครู ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ จัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ ที่มาจากผลงานนวัตกรรม งานพัฒนา หรืองานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ของคุณครู แล้วนำประสบการณ์มาปรับใช้เป็นบทเรียน เพื่อจัดการเรียนการสอน นอกจากผู้เรียนจะต้องอ่านมาก และมากพอที่จะนำมาคิดสร้างสรรค์ได้แล้ว ผู้เรียนยังได้ฟังได้เห็นตัวอย่างผลงานของคุณครูที่ตีพิมพ์ในเวทีต่าง ๆ อาทิ การประชุมวิชาการ หรือวารสารที่ผ่านการแลกเปลี่ยนโดยเพื่อน ผลงานอาจถูกยกระดับเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือมีรางวัลเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งการเรียนการสอนก็จะถูกออกแบบเชิงบูรณาการจากผลงานสร้างสรรค์ของคุณครู ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จนไปถึงการต่อยอดเป็นงานสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในอนาคต
สุจริต คือ ความประพฤติดี ซึ่งเกณฑ์ตัดสินการประพฤติดีนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ตัดสิน เช่น ตนเอง คุณครู ผู้ปกครอง นายจ้าง หรือกลุ่มบุคคล ซึ่งยึดโยงกับตัวบุคคลเป็นสำคัญ และประพฤติดีที่สุดต่อตนเองคนเดียวยังไม่พอ ยังมีความประพฤติดีในอีกมุมหนึ่ง ที่ยึดโยงกับ ระบบและกลไก ที่กำกับโดยสังคมหรือองค์กร ซึ่ง ระบบ คือ ขั้นตอนที่ได้รับการพัฒนาจากอดีต สู่ปัจจุบัน และปรับเปลี่ยนไปในอนาคต เช่น ห้องเรียนแห่งอนาคต เป็นระบบที่ถูกใช้กำกับความประพฤติให้ดี ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ประเมินเพื่อพัฒนา และปรับใช้อยู่เสมอตามบริบทของฐานการเรียนรู้ เมื่อคุณครูผู้ช่วยเข้าใหม่ได้อ่านแนวปฏิบัติในห้องเรียนก็จะนำมาปรับใช้ และพัฒนาเป็นแนวทางของตนเอง ส่วน กลไก คือ ผู้กำกับดูแล ควบคุม ส่งเสริมสนับสนุน หรือให้การรับรอง คำว่า ประพฤติดี ที่ได้รับการยอมรับในสังคมวงกว้างอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ดีเฉพาะกลุ่มคน ชุมชน หรือคนใดคนหนึ่ง จึงจะเรียกว่า สุจริตต่อสังคม อย่างแท้จริง
สื่อสาร คือ การแลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ คุณครูควรมีทักษะและเป็นแบบอย่างของผู้สื่อสารที่ดี และใช้การสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมบทบาทของคุณครูใน ห้องเรียนแห่งอนาคต มีตัวอย่างของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ พบว่า 1) มีเฟสบุ๊คโปรไฟล์ ชื่อ Wiriyah Ruechaipanit ซึ่งคุณครูสามารถใช้เป็นเวทีเล่าเรื่องผลงานทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ตามความสนใจเฉพาะ แบ่งปันข่าวสารที่มีประโยชน์ ข้อมูลโรงเรียน สื่อสารกับเพื่อนครู นักเรียน แสดงทัศนะเชิงบวกต่อสังคมอย่างสร้างสรรค์ เป็น good practice สำหรับนักเรียน และเพื่อนครูด้วยกัน 2) มีแฟนเพจ ชื่อ Wiriyah Eduzones ซึ่งคุณครูสามารถมีแฟนเพจได้หลายหน้า เช่น ครูซูโม่ ชุมชนหลังเขื่อน ห้องเรียนเรือนแพ บทเรียนห้องเรียนคณิต ครูเคมีวัยละอ่อน ครูค้าขายของชุมชนออนไลน์ เป็นต้น เพราะนี่คือตัวอย่างคุณครูที่จะสนับสนุน และให้คำแนะนำนักเรียนให้สามารถมีแฟนพจเพื่อครอบครัว ชุมชน หรือตนเอง โดยมีคุณครูที่ยืนอยู่หน้าห้องคือต้นแบบใกล้ตัว 3) มีกลุ่ม ชื่อ เรียนรู้ฐานสมรรถนะ by Wiriya Eduzones ซึ่งคุณครูสามารถสร้างผลงาน หรือกลุ่มที่ตนเองสนใจสอดคล้องกับการใช้ชีวิต เช่น ผู้บริจาคโลหิต ผู้สูงอายุ อีบุ๊ค เคเอ็ม สุจริตไทย ดนตรีสากล เทควันโด เทนนิส ไอดอล ว่ายน้ำ กีต้าคลาสสิก หมากล้อม หมากรุก ถ่ายภาพ หนัง เพลง เกม หรือใช้สื่อสังคม ไปจนถึงการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ส่วนตัว บล็อก งานเขียนหนังสือ เพื่อที่จะได้มีประสบการณ์ไปพูดคุยให้คำแนะนำผู้เรียนในการสร้างเวทีของตน แล้วพัฒนาเป็นวิชาชีพ หรือเป็นวิชาชีวิตต่อไปในอนาคต
สอนแบบสุจริต ไม่สอนให้ จับเสือมือเปล่า
คุณครูเคยนำข่าวการหลอกขายของดีราคาถูก ที่พบเห็นในสื่อ หรือในชีวิตจริงรอบตัวไปเล่าให้นักเรียนฟังไหมครับ สินค้าก็มีหลายแบบเข้าแนวที่ว่า "ลงทุนน้อย แต่ได้ผลตอบแทนมาก" ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องลงแรง ไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องเสียเหงื่อ แต่ได้ความสุขมาแบบที่โบราณว่า "จับเสือมือเปล่า" ข่าวสองสาวโดนจับข้อหารับเปิดบัญชี กรณีขายโทรศัพท์ให้นักเรียนนำไปใช้เรียนหนังสือออนไลน์ช่วงโควิดระบาด จะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่นักเรียนควรรู้ว่า "ของดีราคามักไม่มีอยู่จริง" อีกตัวอย่างที่พบเห็นบ่อยมาก ที่เพื่อนของผมก็นำบทเรียนการถูกหลอก ไปเล่าในกลุ่มว่า มีพ่อค้าจะขายของมือสองที่เลิกใช้แล้ว ในราคาต่ำกว่าของมือหนึ่งเยอะ ต้องโอนเงินก่อน แล้วไปรับของ สุดท้ายก็ไม่ได้ของ ตัดการติดต่อและหายไป เสียเวลา ความรู้สึก และเงินทอง
ฤติกรรมที่ไม่สุจริตพบในสื่อได้บ่อยขึ้น เข้าแนวว่าหลอกให้เชื่อแล้วไม่เป็นตามนั้นสำหรับผู้หลงเชื่อ ในระยะแรกพฤติกรรมและข่าวสารที่ได้รับเป็นโอกาส และความหวัง ที่ผู้ให้ความหวังสร้างภาพขึ้นให้มีความสุข แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลังได้โอนทุกอย่างไปแล้ว ทั้งโอกาส และความหวังก็หายไปกับผู้ให้ความหวัง ความสุขก็หายไปพร้อมกับเวลา และทรัพย์สินที่สูญเสีย เปลี่ยนเป็นพฤติกรรมที่ไม่สุจริตในเวลาอันสั้น มีบทเรียนมากมายในอดีต ที่คุณครูสุจริตไทยควรต้องหยิบไปเล่าต่อ เพราะเรื่องราวการหลอกลวงในอดีตอาจเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งระยะนี้ (ก.ย.2564) ปรากฎข่าวหลอกขายโทรศัพท์ให้เด็ก ๆ เพื่อใช้ในการศึกษาออนไลน์ในราคาถูกจนกลายเป็นข่าวเศร้า
ไม่ปล่อยให้ใช้สื่อสังคมสร้างเหยื่อของความ-เก-ลี-ยด-ชัง ส่งผลต่อสุขภาพจิตในเด็ก
sunnywalker เรียบเรียงและแปลจากข่าวใน blogone.com เล่าว่า Frances Haugen อดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์ในสื่อสังคม อักษรย่อเอฟ ลาออกเมื่อพฤษภาคม 2564 ออกมาเล่าในรายการข่าว 60 Minutes เปิดเผยทั้งหน้าและชื่อ ว่า มีข้อความแสดงความเกลียดชัง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตในเด็ก แต่นโยบายการกลั่นกรองไม่ดำเนินการอย่างเต็มที่ดังที่เธอหวัง เธอกล่าวหาว่าูผู้ประกอบการ ว่าทำไปเพราะ เกรงว่า Engagement จะลด ทำให้กระทบผลประกอบการได้
ห้องเรียนในอนาคต คุณครูจะมีชุดความคิดเป็นบวก จะไม่มีการใช้ถ้อยคำที่ส่อเสียดถึงความ-เก-ลี-ยด-ชัง เพราะครูต่างรู้ดีว่า "จะมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตในเด็ก" ที่ชวนให้เกิดอคติที่ไม่สร้างสรรค์ ครูึจึงทำตัวเป็นต้นแบบ เพราะยืนในที่แจ้ง มีหน้าที่อบรมสั่งสอนเด็ก ดังนั้นสิ่งใดที่ไม่อยากให้กระทบ หรือเกิดขึ้นกับเด็ก ครูก็จะไม่ทำ ด้วยคุณครูย่อมต้องเอาใจเด็กมาใส่ใจเรา ไม่สื่อสารด้วยอารมณ์ ไม่สร้างปัญหาให้เด็ก ไม่ดูถูกดูแคลน ไม่พูดให้เด็กไม่สบายใจ ดังข้อคติเตือนใจท่อนหนึ่งในเพลง ที่ขับร้องโดย โฟร์-มด ว่า "เปลี่ยนกันไหม ให้เธอเป็นคนถูกทิ้ง มาเป็นผู้หญิง ที่ต้องไม่มี ไม่เหลือใคร" ซึ่งไม่มีใครอยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ไม่ว่าครู เด็ก ผู้อำนวยการ หรือผู้ประกอบการ
ข่าวเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพครู กับชุดว่ายน้ำ (17 K)
ครูมิกกี้ ระบายเอกสาร SDQ ชี้ทำให้ครูโรงเรียนรัฐไม่มีเวลาสอนหนังสือ
Vote - ไม่พอใจการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ
คำถามสอนนักเรียนเรื่องการสื่อสารในสื่อสังคม
ใน #ห้องเรียนแห่งอนาคต ถ้านักเรียนมีข้อเสนอแนะหรือร้องเรียน
เรื่อง "การจัดการเรียนของครูภาษาอังกฤษ"
คุณครูจะแนะนำให้นักเรียนเลือกส่งข้อร้องเรียนผ่านช่องทางใด

ส่งเข้ากล่องรับความคิดเห็น
ส่งอีเมลถึงหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หรือผู้ดูแลเรื่องนี้
ส่งจดหมายถึงหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หรือผู้ดูแลเรื่องนี้
ไปพบหัวหน้ากลุ่มสาระฯ หรือผู้ดูแลเรื่องนี้
ส่งข้อความผ่านแฟนเพจโรงเรียน
ส่งข้อร้องเรียนผ่าน เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ
โพสต์เอง/ฝากโพสต์ในสื่อสังคม เช่น แฟนเพจ
ค้นข้อมูล หลักสูตรที่น่าสนใจ ดาวน์โหลด มคอ.2 มาอ่านกันได้ ะบบรับทราบหลักสูตร CHECO (Commission on Higher Education Curriculum Online) มีหลักสูตรที่ได้รับการพิจารณาความสอดคล้องแล้ว 8046 หลักสูตร (20 ก.ค.64) หากต้องการ มคอ.2 ของหลักสูตรที่น่าสนใจมาอ่าน โดยเข้า google แล้วค้น "Checo หลักสูตร" หรือคลิ๊ก http://202.44.139.57/checo พบข้อมูล 8053 รายการ ค้นหา พยาบาลศาสตร์ พบ 77 รายการ เมื่อคลิ๊กเข้า คณะพยาบาลศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วคลิ๊กเข้า "หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ (พ.ศ.2562)" พบข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐานหลักสูตร 2) ข้อมูลอาจารย์ และผลงานของแต่ละท่านย้อนหลัง 5 ปี 3) เกณฑ์สำเร็จและค่าใช้จ่าย ซึ่งในหัวข้อสุดท้ายของส่วนที่ 3 พบหัวข้อ เอกสารแนบ ถ้าสนใจ Download มคอ.2 ทั้งเล่ม 100 หน้า ก็คลิ๊กดาวน์โหลดได้ที่นี่
จุดที่แนวแสงลู่เข้า (The power of focus)

Cristiano Ronaldo
นสื่อสังคม มีเรื่องมาชวนคิด ให้ความสำคัญ ชวนไป Focus เยอะมาก สื่อสังคมนำเสนอประเด็นจากทุกมุมมอง ทุกแง่มุม ทุกช่วงเวลา มองเห็นห้องเรียนในอดีต ห้องเรียนในปัจจุบัน ห้องเรียนในอนาคต นอกห้องเรียน ในห้องเรียน ห้องเรียนผสมผสาน ชุมชนนอกเมือง ชุมชนในเมือง ทุกประเด็นมี จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ภัยคุกคาม ทุกองค์กรมี ระบบ กลไก กรรมการทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ในด้านการศึกษามีการสอน การสอบ การวัดผลประเมินผล การอบรม การพัฒนาหลักสูตร ฐานสมรรถนะ ฐานคิดวิเคราะห์ อ่านออก เขียนได้ ทำงานเป็น เทคนิคการสอน การเรียน งานเทคโนโลยี งานวิจัย งานนวัตกรรม งานสร้างสรรค์ งานขอตำแหน่ง รางวัล ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง กฎหมาย กฎหมู่ จารีตประเพณี วัฒนธรรม มีเด็ก มีผู้ใหญ่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ ผปค. รมต. นักวิชาการ นักคิด ยูทูปเปอร์ ผู้พัฒนา ผู้ขาย เทรนเนอร์ ติวเตอร์ และชาวโซเชียล ข่าวจากสื่อสังคมหรือทีวี มีมาให้ได้แสดงความคิดเห็นทั้งที่น่าชม น่าติเตือน น่าติดตาม ข่าวสังคมมนุษย์ของผู้มีพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คุณธรรม จริยธรรม สุจริตไทย เรื่องราวความสำเร็จ ล้มเหลวของสตาร์ทอัพ พ่อค้าแม่ขาย อายุน้อยร้อยล้าน อีคอมเมิร์ซ อีเลินนิ่ง เครื่องมือ หรือประวัติบุคคลที่สำเร็จหรือล้มเหลว จากภาพตัวอย่าง The power of focus ในสนามมี 22 คน แต่มี 3 คนเท่านั้นที่ Focus แล้วเข้าใกล้จุดนั้นที่สุด แต่มีเพียง 1 คนที่เข้าถึงจนสำเร็จตามเป้าประสงค์ แล้วอีก 19 คน ท่านคิดว่าเค้าคิด หรือทำอะไรกันอยู่
คำถาม คือ ท่านโฟกัสเรื่องอะไร สำหรับผมที่ชื่อ Cristiano Ronaldo กำลังโฟกัสที่ลูกฟุตบอล
หมกมุ่นจนเปลี่ยนชีวิตได้ (dare to do)
อ่านจากแฟนเพจสมองไหล นำเสนอ quote จากหนังสือ "เพราะเป็นวัยรุ่น จึงเจ็บปวด" เขียนโดย คิมรันโด ทำให้นึกถึงคำอีกหลายคำ อาทิ "รอให้มีความพร้อม หรือ ลงมือสร้างความพร้อม" หรือ "กล้าที่จะทุ่มสุดตัว หรือ รอให้สุกงอม" ซึ่งเนื้อหาในหนังสือออกแนวชวนคิด ชวนโฟกัสไปที่ความสำเร็จ และการใช้เวลาให้คุ้ม เพราะ ความสำเร็จ (ตัวแปร X) ไม่ได้แปรผันตรงกับ ความสามารถ (ตัวแปร Y)ไปซะทุกกรณี เหมือนเด็กหลังห้องที่อาจประสบความสำเร็จได้เร็ว และอาจมีเด็กหน้าห้องที่ตามเด็กหลังห้องไม่ทัน ความสัมพันธ์ข้างต้นยังมีตัวแปรอื่นที่มาเป็นตัวเร่ง หรือตัวฉุด นั่นคือ ความกล้าหาญ ความหมกมุ่นทุ่มเท การใช้เวลา และการลงมือทำ ในชีวิตจริงเราไม่ได้มีตัวแปร X กับ ตัวแปร Y เท่านั้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นตามเวลาที่หมุนไปจากหนึ่งปี สองปี ห้าปี สิบปี แล้วความสำเร็จจะเพิ่มขึ้นนั้น อาจไม่เป็นจริงเสมอไป ที่แน่ ๆ คือ ความสำเร็จในอนาคตขึ้นอยู่กับว่า วันนี้ทำอะไรลงไป สรุปว่าลงมือทำวันนี้ เพื่อผลที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้
ความเป็นส่วนตัว ความสมเหตุสมผล ความเท่าเทียม และความเสมอภาค ห้องเรียนแห่งอนาคต เราทุกคนจะได้ฟัง และได้เรียนรู้ด้วยความเสมอภาค แล้ว 2 ธันวาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุมเผยแพร่ผลการศึกษา โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล ในสังคมยุคดิจิทัล: ศึกษาเปรียบเทียบต่างประเทศ” ที่ร่วมกันจัดโดย สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จากการฟังการเผยแพร่ผลการศึกษา พบคำที่น่าสนใจมากมาย เช่น PDPA (Personal Data Protection Act) ที่เป็นกฎหมายใหม่ของไทย ชื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ reasonable คือ สมเหตุสมผล หรือ proportionality คือ สัดส่วน ที่ใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาตามหลักกฎหมายที่ฟังผู้นำเสนอแล้วเข้าใจหลักเหล่านั้นได้ชัดเจนขึ้น
ล้วนึกถึงความเสมอภาคในห้องเรียนแห่งอนาคต ที่นักวิชาการด้านบริหารการศึกษาให้ความสนใจ พบว่า หากเราไปตีความว่า ความเท่าเทียม คือ ความเสมอภาค ก็คงไม่อาจคาดหวังว่าจะเกิด "สังคมที่เป็นธรรม" ที่ยึดหลักความยุติธรรม เป็นเป้าหมายของการสร้างสังคมอันพึงปรารถนาของทุกคน ซึ่ง ความเสมอภาคเป็นความยุติธรรม เกิดขึ้นเมื่อทุกคนเริ่มต้นด้วยทุนที่เท่ากัน ไม่มีใครเหลื่อมล้ำกว่าใคร ส่วนความหมายของ ความเท่าเทียม คือ ความเท่ากันไม่ต่างกัน
วามเท่าเทียม คือ การให้ทุกคนได้ทุกอย่างเหมือนกัน แต่ ความเท่าเทียม จะกลายเป็นความเป็นธรรมและความยุติธรรมได้ก็ต่อเมื่อทุกคนเริ่มจากจุดเดียวกันด้วยทุนที่เท่ากัน ซึ่ง ความยุติธรรมจะเกิดจากความเท่าเทียม ก็ต่อเมื่อทุกคนเกิดมาสูงเท่ากัน อายุเท่ากัน น้ำหนักเท่ากัน การศึกษาเท่ากัน หรือในสังคมที่ทุกคนมีอะไรเหมือนกัน ความยุติธรรมและความเป็นธรรมก็เกิดขึ้นได้ เป็น ความเสมอภาค (bangkokbiznews)
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
jurispudence = นิติศาสตร์ หลักกฎหมาย
marital right to privacy = สิทธิในการสมรสเป็นสิทธิในความเป็นส่วนตัว
public emergency = เหตุเร่งด่วนของสาธารณะ
just = ตามกฎหมาย
fair = เป็นธรรม
reasonable = สมเหตุสมผล
proportionality = สัดส่วน
legitimacy = ความชอบธรรม
equity = ความเสมอภาค (ทุน) = ความยุติธรรม
justice = ความยุติธรรม
equality = ความเท่าเทียมกัน เป็นมโนทัศน์ทั้งในมิติทางเศรษฐศาสตร์และมิติการศึกษา
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีบทความให้อ่านมากมาย

เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน
บทความ : จากครรภ์มารดาถึงมหาวิทยาลัย: มีลูกมากไม่ยากจนและเรียนที่ไหนก็ต้องเหมือนกัน - 11 พ.ย.2021
ชวนคิด - ความคิดสร้างสรรค์ กับ ความย้อนแย้งทางความคิด

rich mans / poor mans
พบ ชาวโซเลียลเสียงแตก เสมอ
พบ เรื่องที่เราก็ยังเลือกได้ยาก เสมอ
วามย้อนแย้งทางความคิด สามารถสะท้อนผ่านภาพ "ผู้นำและผู้ตาม" ซึ่งผู้นำจะ #คิดให้คนอื่นทำ หรือ #ทำให้คนอื่นคิด แล้วแต่ความเชื่อในแต่ละบุคคล ต่างจากผู้ตามที่มักจะเป็นบุคคลตัวเล็ก ๆ เสมอ และมักต้องทำงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย การสอนเด็กก็เพื่อที่จะพัฒนาเด็กให้มีความรู้ความสามารถสู่กว่ามาตรฐานการเรียนรู้ขั้นต่ำไปจนสูงสุด (2.00) สำหรับเด็กกลุ่ม Normal แต่จะสอนให้มีความรู้ความสามารถสูงสุด สำหรับเด็กกลุ่ม Excellent (4.00) ตาม วิถีการพัฒนการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ แต่ก็มีประเด็นน่าสนใจเข้ามาเกี่ยวข้องที่เป็นได้ตั้งตัวเร่งเร้าและตัวฉุดรั้ง ทั้งต่อตัวผู้นำและผู้ตาม หรือ ครูน้อยและครูใหญ่ อาทิ ความสำเร็จ ความสุข ความรับผิดชอบ ความพยายาม การวัดผล การสรุปผล ธรรมชาติของแต่ละบทบาท ความเสมอภาพ ความยุติธรรม และความเป็นมนุษย์ผู้มีกิเลสเกินมาตรฐานที่สังคมจะยอมรับได้
ห้องเรียนในอนาคต คือคำตอบ ถ้าพวกเราช่วยกันแก้ปัญหา
ฟัง นักเรียน เล่าปัญหา
ฟัง คุณครู เล่าปัญหา
ฟัง ผู้ปกครอง เล่าปัญหา
ฟัง นายจ้าง เล่าปัญหา
ฟัง ผอ. ยัน รมต. เล่าปัญหา
ฟัง เด็กหลังห้อง เล่าปัญหา
ฟัง เด็กหน้าห้อง เล่าปัญหา
ฟัง ติวเตอร์ เล่าปัญหา
ปัญหาจะทุเลาและหมดไป ถ้าร่วมกันแก้ปัญหา
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นที่ตัวเรา ไม่ใช่รอใครมากดปุ่ม มื่อมีปัญหา ก็จะมีคนหรือกลุ่มคนเสนอแนวทางแก้ไข มีคนเข้ามากำกับ ติดตาม ดำเนินการ ตามแนวทางการแก้ปัญหาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น แล้วจะมีคนหรือกลุ่มคนมาประเมินบอกว่าที่ทำมานั้น ถูกหรือผิด ดีหรือแย่ ได้ผลหรือล้มเหลว แล้วก็ประชุมวางแผน หาคน หาแนวทางการแก้ไข หวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ มีปัญหามากมายถูกชี้ ไปที่ ระบบ กลไก ครู ผอ. โรงเรียน เขต รมต. วิชา การสอบ หนังสือเรียน หลักสูตร หรือนักเรียน ซึ่งเชื่อว่าทุกวิธีการแก้ปัญหาจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดสิ่งใหม่ที่จะทำให้ผลนั้นดีขึ้น ส่วนใหญ่มักเชื่อว่า การแก้ปัญหาจะต้องเริ่มต้นที่ต้นต่อของปัญหา ที่อาจมีต้นตอมาจากจุดอ่อนทุกจุดในระบบ แต่ตามภาพ Quote ของ ดร.วิริยะ ใน TEDx ChiangMai เสนอแนวคิดน่าสนใจ พอจะสรุปเป็นข้อความกระชับขึ้น ได้ว่า "ความเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากตัวคุณเอง" ไม่ได้เริ่มต้นจากใครมากดปุ่ม
คำถาม คือ คำว่า "ใครมากดปุ่ม" ปกติแล้วท่านคิดว่า ใครหมายถึงใคร
กรณีศึกษา รถไฟญี่ปุ่น กับ พ.ร.บ.การศึกษา แห่งอนาคต อ่านข่าวจาก mgronline.com เมื่อปี 2559 พบว่า "สถานีคิวชิราทากิสร้างขึ้นในปี 1955 ตามคำร้องขอของชาวบ้าน เพื่อให้ลูกหลานสามารถเดินทางไปโรงเรียน และทางการรถไฟฮอกไกโด จำต้องปิดสถานีตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อนเนื่องจากแทบไม่มีผู้โดยสาร และได้สร้างสถานีแห่งใหม่ในย่านชุมชนที่อยู่ห่างออกไปแล้ว แต่ทางบริษัทรถไฟญี่ปุ่นได้เปลี่ยนใจยอมเดินรถต่อ เมื่อพบว่ามีนักเรียนหญิงคนหนึ่งต้องใช้เส้นทางรถไฟนี้ไปโรงรียนเป็นประจำทุกวัน"
สดงว่า ที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะมีหน้าที่ดูแลนักเรียนแล้ว บริษัทรถไฟญี่ปุ่น ที่เป็นภาคเอกชนก็เห็นความสำคัญของนักเรียนหญิงคนนี้ ได้ร่วมสนับสนุน เรื่องการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนของนักเรียน
เสนอ - สมรรถนะครูที่ต้องพัฒนาเร่งด่วน จาก สพฐ. พบ16 สมรรถนะที่จำเป็นเร่งด่วน สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา จากแฟนเพจ eduzones ตามภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการเป็น #ห้องเรียนแห่งอนาคต 1) ปรับตัวเข้ากับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลกได้ 2) ประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ 3) จัดการเรียนรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนได้ 4) ช่วยเหลือและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพได้ 5) ให้คำแนะนำผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ 6) รอบรู้ในเนื้อหาของสาขาวิชาเอกที่สอน และบูรณาการองค์ความรู้ได้ 7) วิเคราะห์ จัดทำ ใช้ ประเมิน และพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาได้ 8) จัดทำแผนการเรียนรู้และนำแผนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริงได้ 9) บริหารจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ 10) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารได้ 11) แสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้แก่ผู้เรียนได้ 12) ประยุกต์ใช้ หรือพัฒนาสื่อ และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ 13) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และนำผลไปพัฒนาผู้เรียนได้ 14) เลือกใช้ผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ 15) ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนได้ 16) มีทักษะฟัง พูด อ่าน เขียนไทย และอังกฤษเพื่อสื่อสารกับผู้เรียนได้
เสนอ - 6 แนวการสอนออนไลน์แบบได้ถ้วย นวสอนออนไลน์ที่ดี โดย #พ่อบ้านเล่างานวิจัย 1) เข้าใจว่ากิจกรรมไหนเหมาะกับการเรียนออนไลน์ และเลือกสรรอย่างมีจุดมุ่งหมาย 2) มีวิทยายุทธการออกแบบการเรียนรู้หลากหลาย 3) มั่นหน้ามั่นใจที่จะสอนออนไลน์ 4) ระบุปัญหาได้ และปรับเปลี่ยนรูปแบบตลอดเวลาตามความเหมาะสม 5) ไม่ยึดติดกับเทคโนโลยี 6) รู้จักใช้ data analytics เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน ชวนอ่านงานวิจัยเพิ่มเติม Award-winning faculty online teaching practices: Elements of award-winning courses by Swapna Kumar, Florence Martin, Kiran Budhrani, Albert Ritzhaupt
เสนอ - 13 เทคนิคการสอน อังคารที่ 16 มี.ค.64 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้จัดอบรมเรื่อง เทคนิควิธีสอน ใน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาเทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก (Active Learning) โดย ผศ.ดร.สุภัทร ชูประดิษฐ์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากร และฝากสไลด์ให้เพื่อนอาจารย์ได้ใช้ทบทวน 83 สไลด์ พบว่า เทคนิควิธีสอนที่ท่านแนะนำลักษณะการสอน ข้อดี และข้อจำกัดนั้น มีทั้งหมด 13 รูปแบบการสอน ประกอบด้วย 1) การสอนแบบบรรยาย 2) การสอนแบบอภิปราย 3) การสอนแบบสัมมนา 4) การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ 5) การสอนโดยใช้การระดมความคิด 6) การสอนแบบค้นพบความรู้ 7) การสอนแบบแก้ปัญหา 8) การสอนโดยเน้นการใช้คำถาม 9) การสอนแบบปฏิบัติการ 10) การสอนที่ให้เรียนรู้โดยใช้สื่อประกอบ 11) การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้น 12) การสอนแบบสาธิต 13) การสอนโดยการพาไปศึกษานอกสถานที่
เสนอ - เลือกสุขสนุกวันนี้ หรือวันหน้า ชีวิตเป็นของเรา ไม่ใช่ของครูหรือใคร ไม่ว่าครูคนแรกอยู่ในห้องเรียนคอยสอนสั่งหรือไม่ ครูคนที่สองจะสอนสนุกสุขล้ำเพียงใด หรือครูคนที่สามจะทำให้เราร้องไห้แทบขาดใจ แต่เรา คือ ผู้เลือกวิถีทางเรียนรู้ของตนเอง ว่า เลือกสุขเอาเผากินในวันนี้ แล้วใช้ชีวิตยากยิ่งในวันหน้า หรือ เรียนสุดยากลำบากนักในวันนี้ แล้วใช้ชีวิตแสนง่ายในวันหน้า
ลของการเลือก ไม่มีครูที่ไหน ไปคอยติดตามผลความสำเร็จของนักเรียนทุกคนได้ เพราะครูมีลูกศิษย์เปลี่ยนหน้าเข้าห้องเรียนทุกปี ถ้าจำได้ก็คงมีไม่กี่คน แต่ตัวเรา ความสำเร็จหรือล้มเหลวของตัวเรา มีเพียงตัวเราเท่านั้นที่รับไปโดยตรง และอยู่ติดตัวเหมือนเงา .. สรุปว่ารับผิดชอบต่อตนเอง คือ คำตอบ ว่าตัวเราจะเลือกทางไหน ว่าจะใช้ชีวิตยาก หรือชีวิตง่ายในวันนี้ หรือวันหน้า
เชื่อตาม ผู้มีอิทธิพลกันไปแล้วรึยัง

w3techs.com
ไม่ควรเชื่อ 10 อย่าง
ท่านเคยเชื่อเรื่องใด ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอะไรกันบ้าง เช่น เชื่อว่า ควรซื้อรถถังกับเรือดำน้ำเพื่อนำมาป้องกันประเทศ เชื่อว่า ความสุขสำคัญกว่าความสำเร็จ เชื่อว่า ครูหวังผลสัมฤทธิ์การสอนเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน เชื่อว่า มีเลขเด็ดจากรายการทีวี เชื่อว่า เรียนสูงจะได้ทำงานสบาย เชื่อว่า เฟรมเวิร์คใดดีกว่ากัน เชื่อว่า มีสิ่งที่เข้าสู่ซิงกูลาริตี้หรือสภาวะเอกฐานหรือจุดศูนย์กลางของหลุมดำในเรื่องใดใด คำถามชวนให้คิดทบทวน ชวนกันโฟกัสเรื่องนั้นอีกครั้ง คือ ใครเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเหล่านั้น เพื่ออะไรกันแน่ ไว้ใจได้กา อาจเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ครู อาจารย์ ป้าข้างบ้าน เพื่อน แฟน แฟนเพื่อน ข่าวทีวี หนังโฆษณา ป้ายข้างทาง เน็ตไอดอล ยูทูปเปอร์ นักวิชาการ นักพูด ผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติ ข้อมูลสถิติ อินโฟกราฟิก โพสต์ข่าวที่แชร์ต่อกันมา หรืออะไรอะไร
การจัดการเรียนการสอนจากการปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนจากการปฏิบัติ ารจัดการเรียนการสอนจากการปฏิบัติ (Active Learning) หรือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก คือ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เป็นต้น โดยกิจกรรมที่นำมาใช้ควรช่วยพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร การนำเสนอ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม บทบาทของผู้เรียน คือ มีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ทั้งกับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกัน บทบาทของผู้สอนในการถ่ายทอดความรู้ผ่านการบรรยายจะลดลง แต่เพิ่มบทบาทกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้
มีวิธีการสอนที่เน้นการเรียนแบบ Active Learning ดังนี้ 1) แบบระดมสมอง เช่น ช่วยกันคิดหัวข้อโครงงาน 2) แบบเน้นโครงงาน เช่น เขียนเว็บเพจบนฟรีโฮส 3) แบบแสดงบทบาทสมมติ เช่น คลิปวิดีโอเรื่องแรงบันดาลใจ 4) แบบแลกเปลี่ยนความคิด เช่น ร่วมกันคิดด้วยหมวกหกใบ 5) แบบสะท้อนความคิด เช่น การทวนสอบกิจกรรม 6) แบบตั้งคำถาม เช่น ตั้งคำถามให้ผู้เรียนหาคำตอบ 7) แบบใช้เกม เช่น การตั้งเกณฑ์และกติกาเขียนโค้ดให้บรรลุเป้าหมาย
chula.ac.th/../Active%20Learning_01.pdf (2 หน้า)
เสนอ - ให้ทำเฉพาะหน้าที่ครู บความคิดเห็นของแฟนเพจที่น่าสนใจ จึงเลือกมา Repost เพราะยอดไลค์สูง ตามที่ได้อ่านมา จึงคาดว่า #ห้องเรียนในอนาคต จะมีการใช้เฟสบุ๊ค เพื่อสื่อสารกับนักเรียน ครู ผปค. เขต รมต. และสังคม การเลือกเนื้อหามานำเสนอโดยคัดเลือก "Top likes จากครู" เพื่อเปิดให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เนื้อหาที่มีการให้เหตุผลจาก "คุณครู" ในแบบนิรนัย ที่เปรียบเทียบ อาชีพครู กับ ยาม (Guard) (นิรนัยจะอ้างจากกฎ ระเบียบ หรือข้อมูลอ้างอิง) เทียบกับหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย ที่มิใช่เพียงแต่การทำหน้าที่ครูในห้องเรียน สรุปว่า คุณครูจำนวนไม่น้อย อยากทำหน้าที่สอนอย่างเดียว ไม่ต้องทำหน้าที่อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เมื่อเปิดช่องทางให้แสดงความเห็น ก็เข้ามากดไลท์ และเสนอให้มีการทบทวนลดหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้อง อีกมุมหนึ่ง นับได้ว่าเป็นเวทีความคิดสร้างสรรค์ ให้แฟนเพจ ได้ระบายข้ออัดอั้น ผ่อนคลาย และสบายใจขึ้น ได้แสดงความคิดเห็นโต้ตอบกันไปมาต่อข้อเสนอของแฟนเพจ ที่เสนอทบทวนบทบาทหน้าที่ของครูในแบบของตน ซึ่งครูยังมีหน้าที่อีกมากที่เสนอให้ลด ละ เลิก ให้เหลือเพียงสอนในห้องเรียนอย่างเดียว
ซีรี่ - การแก้ปัญหาระบบการศึกษาแบบโบราณ มื่อดูภาพยนตร์ แล้วก็ย้อนดีตัว เป็นธรรมชาติขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ชวนคิด เรื่อง ส่งป้ามาปราบเด็กเกรียน [38] (No dropping out) "#ไม่มีทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือ #ส่งป้ามาปราบเด็กเกรียน เป็นเรื่องระบบการศึกษาของโรงเรียนมัธยมของรัฐบาลที่ญี่ปุ่น พื้นที่ในเนื้อเรื่อง เป็นห้องเรียนสหศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เด็กอายุราว 15 ปี ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเสนอต่อกรรมการการศึกษา ใช้ประกอบการเลือกแก้ปัญหาความสัมพันธ์ ของเด็กในโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง ในภาพยนตร์เสนอ 3 แนวทาง 1) การจัดการเรียนเฉพาะบุคคล เลือกเรียนวิชาที่ชอบ จัดการศึกษาเฉพาะตนอย่างอิสระ ไม่ยึดโยงกับเพื่อน หรือห้องเรียน 2) ระบบห้องเรียน ที่เด็กต้องพบกัน มาพบครู อยู่ในระบบเดียวกัน นั่งเรียน ทำงานกลุ่ม มีหัวหน้าห้อง มีเพื่อนร่วมชั้น เข้าเรียน เลิกเรียน และเรียนไปพร้อมกัน 3) ระบบจัดอันดับ rating ที่มีคนอยู่บนสุด ได้รับการยอมรับ และคนอยู่ล่างสุดในระบบ และยังมีกลุ่มที่ตกสำรวจ คือ ไม่อยู่ในการจัดอันดับ เป็นแนวคิดการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน เด็กจะได้แข่งกับตนเอง สังคม และเพื่อนไปพร้อมกัน ซึ่งแบบที่ 3 ถือเป็นระบบที่ดีที่สุด และแย่ที่สุดไปพร้อมกัน ไม่แปลกที่จะมีคนสนับสนุนสุดขั้ว และต่อต้านสุดขีดไปพร้อมกัน เพราะคนที่สนับสนุน คือเด็กหัวกระทิ คนต่อต้านคือเด็กหลังห้อง และประเทศจีนมีข่าว ปฏิรูปยกเซต! จีนห้าม รร.จัดอันดับคะแนนสอบ คุมปริมาณการบ้าน"
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การคิดเชิงสร้างสรรค์ คืออะไร
ocsc-2017-eb13.pdf
ความคิดสร้างสรรค์ คืออะไร
ถ้าเกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์ จึงมีการสอนแบบสร้างสรรค์ พบหนังสืออ่านเพิ่มเติมเป็น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การคิดเชิงสร้างสรรค์ ของสำนักงาน ก.พ. เมื่อปี 2016 หน้า 6 ได้ให้ความหมายโดยนักวิชาการหลายท่าน ดังนี้ 1) บารอน และเมย์ (Baron and May. 1960) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ (What is creativity) หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่จะนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ เกิดผลผลิตใหม่ ๆ รวมทั้งความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เช่น เอดิสันค้นพบหลอดไฟฟ้าและเครื่องไฟฟ้านานาชนิด ยังประโยชน์อย่างมหาศาลต่อชาวโลก 2) กิลฟอร์ด (Guilford. 1950) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) คือ ความคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกลนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้ 3) เวสคอตต์ และสมิท (Wescott and Smith. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางสมองที่รวมการนำประสบการณ์เดิม จัดให้อยู่ในรูปใหม่ เดรฟดาล (Dredahl. 1960) ให้ความหมายว่า เป็นความสามารถของบุคคล ในการคิดสร้างผลผลิตหรือสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการรวบรวมเอาความรู้ต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ออกมาในรูปของผลิตผลทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์หรือเป็นเพียงกระบวนการหรือวิธีการก็ได้ 4) วอลลาซและโคแกน (Wallach and Kogan. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถ 5) สเปียร์แมน (Spearman. 1963) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง อำนาจจินตนาการของมนุษย์ สามารถสร้างผลผลิตใหม่ ๆ 6) ออสบอร์น (Osborn. 1957) ได้ให้ความหมาย ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง จินตนาการประยุกต์ (Applied Imagination) ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากที่ประสบ
ซึ่งในบทที่ 5 หัวข้อ 5.1 เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ นำเสนอไว้ 7 เทคนิค [1] เทคนิคความกล้าที่จะริเริ่ม [2] เทคนิคการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ [3] เทคนิคแผ่นตรวจของออสบอร์น [4] เทคนิค CAI (Cognitive Affective for Implementing) [5] เทคนิคอุปไมยความเหมือน (Synectices) [6] เทคนิคการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ [7] เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats Technique)
การสอนแบบสร้างสรรค์ CBL
าขาหนึ่งที่ผู้เรียนจบมีงานทำ 100% คือ นาฏศิลป์ ครับ เพราะ หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้ คนเรียนจบทางนี้ จะมีศิลปะ บางคนไปทำงานด้านการแสดง งานบริการ งานออกแบบ organizers ออกแบบงานพิธีต่าง ๆ นับว่าเป็น อาชีวะ ที่เราละเลยไปมาก เพราะพูดถึงอาชีวะก็มักไปคิดถึงช่างกล ช่างยนต์ ผมลองแกล้ง ถาม อ. ว่า ถ้าไม่ได้เคยซ้อมกันมาเลย จะรำได้ใกล้กันไหม แบบเดียวกันไหม อาจารย์เลย ออกมาโชว์ให้ดูแบบไม่ได้เตรียมอะไรมาเลยครับ นี่คือ ความงดงามของรำไทย โดยอาจารย์นาฏศิลป์จากทั่วประเทศ ซึ่งมาอบรม การสอนแบบสร้างสรรค์ CBL (Creativity-based Learning) ซึ่งพบบทความ เรื่อง การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ อธิบายไว้ทั้งหมด 4 ตอนใน วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.2558 ารสอนแบบสร้างสรรค์ มีกระบวนการ 8 ข้อ ดังนี้ 1) กระตุ้นความอยากรู้ (Inspiration) 2) เปิดโอกาสให้ค้นหา และรวบรวมข้อมูล (Review) 3) ตั้งคำถามหรือปัญหา (Problem) 4) หาคำตอบหรือแนวทางแก้ปัญหา (Solution) 5) ใช้เกมในห้องเรียน (Game-based Learning) 6) แบ่งกลุ่มทำโครงงาน (Team Project) 7) นำเสนอผลงาน (Presentation) และ 8) วัดผลตามเป้าหมาย (Assessment)
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความคิดสร้างสรรค์ ศธ.
การศึกษาสิงคโปร์ สร้างชาติ มัยก่อน แบ่งเป็นห้อง Excellent กับห้อง Normal คือ เด็กหน้าห้อง กับเด็กหลังห้อง จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก เป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก และมีนโยบาย “จะไม่ปล่อยคนไม่เข้าท่า ออกสู่ถนนเด็ดขาด” วันนี้หากอยากพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า ต้องให้การศึกษาที่ดีที่สุดเพื่อสร้าง “ทุนมนุษย์” ไม่ใช่แค่ลงทุน แต่ต้องเข้าใจและโฟกัสอย่างจริงจัง แล้วสิงคโปร์ปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร? ไปชมกันครับ #จะทำก็ทำได้
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ชวนคิด - ก่อนหาความสำเร็จ ต้องหาตัวเองให้เจอก่อน

อกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของสถานศึกษา ส่วน อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
อัตลักษณ์ มาจาก อัต+ลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเฉพาะ คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว. คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยน
ความหมายของเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์

Resume ตัวตนที่กระชับ
เรื่องเล่า - #ห้องเรียนในอนาคต ตามแรงกระทบโควิด-19 กับทักษะการฟัง

ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
วันที่ 20 มิ.ย.2020 นี่เป็นช่วงเวลาเปิดปีการศึกษาของหลายสถาบันแล้ว ผมได้เห็นเด็ก ๆ ที่บ้านของผมนั่งฟังนั่งดูนั่งเรียนออนไลน์ได้ทั้งวัน ตั้งแต่ 9.00-16.00 และทำการบ้านต่อได้จนดึกดื่นค่อนคืน พบว่า คุณครูก็พูดบรรยายได้ทั้งวันเช่นกัน บางคนสอนสด บางคนสอนด้วยคลิ๊ป บางคนเรียนออนไลน์จากระบบ ตกเย็นมาเด็ก ๆ ก็นั่งทำงานกลุ่ม แต่บางวันก็เป็นงานเดี่ยว ตอนนี้ เด็กในหลายสถาบันคงมีทักษะการฟังดีขึ้น ต่อไปในอนาคต เด็กไทยคงมี #ทักษะการฟัง ดีขึ้นอย่างมาก รึว่าเราจะพากันเป็น Flipped classroom กันไปแล้ว ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ในหลายกรณี 1) นึกถึง #ห้องเรียนแห่งอนาคต ของ อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ที่ปล่อยวีดีโอมาให้ได้ชมได้ฟังอย่างต่อเนื่อง 2) นึกถึง ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ พูดถึง #การเตรียมตัวในเรื่องของอนาคต 3) นึกถึง ศ.ดร.สุชัชวีร์ หรือ พี่เอ้ ก็พูดเรื่องการเรียนในยุคต่อไป พูดถึงการเรียนอยู่บ้าน เรียนอย่างขะมักเขม้น #ผู้สอนก็เตรียมตัวอย่างอย่างขมีขมัน ไม่มีกำแพงของคณะ หรือมหาวิทยาลัย อีกต่อไป .. นี่เป็นภาพอนาคตหรืออย่างไร
"ที่สำคัญ ทุกคนเข้ามาช่วยเหลือกัน ไม่มีอาจารย์คนใดต่อต้านอีกเลย รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือ โดยไม่มีกำแพงของคณะ หรือมหาวิทยาลัยอีกต่อไป" นายสุชัชวีร์ กล่าว
ความสุขของเด็ก การสอบ และห้องเรียนในอนาคต
างทีติดตามอ่านโพสต์ ของ ดร.วิริยะ แล้ว ก็ทำให้รู้สึกสบายใจ และมีความสุขได้ครับ เช่น โพสต์ แสดงความเห็นถึงการเรียนในเรื่องที่ไม่จำเป็น "เด็กของเรา ทุกวันนี้เรียนเรื่องที่ไม่ได้ใช้ ส่วนเรื่องที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ได้เรียน" ผมสรุปว่า ห้องเรียนในอนาคต คือ คำตอบ
ระเด็น เรื่อง "การสอบ กับความสุขของเด็ก" ผมรู้สึกว่าเชื่อมโยงกันอยู่ ตามที่ได้อ่าน โพสต์ ของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เมื่อ 24 ธ.ค.63 ที่แสดงทัศนะในลักษณะการตั้งคำถาม ว่า "การสอบ ทำเพื่อใคร เด็กได้อะไร การทำตามอำนาจ โดยไม่สุจริต คือหายนะ" ผมรู้สึกชอบมาก เพราะมองในมุมของเด็ก และคล้อยตามที่ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับความสุขของเด็ก ตามภาพประกอบ โพสต์ เมื่อ 27 พ.ย.63 ที่ว่า "ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับ ความสุข ของเด็กในขณะศึกษา ไม่ใช่การสอบวัดผลเหมือนในปัจจุบัน"
มจึงแสดงความคิดเห็น ต่อโพสต์ไปว่า "เด็กสอบแล้วเป็นทุกข์ เด็กไม่สอบแล้วเป็นสุข" แล้วมีนักวิชาการมาแสดงความเห็นแบบผู้ใหญ่ ซึ่งผมก็ตอบกลับไปว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง (เนื่องจากเข้าใจฐานข้อมูลของผู้ใหญ่ และฐานข้อมูลของเด็กว่าแตกต่างกัน) เพราะผมเชื่อว่า "เด็ก มองความสุขเฉพาะหน้า แต่ผู้ใหญ่วางแผนที่จะมีความสุขในอนาคต" ทำให้เด็กจำนวนไม่น้อย เลือกกลับเข้าสู่ ห้องเรียนในอนาคต เหมือนภาพยนตร์เรื่อง Paper Towns หรือ Night school โดยชื่อคลิ๊ปนี้เขียนว่า "เรียนไม่เก่ง ไม่ได้แปลว่าโง่" เมื่อไม่สุขก็เลือกไปหางานทำ เหมือน Steve Jobs / Mark Zuckerberg / Larry Ellison (Oracle) / James Cameron (Avatar) / J. K. Rowling (Harry Potter) แต่ดร.วิริยะ เคย โพสต์ ชวนมองเรื่อง Right / Wrong จากการคิดที่แตกต่างกัน โดยเชื่อมกับข้อมูล เมื่อ 24 ธ.ค.63 ทำให้นึกถึง Blog เรื่อง 4 ความจริงที่คนเรียนไม่จบมหา’ลัย ไม่กลับมาเล่าให้คุณฟัง ! เขียนโดย CookieCoffee มีหัวข้อ ดังนี้ 1) Jobs & Gates ไม่ได้รวยเพราะเรียนไม่จบ 2) ผมเคยถูกปฏิเสธงานเพราะไม่มีวุฒิ / ใบปริญญา 3) และผมก็เคยคัดคนมาสัมภาษณ์, แน่นอนว่าผมดูใบปริญญาก่อน 4) ความขี้เกียจเป็นอภิสิทธิ์ของ Genius ขออนุญาต Quote "เดี๋ยวนี้ผมเจอเยอะมาก, เด็กยุคใหม่ที่ [..] ไม่พอ แต่ยังเลือกที่จะ [..] เพิ่มเข้าไป"
ความสุขของครู ที่พูดคุยแลกเปลี่ยนในสื่อสังคม
ความสุขของครู=อยู่ห้องเรียน
ความสุขของครู=มีครูครบชั้น
ความสุขของครู=มีครูครบเอก
ความสุขของครู=มีงบพัฒนาที่เพียงพอ
ความสุขของครู=เพื่อนครูมีคุณภาพ
ความสุขของครู=ระบบสอบมีคุณภาพ
ความสุขของครู=นักเรียนมีความสุข
สุจริตไทย

Chrome browser
aboutus.mhtml
สุจริต หมายถึง ความประพฤติดี ความประพฤติตามคลองธรรม ความประพฤติซื่อตรงต่อหน้าที่ ซึ่งคำว่า "สุจริตไทย" พบการเล่าในเฟสบุ๊คอย่างต่อเนื่อง โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เป็นการเล่าเรื่อง #ความสุจริต สลับกับ #คิดสร้างสรรค์ ที่แสดงออกอย่างหลากหลาย เน้นไปด้านคิดบวก และมีความสุข ชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของผู้คนในสังคมที่นำมาเป็นต้นแบบสุจริตได้
นวทางการจัดทำหลักสูตร "สุจริตไทย" ใช้งานวิจัยทางจิตวิทยา และบทความทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรแบบ E-Learning ที่มีมาตรฐานทางวิชาการ ซึ่งผู้วิจัยและออกแบบหลักสูตร คือ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และทีมงานอาจารย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนไทย ด้านการคอร์รับชัน เพื่อนำมาพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาวะทางสังคม ทั้งนี้ หลักสูตร "สุจริตไทย" ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิเพื่อคนไทย และ กองทุนรวมคนไทยใจดี (BKIND) โดยสำนักงานใหญ่ของ บริษัทสุจริตไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่อาคารเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กทม.
การถกเถียง - ไม่จำเป็นต้องมี ข้อสรุปตรงกัน
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ (1 ธ.ค.63)
"เหมือนกันหมด .. ผิดกฏธรรมชาติ
แตกเป็นสองฝ่าย .. หายนะ
หลากหลาย .. อยู่ได้ ยั่งยืน
"
ารถกเถียง ที่สร้างสรรค์ ไม่จำเป็นต้องมี ข้อสรุป ที่ตรงกัน (ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ 28 ธ.ค.63) ซึ่งเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะขณะอ่านเรื่องนี้ กำลังอ่านคู่มือการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีหลักสูตรต่าง ๆ ให้นิสิตได้เลือกเรียน กำลังสนใจรายวิชาต่าง ๆ ในแต่ละหลักสูตร จะชวนนิสิตคิดอย่างสร้างสรรค์ว่า วิชาใด จะได้เกรดเท่าใด แล้วชวนเรียนรู้การคำนวณ GPA และ CGPA บน Excel เพราะมีเป้าหมายพานิสิตหลีกหนีความเสี่ยงจากการพ้นสภาพการเป็นนิสิตนักศึกษา จากกฎเกณฑ์เรื่องผลการเรียน ที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์ระบุว่า ภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษาแรก ผลการเรียนมีเกรดเฉลี่ยสะสมต้องไม่ต่ำกว่า 1.5 และต้องไม่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.75 สองเทอมติดต่อกัน ซึ่งเชื่อกันว่าการเรียนแล้วเข้าใจในเนื้อหาในระดับที่ยอมรับได้ ผลการเรียนต้องไม่ต่ำกว่านั้น
น่นอนว่า นิสิตแต่ละคน แต่ละหลักสูตร แต่ละวิชา มีแผนสรุปอนาคตว่าจะเรียนได้เกรดอะไร คือ "ให้นิสิตถกเถียงกับตนเอง ไม่ต้องไปถกเถียงกับใครอื่น" ผลการถกเถียงด้วยตนเอง ก็ควรแตกต่างกันกับเพื่อน ไม่ใช่เหมือนเพื่อนข้าง ๆ ทุกรายวิชา จึงต้องกำชับว่า เรียน 4 ปีรวมกัน 130 กว่าหน่วยกิตนั้น ผลการวางแผนสรุปผลการเรียนในอนาคต ว่าควรได้เกรดอะไร ต้องมีข้อสรุปทั้ง GPA และ CGPA ที่แตกต่างกันไป ย้ำให้นิสิตตอบคำถามให้ได้ว่า "Who am i?"
ธรรมชาติของมนุษย์ กับการแสดงออก และการยอมรับ
กฎใด ๆ ที่ขัดต่อธรรมชาติของชีวิต
กฎนั้นจะโดนฝ่าฝืน
เช่น กฎหมายบังคับให้ทำ หรือห้ามทำ
เกาหลีใต้ยกเลิกกฎหมาย
ที่สร้างให้เกิดความยุ่งยาก
และขัดต่อธรรมชาติของการใช้ชีวิต
ไปหลายร้อยฉบับ เพื่อลดการคอร์รัปชั่น
แล้วเขาก็ลดการคอร์รัปชั่น สำเร็จจริง ๆ .. โดย wiriyah

"นักวิจัยพบรูปแบบการใช้อวัจนภาษาเพื่อแสดงอารมณ์ของบุคคล กับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อบนใบหน้าว่า มีลักษณะพื้นฐานที่ตรงกัน 7 ประการ ได้แก่ การแสดงอารมณ์สุขใจ ประหลาดใจ เศร้า โกรธ กลัว ดูถูก และรังเกียจ ซึ่งลักษณะทั้ง 7 ประการนี้มีความเป็นสากล (Ekman & Friesen, 1971)" โดย พัชรี สิริวัฒนาศาสตร์ เมื่อ 6 กันยายน 2008
" แนวคิดทางศริสต์ศาสนาที่เกี่ยวกับบาปทั้ง 7 ประการ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการไม่ให้มนุษย์ ทำตามสัญชาตญาณตามความพึงพอใจของตนมากจนเกินไป ซึ่งความต้องการทั้ง 7 ประการ ประกอบด้วย 1) ราคะ การหมกมุ่นทางเพศ 2) ตะกละ การบริโภคเกินความจำเป็น 3) โลภะ ความต้องการครอบครองไว้เป็นของตน 4) เกียจคร้าน การปล่อยเวลาให้ผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์ 5) โทสะ ความโกรธหรือความไม่พอใจ 6) ริษยา ความอิจฉาที่ไม่อยากให้บุคคลอื่นได้ดีไปกว่าตน 7) อัตตา หลงในอำนาจตนเอง" ในบทความของ ปิยวุฒิ และ พิชามญชุ์

สุธาสินี พ่วงพลับ. (2555). การสื่อสารด้วยอวัจนภาษาในพฤติกรรมโกหก หลอกลวงของมนุษย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(1), 141-151.

Ekman, P. & Friesen, W. V. (1971). Constants cross culture in the face and emotion. Journal of Personality and Social Psychology, 17, 124-129.

ปิยวุฒิ เกาะหมาน และ พิชามญชุ์ วรรณชาติ. (2562). แนวคิดเรื่องบาปทั้ง 6 ตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์และด้านมืดของตัวละคร ในนวนิยายชุด เจรจาต่อตาย ของ tiara. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น. 317-327). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ธรรมชาติของมนุษย์ อ้างอิง 126 รายการ
Human nature อ้างอิง 127 รายการ
มนุษย์ - อ้างอิง 120 รายการ
ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์
คำถาม : O-NET ควรไปต่อหรือพอแค่นี้
คำตอบ : อันดับ 1 ของ ชุมชน Eduzones
ควรยกเลิก
"เพราะ กลายเป็นการใช้งบประมาณโดยใช่เหตุ
นำไปใช้ศึกษาดูงานต่างประเทศ
ไม่เคยนำกลับมาพัฒนากับระบบการศึกษาไทย
"
สมัยครูตั้น-ณัฏฐพล ได้เสนอล้มหลักสูตรฐานสมรรถนะ (19 ต.ค.63)
น่าสนใจว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ 19 ต.ค.63 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (ครูตั้น) รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้ปรับใหม่ โดยจะไม่ใช่หลักสูตรฐานสมรรถนะแบบเดิมที่เคยมีการดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ส่วนจะใช้ชื่อหลักสูตรแบบไหน ให้คณะทำงานปรับปรุงหลักสูตรไปสรุปเป็นมติมาอีกครั้ง โดยกล่าวว่า "หลักสูตรใหม่จะทำให้เด็ก มีทักษะคิด วิเคราะห์เป็น และผู้เรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเลือกอนาคตได้ด้วยตัวเองว่าอยากจะทำอะไร โดยเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงตรงกับความต้องการของเด็กอย่างแท้จริง สำหรับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการปรับมาก่อนหน้านี้นั้น ผมยอมรับว่าจะต้องขอล้มล้างและนำมาเขย่ารวม เพื่อให้มีการปรับหลักสูตรใหม่ทั้งหมด โดยจะไม่ใช่หลักสูตรฐานสมรรถนะแล้ว แต่จะเป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมาอัปเดตใหม่ และเสริมด้วยการเรียนรู้เทคโนโลยีในอนาคต"
ล้วเมื่อ 21 พ.ค.64 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ คนปัจจุบัน ได้ตั้ง คณะกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีทิศทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็น หลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งผลการปรับปรุงจากที่เคยดำเนินการมาก่อนจะเป็นอย่างไร เราค่อยติดตาม (ร่าง) หลักสูตรใหม่กันต่อไป
หลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency Based Curriculum)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ [pdf]
ลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน​หลักสูตรกำหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ไว้ 5 ประการ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถที่จำเป็นของผู้เรียนต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ 1) สมรรถนะการจัดการตนเอง 2) สมรรถนะการสื่อสาร 3) สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม 4) สมรรถนะการคิดขั้นสูง 5) สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
มรรถนะทั้ง 5 ด้าน จะได้รับการพัฒนาผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ (Learning Area) 5 ด้าน เพื่อบูรณาการหัวข้อการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและแสดงความสามารถผ่านมุมมองต่าง ๆ ได้แก่ 1) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสุขภาวะกายและจิต 2) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม 3) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านโลกของงานและการประกอบอาชีพ 4) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5) ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสังคมและความเป็นมนุษย์
มรรถนะและขอบข่ายการเรียนรู้ถูกออกแบบและพัฒนาบนรากฐานสุขภาวะ (Well Being Foundation) 4 ด้าน ซึ่งสถานศึกษาจะต้องสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อม และกลไกการบริหารสถานศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่ 1) รากฐานด้านสุขภาพกายและจิต 2) รากฐานด้านสังคมและอารมณ์ 3) รากฐานด้านความฉลาดรู้ 4) รากฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ารพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะและรากฐานสำคัญ ผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญ คือ มาตรฐานการศึกษาของชาติในรูปแบบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) การเป็นผู้เรียนรู้ 2) การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม 3) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพป.นครปฐม เขต 2
ณัฏฐพล ลุยโละหลักสูตรฐานสมรรถนะ เขย่าใหม่เน้นเด็กคิดวิเคราะห์
โปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันดิทิทัลและพฤติกรรมฯ .. ปริญญานิพนธ์ (พิศุทธิภา เมธีกุล)
ลดสอบวัดผล แต่เพิ่มการเรียนรู้
ารเคี่ยวเข็ญ ให้เด็กฝึกปฏิบัติ ผ่านการบ้าน (Homework) งานมอบหมาย (Assignment) หรือโครงงาน (Project) จนมีทักษะสำคัญที่จำเป็น (Skill) จนเกิดสมรรถนะ (Competency) และใช้งานได้จริง (Actually works) ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของรายวิชา/หลักสูตร ที่จะตอบสนองความต้องการของนายจ้าง ภาครัฐ หรือสามารถทำงานเลี้ยงชีพได้
**หากลดลง**
ด็กจะมีเวลาเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ ในระบบออนไลน์ และเทคโนโลยีได้มากขึ้น ส่วนการสอบว่า ได้ผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ในรายวิชา/หลักสูตรนั้น ก็ต้องปรับไปวัดผ่านกิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ หรือผลงานที่มอบหมาย ด้วยทั้งผลงาน 1) การอ่าน (Literature Review) 2) การเขียน (Paper) 3) การนำเสนอด้วยปากเปล่า/โปสเตอร์ (Oral Presentation/Poster)
#สมรรถนะดิจิทัล (มีตัวอย่างข้อสอบด้วยคำถามอัตนัย)
สรุปได้ว่า "นโยบายทางการศึกษา มีหลายมุมมอง
ย่อมมีวิธีการที่เหมาะสม แตกต่างกันไปในผู้เรียนแต่ละคน"
ารพัฒนาการศึกษาของไทย ถ้าทำให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้บริหารได้ผ่าน #หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ และ #หลักสูตรสุจริตไทย มีความเชื่อว่า ปัญหาต่าง ๆ จะทุเลาเบาบางลงไปจากสังคมไทย หลักสูตรต้องใช้เวลาและมีความต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ กำกับโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ชำนาญ ที่จะเกิดขึ้นได้ใน #ห้องเรียนในอนาคต
โพสต์ให้ไตร่ตรอง หากการศึกษาไม่มีคุณภาพ Contemplation = ไตร่ตรอง เมื่อ 17 ส.ค.63 (wiriyah eduzones) ได้อ่านเรื่องเล่าที่ชวนให้ไตร่ตรอง ว่า เตือนศิษย์จากอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ด้วย วาทะของ Nelson Mandela การทำให้ชาติหนึ่งล่มจมไม่จำเป็นต้องใช้ระเบิดปรมาณู หรือขีปนาวุธพิสัยไกลหรอก เพียงแค่ลดคุณภาพการศึกษา และปล่อยให้นักเรียน นิสิต นักศึกษามีการโกงสอบ ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เกิดผลผลิตทางการศึกษาเช่นนี้
ล่อยให้นักเรียนโกงสอบ อาจก่อให้เกิดผลดังต่อไปนี้ 1) คนไข้ตายที่ไม่ควรตาย ก็มาตายในมือหมอ 2) ตึกถล่มจากผลงานวิศวกร 3) เงินสูญหายด้วยฝีมือนักบัญชี 4) มนุษยธรรมสิ้นไปในมือนักวิชาการทางศาสนา 5) ความยุติธรรมวอดวายไปในมือผู้พิพากษา 6) เด็กถูกทำร้ายจากครูที่ไม่มีจิตวิญญาณ 7) ผู้บริหารที่ไร้คุณธรรม เต็มบ้านเมือง
นั่นคือ ความล้มเหลวของการศึกษา และการล่มสลายของชาติ
#ยกเลิกการบ้าน
#ลดการบ้าน #ลดการสอบ จบในห้องเรียน
The Collapse of education is the collapse of nation
ม้า อรนภา ด่าแรง ไม่คิดว่าแรงจนตกงาน
สิ่งที่เยาวชน **คนหนึ่ง ** เรียกร้อง

กรณีศึกษา #hatespeech
นชีวิตจริง สังคมไม่ได้มีเฉพาะเยาวชน ยังมีผู้ใหญ่ ลูกจ้างองค์กร นายจ้าง พ่อค้า แม่ขาย เกษตรกร สถาบันการศึกษา ครู นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง แรงงานงานทั้งเอกชน และราชการ ในส่วนของเยาวชนก็มีทั้งเด็กหลังเขา เด็กหน้าเขา เด็กที่กำลังสู้เพื่อตนเอง เด็กที่เดินไปตามระบบ เด็กที่รอการช่วยเหลือ ล้วนมีข้อเรียกร้องแตกต่างกันไปตามแรงกระทบที่เข้ามาในขณะนั้น
ซึ่งมีข้อเรียกร้องที่รู้สึกคุ้นเคย ที่ถือเป็น want ดังนี้ "ขอเท่าเทียม เรียนง่าย เรียนน้อย แต่มีประสิทธิภาพ ไม่สอนที่จำ แต่ขอให้สอนที่จำเป็น ที่สร้างสรรค์ เพิ่มทักษะ สมรรถนะ นวัตกรรม และเอไอ สอนให้อยากเรียน และเรียนอย่างมีความสุข มีงานรอ อยู่บ้านทำได้ (Work From Home) เงินเดือนสูง ไม่มีกฎหมายที่บังคับเยอะ"
ทั้งหมดข้างต้น คือ เรื่องชวนคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียนในอนาคต ชวนจินตนาการไปว่าห้องเรียนในอนาคตจะมีรูปแบบอย่างไร และ 20 ส.ค.63 หัวหน้าของผมชวนคิดเรื่องสิงสาราสัตว์ ทั้งเสือ สิงห์ กระทิง แรด ช้าง ม้า วัว ควาย หมู เห็ด เป็ด ไก่ ก็เป็นเรื่องราวสะท้อนคิดถึงวิถีในปัจจุบัน และสิ่งที่อยากจะเห็นในอนาคต ก็เป็นประเด็นชวนคิดอีกเรื่องหนึ่ง
ปล. ข้อ 10 ใช้เน็ตฟรี ข้อ 11 เลิกพรบ.คอมฯ แล้วเปิดเสรีการแสดงความเห็น
สอนผู้เรียนให้รู้ แต่จะใช้เก่งจนรบชนะ ต้องฝึกฝนเอง สุดคลู .. คติเตือนใจ "ผมสอนวิธีการ **ใช้อาวุธ** ส่วนคุณจะรบเก่งหรือไม่ อยู่ที่การ **ฝึกฝน**" จาก เพจหมออนามัยไอที โดย กิตติคุณ ยศบรรเทิง ชำนาญด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ แต่ทักษะการใช้ไอทีเป็นอันดับหนึ่ง เป็นที่ประจักษ์ด้วย รางวัลในระดับประเทศ (2017) ซึ่งทุกวันนี้ท่านก็สอนผู้เรียนธรรมดา ให้เป็นผู้เรียนที่ใช้ไอทีเป็นอาวุธ จนมีสมรรถนะที่จะสู้รบปรบมือได้
ทำให้นึกถึงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นทักษะอาชีพ (Life and Career Skills) คือ เรียนเพื่อทำงาน และใช้ชีวิตเป็น สมัยนี้หลักสูตรต้องมีหน่วยกิตปฏิบัติเพิ่มขึ้น ต้องสำรวจว่าผู้เรียนแต่ละท่านอยากทำงานอะไรในด้านใด แล้วส่งไปฝึกงานกับผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะวิชาชีพด้านนั้น ถ้าฝึกยาวนานกันเป็นเทอมอาจต่อยอดทำงานได้เลย เรียกว่า **สหกิจศึกษา** ซึ่ง ผลลัพธ์ของการส่งผู้เรียนที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา ไปฝึกกับผู้เชี่ยวชาญก็มีได้ทั้งมุมบวกให้ต่อยอด และมุมลบที่ต้องกลับไปพัฒนากันใหม่ แล้วชวนคิดกันต่อได้ในอีกหลายมุมมอง
วลี "ตำราต้องมาก่อน" สนองนิสิตผู้อยากรู้อยากเห็นทุกคน ลี "ความสุขของนักเรียนต้องมาก่อน" หรืออีกหลายคำที่มีความสำคัญที่ถูกเสนอให้มาก่อน วันนี้เสนอคำว่า "ตำราต้องมาก่อน" ถ้าไม่มีตำราก็ไม่มีอะไรจะสอน เพราะไม่มีให้นิสิตได้อ่านที่บ้านแบบ Flipped Classroom แนวโน้มห้องเรียนในอนาคตนั้น ผู้เรียนจะหาความรู้จากตำราในอินเทอร์เน็ตได้อย่างไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดผู้สอน ไม่จำกัดเรื่องที่สนใจ ตำราหาดาวน์โหลด หาซื้อ หายืมได้ตลอดเวลา ตอกย้ำด้วยคำที่ ริท เรืองฤทธิ์ กล่าวว่า "ตำรา มันเขียนไว้ให้แล้ว เราแค่ไปอ่านและท่องจำมันเอง" สรุปว่าถึงเวลาที่ต้องไปหาสิ่งที่ต้องการ แล้วหาให้เจอ ในตำรานั่นเอง
ปล. ภาพประกอบการชักชวนนักเรียนมาเรียน เป็น #ทันตแพทย์
และอีกหลายหลักสูตร ที่ มหาวิทยาลัยเนชั่น
หมวกการคิด 6 สี หรือทฤษฎีหมวก 6 ใบ
ขาว : ข้อเท็จจริง
แดง : อารมณ์ความรู้สึก
เขียว : ริเริ่มสร้างสรรค์
เหลือง : เชิงบวก/คิดดี
ดำ : เชิงลบ/คิดต่าง
น้ำเงิน : คิดรวบยอด
sixhat SixThinking Hats คือ เทคนิคทรงพลัง เพื่อช่วยเพิ่มมุมมองสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ ช่วยให้เราคิดนอกกรอบจากความคิดเดิม ช่วยให้ได้ข้อมูลแวดล้อมต่อสถานการณ์ที่กำลังสนใจ (5W1H) เครื่องมือนี้ ถูกสร้างโดย Edward de Bono จากหนังสือ 6 Thinking Hats . เช่น ถ้าท่านเป็นผู้นำประเทศ Sweden จะทำอย่างไร เมื่อ โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก หรือ ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้วจะทำอะไร หรือ ถ้าเกษียณแล้วจะทำอะไร หรือ ถ้าอาชีพหลักมั่นคงแล้วจะทำอาชีพเสริมอะไร แล้วยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมาก เช่น ไอที การเมือง เพลง ภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา ธุรกิจ สุขภาพ อาชีพเสริม ชีวิตโสด ห้องเรียนในอนาคต หรือ ชวนกันตอบคำถาม ว่า "ความสุขกับความสำเร็จ อะไรเกิดก่อน" ซึ่ง Shawn Achor สรุปกฎจากการวิจัยไว้ 7 ข้อ 1) คิดบวก สุขไว้ก่อน 2) กดคานและจุดหมุน 3) หาโอกาสในภัยคุกคาม 4) ล้มเพื่อก้าวต่อ 5) ทอนเป้าใหญ่ให้เล็กลง 6) เปลี่ยนเริ่มที่ 20 วินาที 7) คบคนดี
ถ้าท่านเป็นครู จะสอนนักเรียนอย่างเต็มกำลัง
เหมือนที่ตัวคุณครูเคยถูกสอนมา เช่นในอดีต
หรือเลือก พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล
ห้องเรียนในอนาคต ควรเป็นอย่างไร (Vision)
ลสัมฤทธิ์จากการเรียนรู้ในห้องเรียนในอนาคต
ควรมีเป้าประสงค์อย่างไร

1. ผู้เรียนมีการศึกษา เป็นคนที่ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัว (ethics)
2. ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ (Inspiration)
3. ผู้เรียนมีความสามารถ ทำงานได้ และมีปัญญา (Ability)
4. ผู้เรียนมีมุ่งมั่น ที่จะทำฝันให้เป็นจริง (Imagination)
5. ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
เรื่อง Flipped classroom คล้าย Learning From Home
ภาพ/ข้อมูลจาก academia.edu / skilllane.com / techno.lru.ac.th / innohubkku.com
ปี 2013 หรือ 6 ปีที่แล้ว
การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กับ การสอนออนไลน์
ารสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) คือ การจัดการเรียนการสอนที่สวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน โดยให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ผ่านอินเตอร์เน็ตนอกห้องเรียน นอกเวลาเรียน ส่วนในห้องเรียนจะเป็นการจัดกิจกรรมอื่น ๆ แทน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ลักการของ Flipped Classroom คือ การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา บวกกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เนื่องจากเวลาในห้องเรียนมีจำกัด การที่จะให้ผู้เรียนเข้าใจในความรู้บางอย่างอาจมีเวลาไม่พอ ดังนั้น 1) การศึกษาผ่านวีดีโอที่ได้เตรียม/บันทึกไว้แล้ว 2) รวมทั้งการอ่านหนังสือเพิ่มเติม 3) ปรึกษาเพื่อนหรืออาจารย์ผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถทำได้ล่วงหน้านอกห้องเรียน 4 ) ส่วนเวลาในห้องเรียน อาจารย์ก็สร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมที่ออกแบบไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติ อาจารย์ก็เดินสำรวจไปรอบ ๆ ห้อง คอยให้คำแนะนำหลักการที่เข้าใจยาก หรือปัญหาที่ผู้เรียนพบ วิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจความรู้ และเชื่อมโยงในหลักการมากยิ่งขึ้น
F : Flexible Environment
คือ มีความยืดหยุ่นของสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
L : Learing Culture
คือ ยกระดับจากวัฒนธรรมการเรียนรู้ จากครูเป็นศูนย์กลาง สู่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
I : Intentional Content
คือ ผู้สอนต้องทำการบ้านมาอย่างดีเยี่ยม เพื่อเตรียมเนื้อหา เครื่องมือ วิธีการ และสื่อที่เหมาะสม
P : Professional Educator
คือ ผู้สอนต้องมีความเป็นมืออาชีพมาก เพราะรูปแบบการเรียนจะเน้นการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
อ่านเพิ่ม innohubkku.com โดยน้อง inno มข.
ก้าวของมหาวิทยาลัยไทย ฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ายการคิดยกกำลังสอง นำเสนอทัศนะของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เรื่องการปรับตัวของมหาวิทยาลัย จากผลกระทบจากโควิด-19 พบว่า หลายแห่งเริ่มปรับตัว หลายแห่งปรับตัวได้ดี สิ่งท้าทายของอาจารย์ ไม่ใช่พูดกับกล้องเท่านั้น แต่ต้องรักษาปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา
1. ปฏิสัมพันธ์ .. สำคัญสุด
2. เตรียมตัวก่อน .. เตรียมสอนผ่านสื่อ
3. ติดตามเช็คความเข้าใจ .. ให้คำปรึกษา
4. สร้างชุมชนการเรียนรู้ .. สู่การเรียนใหม่
ต่อไปจะก้าวเข้าสู่ห้องเรียนกลับทาง ที่หมายถึง การเรียนรู้แบบใหม่ ที่เรียนรู้ได้มากกว่าการเรียนรู้แบบเดิม ไม่ต้องยึดโยงกับปฏิสัมพันธ์ในระบบที่ฉุดรั้งคนไว้ แต่มีอิสระอย่างมากที่จะมุ่งมั่นเรียนรู้ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
หน้าที่ของนักการศึกษา อ่านภาพประกอบบทความเรื่อง "ระบบการศึกษาที่ไม่สำเร็จ คือ การทำตาม ๆ กัน เหมือนเชื้อโรคที่ระบาดไปทั่วโลก" ของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ มี 4 ประเด็น 1) Competition ระบบการแข่งขัน แข่งกันระหว่างโรงเรียน แข่งกันระหว่างนักเรียน 2) Test-based accountability ระบบการวัดผลการเรียนรู้ของคนด้วยการสอบ 3) De-professionalisation การไม่เชื่อในศักยภาพวิชาชีพครู 4) Addicted to reform การเสพติดการปฏิรูป เอะอะอะไรก็จะปฏิรูป ว่า "เด็กทุกคนมีดี ดีพอที่จะสำเร็จ แต่เป็นความสำเร็จ ในทางที่ต่างกัน หน้าที่ของนักการศึกษา คือ ช่วยให้เขาค้นพบ ศักยภาพในตัวเขา" ดังนั้นผมคิดตามไปว่า "นักการศึกษาทุกคนมีหน้าที่ทำให้เด็กทุกคน ค้นพบศักยภาพในตัวเขา และสำเร็จในทางที่ต่างกัน"

อีลอน มัสก์
น้าที่ (Function) ของ #นักการศึกษา สู่การปฏิบัติ นักการศึกษาต้องเล่าถึงทางเลือก แสดง และนำพาเด็กแต่ละคน ให้เข้าใจ ได้ลองทำ และก้าวเดินสู่ความสำเร็จ ด้วยเส้นทางใดบ้าง 1) เด็กมีศักยภาพพอที่จะเลือกเส้นทางสู่ความสำเร็จที่ไม่ต้องแข่งกับใครนอกจากตัวเอง 2) ไม่ต้องวัดผลกับใคร แต่ใช้ความสำเร็จในแต่ละเป้าหมายเป็นตัววัด ว่าวันนี้พอใจหรือเริ่มอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น 3) ศรัทธาในอาชีพครู เพราะครูทั้งออฟไลน์ และในสื่อออนไลน์ ล้วนนำพาเด็กไปสู่ความสำเร็จที่เลือกได้แบบไร้ขอบเขต 4) การเปลี่ยนแปลงของระบบภายนอกเป็นเพียงเปลือก จงรักษาระบบคิดภายในที่มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ระบบภายนอกใดมาเปลี่ยนแปลงเป้าหมายความสำเร็จของเราไม่ได้ ทั้ง 4 ข้อนี้เป็นหน้าที่ของนักการศึกษา ที่ต้องช่วยเด็กให้พบศักยภาพของตนเอง และนำพาไปสู่ความสำเร็จของแต่ละคน
$a=1; 
$b=1.0;
$c=1 + 0; 
var_dump($a, $b, $c); // int(1) float(1) int(1)
if($a == $b) echo("<br/>== : เทียบค่า");
if($a === $b) echo("<br/>=== : เทียบค่า และรูปแบบ - false"); 
if($a === $c) echo("<br/>=== : เทียบค่า และรูปแบบ - true"); 	
if($a = $b) echo("<br/>= : ส่งค่าสำเร็จ<br/>");
var_dump($a, $b, $c); // float(1) float(1) int(1)
#ห้องเรียนในอนาคต กับความเหมือนที่แตกต่าง
มองการเรียนรู้เป็นกระบวนการ แบบ input process output ที่แบ่งแยกมิได้ แต่เชื่อมโยงเป็นขั้นตอนที่เรียกว่าระบบ
การเรียนรู้ = กระบวนการ
การรู้เรื่อง = ผลผลิต
เรื่องที่เรียน = สิ่งนำเข้ากระบวนการ
และการศึกษาเป็นระบบเปิด
สวีเดน กับ ภูมิคุ้มกันหมู่
April 28, 2020
ภูมิคุ้มกันหมู่ ที่สวีเดนเลือก แต่อังกฤษถูกค้านอย่างหนัก
28 เม.ย.63 "รับมือโควิดในสวีเดน : ว่ายทวนน้ำด้วยแนวคิด ภูมิคุ้มกันหมู่ ไม่ปิดเมือง แค่รักษากราฟไปเรื่อย ๆ" อ่านดูบทความแล้ว พบว่า ประเทศสวีเดนมีการบริหารที่แยกกันของข้าราชการกับนักการเมืองอย่างชัดเจน และความเป็นประเทศประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ยึดมั่นในกฎหมาย รวมถึงการให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กอย่างจริงจัง แล้วจากหลักคิดที่เข้มแข็งทางการศึกษาและประชาธิปไตยสู่การต่อสู่กับโควิด-19 ด้วยวิถีที่แตกต่าง พบว่าผลจากการเลือกน่าติดตามต่อไป
8 เม.ย.63 อ่านเรื่อง ภูมิคุ้มกันหมู่ ว่าเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา คำว่า Herd immunity กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากคำกล่าวของ แพทริก วัลแลนซ์ (Patrick Vallance) หัวหน้าที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ กล่าวว่า รัฐบาลต้องการยืดเวลาอัตราการระบาดของ COVID-19 ออกไปให้นานที่สุด เพื่อให้เกิด Herd immunity ในประชากรได้ จากนั้นก็มีการพูดถึงกันกว้างขวางและถกเถียงถึงความเป็นไปได้ที่จะป้องกันการระบาดของ COVID-19 มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและโต้แย้ง มีนักวิทยาศาสตร์อังกฤษกว่า 229 คนส่งจดหมาย คัดค้านข้อเสนอเรื่อง Herd immunity เพราะมองว่าเป็นมาตรการที่เสี่ยงเกินไป ในที่สุด กระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษก็ออกมาแถลงว่า Herd immunity ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในแผนปฏิบัติการของกระทรวงแต่อย่างใด
9 ก.พ.59 ประเทศในอุดมคติ! สวีเดนกับการเป็นที่สุดในทุกด้าน พบว่า สังคมอุดมคติ มักถูกชวนมองไปที่ประเทศสวีเดน เป็นอีกหนึ่งประเทศที่สะท้อนให้เราเห็นว่า มีประเทศที่สามารถพัฒนาชุมชนและสังคมของเขาให้ประชากรเข้าถึงคำว่า คุณภาพชีวิตที่ดี ได้ ในปี 2016 สวีเดนถูกจัดอันดับให้อยู่ในระดับต้น ๆ หลายด้าน ทั้งด้านนวัตกรรม, การทำธุรกิจ, การศึกษา, ความเท่าเทียมระหว่างเพศ, ความโปร่งใสของรัฐบาล, ประเทศที่น่าอยู่สำหรับคนแก่
ทางเลือก ที่ ต้องเลือก หรือ เป็นทางที่คนอื่นเลือกให้
Hero คือ อะไร
หลังอ่านหนังสือหน้า p.52-55 เรื่องห้องเรียนกลับด้าน ผมก็ปักใจเชื่อเลย (นี่เป็นการเสนอวิธีการหนึ่ง อยากชวนคิด ไม่ได้ชวนเชื่อ) ว่า กรณีศึกษาของโรงเรียน Clintondale High School คือ คำตอบ หรือ Hero ด้วยคำสำคัญ คือ "เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน" แล้วใช้ MOOC เป็นเครื่องมือสำคัญ พอครูไม่ต้องกังวลเรื่องเนื้อหามากมาย ก็มีเวลามาพัฒนาทักษะ (Skill) ทั้ง 4 คือ 1) ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) 2) ทักษะการคิด (Thinking Skill) 3) ทักษะการทำงาน (Working Skill) และ 4) ทักษะชีวิต (Life Skill) p.44
ถ้าใช้วิธีข้างต้น นักเรียนของห้องเรียนในอนาคตก็จะได้รับการพัฒนาทักษะ การทำการบ้าน การทำโครงงาน และการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ดังนั้นประโยคหนึ่งที่ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ อธิบายเรื่อง ห้องเรียนแห่งอนาคต ที่ว่า "ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ผู้สอนตื่นเต้นสนุกสนานกับการสอน .." และใช้รูปแบบการสอนเพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity-Based Learning : CBL) จึงเป็นจริงได้
แนะนำสื่อที่นำไปสู่การเป็นห้องเรียนในอนาคต
ห้องเรียนแห่งอนาคต : Futureclassroom.net
DLIT : Distance Learning Information Technology
สไลด์สวย ๆ อธิบายเรื่อง ห้องเรียนกลับด้าน
อันดับ 1 ใน google เมื่อค้น Future Classroom
8 เทคโนโลยีสำหรับ Future Classroom
Course : Future Classroom

Flipped school model of instruction !

Our students receive their teacher’s lectures at home and do their homework in class. Our students work side-by-side with our expert staff. One-on-one time with students is up four times over years past, test scores are up and our students are more engaged. We are “flipped out” over our fabulous results and are extremely committed to ensure that all of our students and their families get the very best we have to offer. #

ที่มาของห้องเรียนในอนาคต (itinlife573) ด้อ่าน หนังสือห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช เขียนโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และครูกมลรัตน์ ฉิมพาลี หากต้องจินตนาการห้องเรียนที่เหมาะสมและจะถูกใช้ในอนาคตก็มักมองหาแนวโน้มที่ใช้ข้อมูลจากอดีตและปัจจุบัน ซึ่งการศึกษาในกระแสโลกมีหลายรูปแบบ และเรามักดูแนวปฏิบัติที่ดีระดับประเทศหรือโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ (Good Practice) เป็นที่ยอมรับกันว่าอินเทอร์เน็ตเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ และการใช้อินเทอร์เน็ตในห้องเรียนแห่งอนาคตก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนหน้านี้ภาครัฐแจกอุปกรณ์ให้นักเรียน ป.1 ต่อมาก็ขยายการติดตั้งจุดบริการอินเทอร์เน็ตฟรีเพิ่มขึ้น (Free Wi-Fi) แล้วเปลี่ยนจาก ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชน
มีระบบการศึกษาที่ถูกลองใช้ พัฒนา วิจัย และนำเสนอว่าได้ผลในหลายรูปแบบ หากแบบใดได้รับการยอมรับก็จะกลายเป็นรูปแบบที่จะถูกนำไปใช้ในห้องเรียนแห่งอนาคต ซึ่งระบบการศึกษาจะเป็นอย่างไรต้องผ่านการกำกับติดตามโดยภาครัฐ แล้วในปี 2559 ได้มติ ครม. เห็นชอบแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี พบว่าสนใจเรื่องการใช้มุกในระบบการศึกษา (MOOC : Massive Open Online Course) ปัจจุบันภาครัฐสนับสนุนการทำคลิ๊ปวีดีโอสอนหนังสือผ่านเว็บไซต์ dlit.ac.th คือ คลังเครื่องมือที่มีเนื้อหาและเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างครบวงจร มีบริการหลายรูปแบบ อาทิ คลังสื่อการสอน (DLIT Resources) ที่ถ่ายทอดการสอนเป็นคลิ๊ปสอนหนังสือโดยครูต้นแบบจากโรงเรียนชั้นนำไปยังห้องเรียนปลายทาง สนับสนุนห้องเรียนที่มีครูปลายทางไม่ตรงกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเป็นหัวข้อที่ยากในการสอน
การสอนรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจแบบหนึ่ง คือ การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ถูกใช้แล้วที่โรงเรียน Clintondale High School ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งโรงเรียนนี้ไม่ใช่โรงเรียนชั้นนำ เมื่อใช้รูปแบบใหม่ที่มีหลักสำคัญว่าเรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน ทำให้การสอนในห้องเรียนต้องเน้นการสอนแบบสร้างสรรค์ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน พบว่าผลการเรียนดีขึ้น และกลายเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านนี้ มีสถาบันการศึกษาเข้าดูงานมากมาย ในระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรที่ใช้ MOOC บางหลักสูตรพัฒนาเป็นหลักสูตรสำหรับบุคคล (Personalized Curriculum) ที่ผู้เรียนเลือกเรียนในวิชาที่ตนสนใจด้วยตนเองได้
https://www.facebook.com/notes/1267387953292291
มีระบบการศึกษาที่สอนให้เด็ก ๆ เหมือนกัน

#ไม่มีหลักฐาน ว่าเป็น Quote ของ Albert Einstein
คุยกับลูกศิษย์ (View) ได้ชวนกันคิดตามคลิ๊ป แล้วตั้งคำถามว่าคิดอย่างไร
คำถามที่ 1 สำหรับคำว่า ระบบการศึกษาของไทย สอนให้เด็กไทยเหมือนกัน
ก. ปัจจุบันมีหลักสูตรที่สอนให้เด็กในห้องเรียนเหมือนกัน
ข. ปัจจุบันมีหลักสูตรที่สอนให้เด็กในห้องเรียนต่างกัน
คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า ระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย หรือมหาวิทยาลัย
ที่มีการสอนให้ผู้เรียนในระดับชั้นนั้นเหมือนกันหมด
ก. ประถม
ข. ม.ต้น
ค. ม.ปลาย
ง. มหาวิทยาลัย
คำถามที่ 3 หากสอนนักเรียนประถมปีที่ 3 ถ้าท่านเป็นครูคณิตจะสอนอย่างไร
ก. แยกเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มที่อยากเรียนคณิต กับกลุ่มที่ไม่อยากเรียนคณิต
ข. แยกเด็กตามความสามารถ บวกเก่งก็ไปลบเลย บวกไม่เก่งก็ไม่ต้องไปลบ
ค. แยกเด็กตามความสนใจ อยากเรียนบวกก็เรียน อยากเรียนคูณก่อนก็เรียน
ง. ไม่แยกเด็ก ทุกคนต้องเรียนตามแผน ให้มีความรู้ด้านการบวก ลบ คูณ หาร
ชวนนักศึกษาคิดน่ะครับ
.. เพราะคิดตาม Prince Ea ก็จะคล้อยตามไปอย่างหนึ่ง
.. การคล้อยตามความคิดของใคร ๆ ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
เช่น ชาวญี่ปุ่น ทำงานจนตาย ปีละกว่า 200 ราย
เป้าหมายการเรียนรู้ คือ อะไร
แนวการสอบ หรือระบบจัดการเรียนรู้
ของแต่ละวิชา แต่ละโรงเรียน ไม่เหมือนกัน
บางวิชา บางโรงเรียน สอนให้มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง ทำงานได้
บางวิชา บางโรงเรียน สอนให้มีคุณธรรม เป็นคนดี จบไปไม่โกง
มีความเชื่อกันว่า
ห้องสอนอยู่ที่โรงเรียน แต่ห้องเรียนอยู่ที่บ้าน
ในห้องสอนเรียน 3 ชั่วโมง แต่ต้องไปเรียนที่บ้านต่ออีก 6 ชั่วโมง
แบบที่ 1. สอนในห้องเรียน การบ้านแบบที่เรียน สอบแบบที่สอน
แต่จบไปแล้ว บริษัทต้องการคนไปคำนวณมวลของดาวอังคาร
แบบที่ 2. สอนในห้องเรียน การบ้านยากขึ้นหน่อย สอบเหมือนการบ้าน
แต่จบไปแล้ว บริษัทต้องการคนไปคำนวณมวลของดาวอังคาร
แบบที่ 3. สอนในห้องเรียน การบ้านยากขึ้นหน่อย สอบหามวลดาวอังคาร
พอจบไป ก็เข้าทำงานได้เลย เพราะมีทักษะคำนวณมวลดวงดาวมาแล้ว
ถ้านะถ้า
ถ้านักเรียน ไม่ชอบเข้าเรียน ต้องทำอย่างไร .. ใครต้องตอบ
ถ้านักเรียน ไม่ชอบเรื่องที่เรียน ต้องทำอย่างไร .. ใครต้องตอบ
ถ้านักเรียน ไม่อยากไปดาวอังคาร ต้องทำอย่างไร .. ใครต้องตอบ
ในพรบ.การศึกษา ภาคบังคับ บอกว่า ต้องจบ ม.3 เป็นเงื่อนไขสมัคร รปภ.
ในทางเลือก มี อาชีวะ วิทยาลัยเฉพาะทาง มหาวิทยาลัย และหลักสูตร
ในภายหลังที่คำนวณมวลได้แล้ว จะเปลี่ยนไปนั่งนับเงินที่แบงค์ก็ได้
เจ้าของภาพ
ทำภาพนี้ กระตุ้นนักเรียนของเขา ว่า
ตอนเรียน คือ ขั้นพื้นฐาน
ตอนการบ้าน คือ ขั้นประยุกต์
ตอนสอบ คือ ขั้นเชี่ยวชาญ
เพราะโดยทั่วไปการศึกษาจะอยู่ที่ขั้นพื้นฐานในหลักสูตรภาคบังคับ
เน้นเรียนรู้ แต่อยากชวนผู้เรียนมุ่งแข่งขัน และต้องชนะในที่สุด ต่อไปภายหน้า เด็กของเราอาจ #เรียนออนไลน์ #เรียนรู้อยู่บ้าน #สำเร็จที่บ้าน กับผู้สอน ในวิชา ในหลักสูตร ในโรงเรียนที่เด็ก ๆ เลือกได้อย่างยืดหยุ่นผ่านอินเทอร์เน็ต เมื่อมองไปที่เด็ก ๆ แล้ว ผมว่าปัญหาของแต่ละคนแตกต่างกันไป เด็กบางคน ก็ไม่คิดชิงดีชิงเด่น เน้นพอเพียง ครูบางท่าน ก็มุ่งสอนตามหลักสูตร ตามแผน ตามนโยบาย มุ่งเป้าหมายภาพรวม ผู้ปกครอง ก็มุ่งแต่หาตังส่งลูกเรียน บางครอบครัวอาจลืมดูเกรดลูกไปเลย บางประเทศ ตอนนี้ก็ปิดประเทศกลัวไวรัส อยากให้ทุกคนรอดจากไวรัส
ต่เด็กบางคน บ่นว่าเวลามีน้อยจัง ต้องอ่านเรียนรู้อีกเยอะดึกซะแล้ว ครูบางท่านเตรียมเนื้อหาที่นักเรียนต้องรู้ เข้าใจ และใช้เป็น เปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่พัฒนาไปอีกมาก แต่ได้คาบเรียนมาน้อย ต้องแบ่งให้ทักษะอื่น จนเวลาไม่พอให้ได้ฝึกจนชำนาญประยุกต์ใช้ตามความต้องการของนายจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน หรือเลี้ยงตนเองได้ ผู้ปกครองบางคนก็อยากสนับสนุนเด็กให้ได้เรียนที่เค้าต้องใช้หากินในอนาคต มีสมรรถนะก็ต้องสอนเสริม ทักษะจำเป็นที่ต้องมี แต่เวลาหลังเลิกเรียนมีน้อย ไม่พอไปพัฒนาทักษะเพิ่มเติมนอกห้องเรียน ประเทศก็สนใจแต่ภาพรวมด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น โอกาสทางการศึกษา ภาวะการมีงานทำ สมรรถนะไอที ฐานสมรรถนะ นวัตกรรม พัฒนาเด็กตอบโจทย์ผู้ประกอบการ ประกอบอาชีพที่จะเลี้ยงตัวเอง จนลืมว่ามีข้อจำกัดมากมาย ที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ และความต้องการในแต่ละบุคคล
บันทึกการแข่งขันของสื่อสิ่งพิมพ์ในไทย
สยบฟ้า พิชิตปฐพี (Ever night)
เด็กเลือกงาน แล้วเรียนรู้มากพอ ก็จะได้งานตามที่เลือก

ด็กนักเรียนที่ค้นหาตัวตน ว่าจะเรียนอะไร ไปทำงานอะไร เลือกงาน เลือกอาชีพ เลือกหน่วยงานตามความสนใจได้ ตั้งแต่วันนี้และเปลี่ยนได้ทุกวัน ด้วยตนเอง สามารถเข้าไปเลือกงานตามเว็บไซต์หางาน ที่ระบุว่าแต่ละตำแหน่งต้องรู้หัวข้ออะไรบ้าง หน้าที่เด็กนักเรียนก็เพียงแต่เรียนรู้หัวข้อเหล่านั้น ถ้ามีดีมากพอตามหัวข้อเหล่านั้น แล้วสมัคร ก็จะได้งานตามที่เลือกไว้

วัตถุประสงค์หนึ่งของการเรียนรู้
คือ เพื่อการมีงานทำ และเลี้ยงตัวเองได้
รวม Quote สร้างแรงบันดาลใจ
อินโฟกราฟฟิก (Infographic) คือ การนำเสนอสารสนเทศ ข้อมูล ความรู้ ด้วยภาพกราฟฟิกเสมือนจริง ที่มุ่งนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนรวดเร็ว ปรับใช้ประโยชน์ภาพกราฟฟิกแสดงรูปแบบข้อมูล หรือแนวโน้ม กระบวนการจัดทำเกี่ยวข้องกับภาพเสมือนจริง การออกแบบสารสนเทศ และสถาปัตยกรรมสารสนเทศ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
no_document.jpg
If you can't explain it simple, you don't understand it well enough. วนผู้เรียนฝึกซ้อมการอธิบายบ่อย ๆ .. ดังคำกล่าวที่ว่า "ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายสิ่งใด ให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าตัวคุณเอง ยังไม่เข้าใจมันดีพอ (If you can't explain it simple, you don't understand it well enough.)" โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้นึกถึงความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในสื่อสังคม มักเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ชาวโซเชียล พบว่า #ชาวโซเชียล จุดประกาย ปลุกกระแส ตาม "ข่าวในแต่ละช่วงเวลา" ให้ชาวโซเชียลช่วยกันอธิบาย สืบค้น อย่างมีความสุขตามสายอาชีพ หมอก็อธิบายแบบหนึ่ง ทนายก็อธิบายแบบหนึ่ง นักข่าวก็อธิบายแบบหนึ่ง อินฟูเอ็นเซอร์ก็อธิบายอีกแบบ ผู้อ่านก็เข้ามาช่วยอธิบายในแบบของตน เป็นกรณีศึกษาในห้องเรียน ให้เข้าไปดูพฤติกรรมชาวโซเชียล ที่ช่วยอธิบายเหตุการณ์ตามประสบการณ์ หรือฐานสมรรถนะเฉพาะตน ที่ได้อ่าน ได้ดู ได้ฟังมา แล้วก็อธิบายตามความเชื่อ ซึ่งเป้าหมายของการสื่อสาร เลือกนำเสนอผ่านการเขียน/พูดแสดงออก คือ เพื่อให้ข้อมูล ทั้งเชิงบวก เชิงลบ หรือสร้างสรรค์ มีที่มาของการแสดงความเห็นได้หลายสาเหตุ
รวม Quote ของ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
สเตตัส "หยุดด่าท่านตรีนุช" หากมี "ผู้บริหารการศึกษา"
ที่มีความรู้ความสามารถ ที่เปิดใจรับความคิดต่าง
รับข้อมูล ฟังปัญหา เข้าถึงปัญหา
เสนอวิธีการใหม่ ทางเลือกที่ไม่เหมือนเดิม
และเป็นที่ยอมรับของสังคม
มักจะแก้ปัญหาได้ดีกว่า
เพราะ "คนที่คิดต่าง จากเรา เขาไม่ได้ คิดผิด
เขาแค่มีข้อมูล และประสบการณ์ ต่างจากเรา
"
#เล่าสู่กันฟัง 63-002 กฎการเรียน ข้อ 1 ปัจจุบันสำหรับนักเรียนแล้ว จะมีข้อมูล สารสนเทศ กฎ กติกา ระบบ ระเบียบ เงื่อนไข โอกาส ภัยคุกคาม สิ่งล่อ สิ่งเร้า ทั้งจากในตนเอง ในกลุ่มเพื่อน ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน ในประเทศ หรือในโลก วิ่งเข้ามาหา มาชนตลอดเวลา แบบที่เรียกว่า Too fast to think แล้ว ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เคยโพสต์ไว้ใน AJWiriya ทำให้ฉุกคิดได้ว่า น่านำมาตั้งเป็นกฎได้ 2 ข้อ ดังนี้
กฎข้อ 1
เรียนเพื่อทำงานได้ ไม่ใช่เรียนเพื่อของานใครทำ เรียนเพื่อปัญญา ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา
กฎข้อ 2
ถ้ามีกฎใดชวนคิดต่าง ก็อย่าเสียเวลาให้มากนัก ให้กลับไปมอง กฎข้อ 1
สรุปว่า #เรียนเพื่อทำงานได้ เป็นคาถาที่อยากฝากไว้เป็น #แรงบันดาลใจ ฝั่งอยู่ในใจและคิดถึงบ่อย ๆ
ชวนดูหนังเรื่อง #สยบฟ้าพิชิตปฐพี (ever night) ที่เข้ากับคำว่า #เรียนไว้ใช้ ได้ดีจริง ๆ
Learners.in.th L3NR (อ่านว่า Learner) คือ "เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom)" ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้น ผู้สอนจะจัดกิจกรรมหลากรูปแบบโดยใช้เครื่องมือหลายอย่างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน แบบกลุ่มและแบบรายบุคคล (พบว่า ในปัจจุบัน l3nr.org ได้หยุดให้บริการ และ redirecting ไปยัง classstart.org เพื่อใช้งานระบบใหม่แทนแล้ว)
L3NR : เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง เด็กสอน ผู้ใหญ่เรียน เรียนกันทั้งประเทศ
ตัวอย่าง : บัญชีของผมเอง ผู้เป็นคุณครู และ บัญชีของ ปรีชา พชระกุล ผู้เป็นนักศึกษา
อ่านความคิดเห็นก็จะได้หลายความคิดเห็น เบเกอรี่ของซุปเปอร์มาเก็ต
เมื่อขายไม่หมด ถึงเวลาก็จะเททิ้งหมด
คำถาม ของน่าทานเหล่านี้ ถ้าไม่ทิ้งจะนำไปทำอะไรได้
คำถาม คำตอบ - น่าสนใจใน pantip.com เกี่ยวกับเบเกอรี่เหลือทิ้ง
ฉบับที่ 1 - จุฬาปรับเป็นสอนออนไลน์ มอบหมายงาน อยู่บ้านสอบตามความเหมาะสม ป้องกันแพร่ระบาด
บประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนกรณีสถานการณ์ไม่ปกติ อันเนื่องมาจากภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2563

ซึ่งก่อนหน้านี้ ในวันที่ 1 มีนาคม 2020 มีการใช้ #จุฬาควรหยุด แสดงความคิดเห็น ใน twitter.com จำนวนมาก คาดว่า กลัวการแพร่ระบาด จากการไปเรียนที่มหาวิทยาลัย ต้องนั่งรถมอเตอร์ไซค์ออกจากซอย นั่งแท็กซี่ นั่งรถตู้ โหนรถเมย์ รถไฟฟ้า ไปเข้าห้องน้ำ โรงอาหาร ห้องเรียน ใช้จานชาม แก้ว ต่อคิวเข้าลิฟต์ นั่งในห้องเรียน ห้องสอบ ห้องปฏิบัติการ ใช้โต๊ะเก้าอี้ และอากาศในห้องเย็น ๆ ร่วมกันนาน ๆ #โดยสารสาธารณะ #อยู่รวมกัน #สัมผัสสิ่งของ

สุดท้าย มีประกาศที่จับประเด็นได้ว่า
1. ปรับการเรียนการสอนให้เร็วขึ้นได้
2. เรียนเป็นระบบโมดูลได้
3. แขวนสื่อให้เรียนแบบ self study ได้
4. สอนระบบออนไลน์ได้
5. ใช้ assignment, project, case study และบูรณาการได้
6. รายงาน และนำข้อสอบไปทำนอกห้องสอบ (Take-home exam) ได้

โดยคำนึงถึงการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ตาม Program learning Outcomes (PLO) ที่ระบุไว้เป็นสำคัญ จากประกาศนี้ทำให้นึกถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นห้องเรียนแห่งอนาคต ที่ปรับเปลี่ยนได้เร็วมาก จากการมาของ COVID-19 และจะเปลี่ยนอีกหลายวงการ ไม่ใช่เฉพาะการศึกษา เช่น บันเทิง กีฬา การค้า การเงิน และการเดินทาง

ฉบับที่ 2 - จุฬาให้ทุกรายวิชาสอนออนไลน์ หรือ realtime หรือ clip เพราะชีวิตสำคัญ และต้องตระหนักถึงสุขภาพพลานามัยของนิสิต
บประกาศจุฬา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนในกรณีสถานการณ์ไม่ปกติ อันเรื่องมาจากภาวะการแพร่ระบาดของเชื่อโรค COVID-19 (ฉบับที่ 2) ว่าให้ทุกวิชาสอนในรูปแบบออนไลน์ อาจสอนสด หรือสอนโดยบันทึกไฟล์ภาพเสียงไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะวิชาที่มีตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป ส่วนสอนปฏิบัติให้คำนึง Program Learning Outcomes (PLO) ตาม มคอ.2 แต่ให้ลดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยง โดยการสอนไม่ต้องคำนึงถึงเกณฑ์ร้อยละ 80 และสามารถใช้กิจกรรมออนไลน์ การมอบหมายงาน การทำรายงาน และการนำข้อสอบไปทำนอกห้องสอบ (Take-home exam) ซึ่งจุฬามีระบบสนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ไว้ให้แล้ว ซึ่งขอรับบริการได้ที่ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ ในอนาคตระบบการเรียนอาจต้องปรับ เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนที่อาจกินเวลานานกว่าที่คิด
ขอแนะนำการสอนออนไลน์ ซึ่ง ผศ.ดร.ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ มีคู่มือ 29 หน้า เรื่อง การเรียนการสอนออนไลน์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจไว้ หลายรายการ ดังนี้
KC Moodle
Zoom : Video Conferencing
OneDrive ของ Microsoft หรือ Google Drive ของ Google
nurse.cmu.ac.th/../student.pdf
เรื่องเล่าเร้าพลัง "มานะ สมรรถนะ และน้ำใจ" รื่องน่าอ่าน ส่งเสริมความมีจริยธรรมนิสิตได้เป็นอย่างดี เด่นในเรื่อง มานะ สมรรถนะ และน้ำใจ ซึ่งเรื่อง ไล่ตงจิ้น บะหมี่น้ำหนึ่งชาม และ น็อตตัวละแสน ประสบการณ์แสนแพงของช่างเร่ร่อน แต่ละเรื่องต่างมีหลักคิดที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างสมรรถนะให้กับผู้เรียน สอดคล้องกับคำว่า สมรรถนะดิจิทัล (digital competency) และ หลักสูตรฐานสมรรถนะ (competency-based) ที่ยึดความสามารถของผู้เรียน ที่เรียนแล้วมีทักษะปฏิบัติได้จริงเป็นหลักเป็นฐาน
สุดยอดเรื่องเล่าเร้าพลังใจ
1. ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานผู้ไม่ยอมแพ้ (thaijo)
2. น็อตตัวละแสน (สิริทัศน์ สมเสงี่ยม เขียน)
3. บะหมี่น้ำหนึ่งชาม (คลิ๊ปผมเอง)
เชิญแนะนำ ในคำถามที่อาจมีคำตอบแล้ว มีคำถามมากมายที่ถูกถามในสื่อสังคม ทำให้นึกถึงปฏิบัติการไอโอ จากในภาพยนตร์เรื่อง T h e H a t e r ของโปแลนด์ ที่ผลการสร้าง f a k e n e w s ทำให้สร้างผู้หลงเชื่อ และเป็นเหยื่อของข่าวอย่างที่ไม่อาจแก้ไขอะไรได้เลย แล้วพบรีวิวพูดถึงความคล้ายคลึงกับเรื่อง Parasite ของเกาหลีใต้ ด้วยชื่อไทยว่า "ผรุสวาทจากชนชั้นปรสิต" ซึ่งเทคนิคกลุ่ม IO ( I nformation O peration ) หวังผลต่อโพสต์ สารสนเทศที่ร้อยเรียงให้จดทำง่าย ถูกประพันธ์ขึ้นอย่างสวยงาม มักมีทั้งเชิงบวก และเชิงลบต่อกลุ่มเป้าหมาย เน้นใช้สารสนเทศมาขับเคลื่อนความคิด ความรู้สึก ชี้นำ กระตุ้นอารมณ์ และคาดหวังพฤติกรรม เช่น รักชาติ รักความยุติธรรม รักความเสมอภาค รักประชาธิปไตย รักกฎหมาย รักมนุษย์ รักธรรมชาติ รักในอุดมการณ์ เชื่อมโยงกับเพศ และความรุนแรง หากมีเหตุการณ์หรือสารสนเทศที่ชี้ชวนให้คิดต่าง คิดตรงกัน ก็จะเป็นประเด็นที่สังคมสนใจ เข้ามาให้ความคิดเห็น คำแนะนำ มีตัวอย่างคดี เรื่องราว ข่าว เหตุการณ์ทั้งความรัก ความไม่เท่าเทียม ความสนใจของคนในสังคม เช่น 1) ขโมยมะพร้าวสามลูกให้เมียท้อง 2) ครูจอมทรัพย์เป็นแพะ 3) กะเหรี่ยงอพยพ 4) รื้อม่อนแจ่มบุกรุกป่าสงวน 5) จ้างครูเงินเดือนห้าพัน 6) การติดป้ายโชว์นักเรียน 7) วิชาอะไรที่ควรเอาออก 8) รับคนจากปริญญาหรือความสามารถ 9) แบ่งแยกห้องเก่งกับห้องธรรมดา
ส่วนเรื่องนักเรียน มีตั้งแต่ ชุดนักเรียน ทรงผม ติวสอบ เกียรติบัตร เข้าค่าย ชุดกีฬา ตามภาพตัวอย่างได้หยิบประเด็น "อาจารย์ที่คุมสระ ห้ามนักเรียนหญิงสวมใส่ บิ กิ นี่ ลงสระ ก็มีการตั้งคำถามว่าทำไม" แล้วก็มีผู้เสนอแนะจำนวนมากว่าไม่เหมาะสม รายละเอียดคลิ๊กเข้าไปอ่านกันได้ครับ
ฟังทางนี้นะคุณพ่อ ารเลี้ยงลูกปฐมวัย มีวิธีการและรายละเอียดมากมาย เคยฟังเรื่อง #ห้องเรียนแห่งอนาคต ในแฟนเพจของ ดร.วิริยะ อยู่เสมอ ที่พูดถึงคุณครู นักเรียน และครอบครัว เห็นภาพการบรรยายหัวข้อ เลี้ยงลูกปฐมวัยอย่างไรให้ฉลาดและมีพัฒนาการสมวัย ในโครงการส่งเสริมบทบาทผู้ชายสร้างครอบครัวเข้มแข็ง ของ #มหาวิทยาลัยเนชั่น เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองเขลางค์นคร น่าสนใจ เพราะสอดคล้องกับข่าวปัญหาในสังคม ที่นำเสนอความรุนแรงในครอบครัวทุก ๆ ๆ ๆ วัน เชื่อว่า รศ.มาลี เอื้ออำนวย จะมีประสบการณ์ดี ๆ มาแบ่งปัน และหนุ่มพ่อบ้านในห้องเรียน จะนำไปปรับใช้ สร้างห้องเรียนแห่งอนาคตที่บ้าน เลี้ยงลูกให้ฉลาด มีพัฒนาการสมวัย เมื่อโตมาก็เลือกเรียน สายพยาบาล เทคนิคการแพทย์ ทันตแพทย์ สาธารณสุข อาชีวอนามัย การบิน อย่างมีความสุข
2 วิทยากร ผู้สร้างแรงบันดาลใจ ระเทศไทยของผม มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิอยู่มาก วันนี้เห็น อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ แล้วนึกถึง ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ทั้งสองท่านเป็นเบอร์ 1 ระดับตำนานที่ผมยกให้ทั้ง 10 นิ้วเลย ผมฟัง อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ บ่อย ๆ บรรยายครั้งใด ผู้ฟังก็จะมีความสุข สนุกไปกับกิจกรรม สร้างแรงบันดาลใจ ทั้งในการทำงาน และการใช้ชีวิต จนหลายองค์กรจองท่าน เป็นวิทยากรกระบวนการ ให้ความรู้ หรือไปจัดอบรมนอกบริษัท ท่านมีพลังบางอย่างที่สามารถจุดไฟ ที่กำลังมอดไหม้ ให้ลุกโชน เพื่อทำงานต่อไปได้ องค์กรใดเคยเชิญท่านไป ก็เห็นว่าเชิญท่านอย่างต่อเนื่อง เพราะติดใจ ผมว่านะ ห้องเรียนของท่าน เป็น #ห้องเรียนแห่งความสุข ผม และ อ.ธวัชชัย แสนชมภู (อาจารย์ใหญ่) เคยติดตามท่าน ไปอบรมที่โรงเรียนผู้สูงอายุ สอนน้อง ๆ ปี 1 คือ กลุ่มนักเรียนที่อายุ 60+ ต่างหัวเราะต่อเนื่องตลอดระยะ 3 ชั่วโมง จนลืมไปเลยว่าพึ่งเกษียณอายุราชการกันมา แอบคิดว่า ช้า ๆ ลงหน่อย หวั่นใจว่าน้อง ๆ ปี 1 โรงเรียนผู้สูงอายุจะใจหายใจคว่ำกัน อีกท่านหนึ่ง เป็นวิทยากรระดับประเทศ ด้านการศึกษา และสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความสุขให้ผู้เข้ารับการอบรมที่มีลูกศิษย์ทั้งประเทศ คงต้องยกให้ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เพราะท่านมาบรรยายที่ ม.เนชั่น ในสมัยที่ท่านเป็นที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ เข้ามาช่วยมหาวิทยาลัยหลายครั้ง อยู่ช่วนนานเหมือนกันครับ แนวของท่านก็จะบรรยายให้ผู้เรียน ผู้ฟังมีความสุข สะท้อนปัญหาด้านการศึกษาได้ชัดเจน หลัง ๆ เห็นท่านพูดถึง #สุจริตไทย หยิบเรื่องทุจริตมาเล่าสู่กันฟัง ท่านเป็นวิทยากรมืออาชีพ เป็นเจ้าขององค์กรที่รับจัดอบรม ท่านเคยส่งคนมาช่วยเรื่องรณรงค์ที่มหาวิทยาลัยด้วย สรุปว่า ผมยังติดตาม #ห้องเรียนแห่งอนาคต ที่เป็นชื่อหนังสือ ที่ท่านเขียน ผมก็ซื้อมาอ่าน ชื่อหนังสือน่าอ่าน เป็นเป้าหมายของครูและนักเรียนไทย แล้วผมยังติดตามแฟนเพจของท่านเสมอ ท่านหยิบปัญหาของครู ของนักเรียน มาให้ได้แลกเปลี่ยนเสมอ ถ้าท่านจะเข้ากระทรวงฯ ก็จะโพสต์ขอรับประเด็นผ่านเฟสบุ๊ค เพื่อเป็นตัวแทนไปเสนอในกระทรวง หรือกรรมการที่เกี่ยวข้อง สรุปว่า ทั้งสองท่านเป็นวิทยากรในตำนานที่ผมชื่นชมครับ แต่ถ้าเป็นนักเขียน นักพูด และนักบริหาร ต้องยกทั้งสิบนิ้วให้ ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดี ม.เนชั่น
3 ภาพในมุมมองต่างกัน เรื่อง วิธีการ (how to) ารพัฒนาบุคคล หรือชุมชน ทั้งกลุ่มเยาวชน คนทำงาน หรือผู้สูงอายุ ล้วนให้ความสำคัญกับ เป้าหมาย และวิธีการ ซึ่งภาพชวนคิด 3 ภาพนี้ แสดงเรื่องราวแตกต่างกัน แต่ร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันได้ คือ วิธีการ (how to) **ภาพ อ.ปุ้ม** กำลังบรรยายให้กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ ได้มีความรู้ความสามารถด้วยกลไกด้านการศึกษา **ภาพ พระพุทธเจ้า** คุยกับพระมหากัสสปะอยู่ริมแม่น้ำ เรื่องวิธีข้ามไปอีกฟากของแม่น้ำ เป็นการอุปมาอุปมัย อุปมา คือ สิ่งที่ยกมาเปรียบเทียบ เช่น วิธีการข้ามฟาก อุปไมย คือ สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ เช่น ถวายเครื่องเซ่น เช่น "จมูกไว้เหมือนมด" **ภาพ การใช้บันได** เป็นเครื่องมือที่แม้จะมีจำนวนมาก แต่ไม่สำคัญเท่าการใช้เป็น แม้จำนวนไม่สำคัญ แต่ต้องมากพอที่จะเลือกใช้ได้
เรียนรู้นอกกระแสหลัก
การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจ เลือกหลักสูตร ในเวลาที่พร้อม ครูที่ชอบ สถานที่ที่สะดวก ได้เรียนอย่างมีความสุข
เรียนรู้กระแสหลัก
การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเข้าสู่ระบบที่มีกรอบมาตรฐาน ประเมินผลความรู้ที่เป็นสากล สังคมยอมรับ และได้สิทธิที่เสมอภาค
ความคิดที่ถูกต้อง
ความคิดที่ถูกควบคุมกำกับ ใช้ข้อมูลและประสบการณ์จากกลุ่มคนมีทักษะ จนได้แนวคิดที่ยอมรับได้ และใช้ได้ในสังคม
เรียนเมื่อพร้อม
มีเด็กไม่น้อยเลือกออกจากระบบการศึกษา ไม่ต่อปริญญา ไปทำสิ่งที่ชอบ แต่ประสบความสำเร็จ กลับเรียนเมื่อพร้อม
การเรียนรู้มีการศึกษานอกกระแส คล้ายกับ การแพทย์นอกกระแสหลัก ด็กยุคใหม่เลือกได้ ว่าจะ เรียนรู้ตามกระแสหลัก หรือเรียนนอกกระแสหลัก เช่นเดียวกับ การแพทย์นอกกระแสหลัก ที่มีทั้ง การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เคยฟังแนวคิด "การศึกษาทางเลือกคือทางรอด ที่เหมือนกับ การแพทย์ทางเลือกคือทางรอด" ได้ฟัง อาจารย์ลอย ชุนพงษ์ทอง (Loy Chunpongtong) ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ ในช่อง Loy Academy พูดเรื่องผลงานวิจัย ฟ้าทะลายโจรของกลุ่มการแพทย์ทางเลือก เสนอการใช้สมุนไพรต่อสู้กับโรคระบาด และบทความเรื่องการแปลผลค่า P-value 7% ไว้อย่างละเอียด และข่าวมิจฉาชีพทำการปลอมสมุนไพรระบาดอย่างหนัก มีบทความวิชาการ และหลักสูตรเกี่ยวกับการแพทย์นอกกระแสหลัก ที่นิสิต นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ สามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้ อาทิ การพัฒนาบริการการแพทย์นอกกระแสหลัก ศาสตร์เพื่อการแสวงหาทางรอด หรือ งานวิจัยฟ้าทะลายโจรการแพทย์ทางเลือก
ชวนน้องเล่นเกม และสั่งพูด Hello World ด้วย node.js ยากเล่าให้น้องที่ชอบเล่นเกมฟัง ว่า Bluestacks ใช้ดาวน์โหลดเกมบน Android มาเล่นได้เหมือนกับมี Smart phone อีกเครื่อง วางอยู่บนโปรแกรม Windows เรียกได้ว่า โปรแกรมซ้อนโปรแกรมและมีได้หลายชั้น และโปรแกรม Node.js ก็ถูกกล่าวถึงกันอย่างมาก ไปค้นดูใน google ได้เลยว่า นิยมชมชอบกันขนาดไหน โดยเฉพาะ กลุ่มที่สนใจเทคโนโลยีแบบเข้มข้น ทั้งนิสิต นักศึกษา และโปรแกรมเมอร์ ถ้าสนใจเรื่องนี้ มาอ่านกันต่อได้เลยครับ มขอเสนอกิจกรรมน่าสนุก คือ พูด Hello world บน Bluestacks ถ้าดูตามภาพประกอบทั้ง 7 ภาพ เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากเราไป download โปรแกรมจาก bluestacks.com มาติดตั้งแล้ว เมื่อเปิดใช้งานโปรแกรมครั้งแรกนั้น 1) เรามักเริ่มต้นจากการเข้าไป ตั้งค่า (setting) ว่าจะใช้งานแบบแนวนอน หรือแนวตั้ง และความละเอียดของหน้าจอ ให้เหมาะกับการเล่นเกมของเรา 2) เปิด Play store เตรียมดาวน์โหลดโปรแกรม และเกมที่รอเราอยู่นับล้าน แต่เริ่มใช้งานก็ต้องอัปเดตคลังการสนับสนุนกันก่อน 3) จะติดตั้งเครื่องมือ ก็นึกถึงสูตรโกงเกมสมัยก่อนเลย ต้องเข้าโปรแกรม Termux (ก่อนอื่นต้อง download Termux....apk ค้นจาก google.com หรือดาวน์โหลดจากแหล่งเผยแพร่ เช่น apkcombo.com หรือ apkpure.com หรือ f-droid.org เมื่อได้มาแล้ว ก็เพียงแต่ลากแฟ้ม .apk ไปวางใน Bluestacks ก็จะเป็นการติดตั้งและใช้งานได้ทันที) หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นพื้นสีดำ ตัวอักษรสีขาว ที่ดูจะมือมน แต่มีอะไรซ่อนอยู่มหาศาล ลองค้นหาดูครับ นึกซะว่าเก็บเหรียญ เข้าแล้วก็พบกับเครื่องหมาย $ แสดงว่าตรงนี้มีค่า ที่พร้อมสนับสนุนให้เราได้ไปต่อ เพราะเป็นสัญลักษณ์หน่วยเงินของต่างประเทศ เรียก Dollar sign 4) โปรแกรม Node.js ที่นักคอมพิวเตอร์เค้าใช้กันนั้น เริ่มต้นใช้งานได้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง npm แต่เมื่อสั่งแล้วพบว่าในระบบยังไม่มี จึงต้องสั่งติดตั้งเพิ่ม การสั่งติดตั้งจะพิมพ์คำสั่งว่า pkg install nodejs แต่ฟ้อง error ก็ใจเย็น ๆ หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขกันก่อน 5) ในอุปกรณ์มีแต่โปรแกรมเก่าที่มีมาก่อนหน้านี้ จึงยังใช้คำสั่งติดตั้งไม่ได้ อยากได้ของใหม่ก็สั่งอัพเกรดรายการกันก่อน จะได้มีโปรแกรมที่ทันสมัยยิ่งขึ้น มาสั่งกันได้เลย ด้วยคำสั่ง pkg upgrade 6) ถึงเวลาแล้ว ที่จะติดตั้งโปรแกรมที่เราต้องการ ก็เพียงแต่พิมพ์สั่งว่า pkg install nodejs ก็จะใช้เวลาไปดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งให้เราอยู่พักหนึ่ง 7) เมื่อพร้อมก็เริ่มสั่งงาน และเขียนโปรแกรมกันเลย แต่ละบรรทัดก็จะมีความหมายเฉพาะตัว เรามาค้นหาความหมายของคำสั่งต่าง ๆ กันดีไหม เมื่อเขียนเสร็จ ก็สั่งให้โปรแกรมทำงาน ผลของการทำงานจะพบคำว่า Hello World ถือว่าภารกิจลุล่วง ภาษาอังกฤษเรียก Mission Complete ยินดีด้วย ผ่าน ด่านที่ 1 เรียบร้อยแล้ว
01 02 03 04 05 06 07
จุดประเด็น : คุกคามผู้อำนวยการ ผิดไหม
มีคำถามโบราญมากมาย แต่เราปรับคำถามกันให้เป็นปัจจุบันกันได้ใน #ห้องเรียนแห่งอนาคต ถ้าถามว่า ครูคุกคามนักเรียนผิดไหม ผมว่าเป็นคำถามเก่าแล้วหละ ลองเปลี่ยนเป็น "ถ้าวิทยากรด้านการศึกษา หรือผู้บรรยาย ตบหัวผู้อำนวยการ ศน. หรือครูผู้ช่วย จะผิดไหมครับ เพราะผู้อำนวยการหลับระหว่างประชุมสัมมนา" ในชีวิตจริง มีตัวละครรอบตัวเราจำนวนมาก ลองเปลี่ยนตัวละคร แต่พฤติกรรมเดิม แบบห้องเรียนกลับด้าน ก็ได้ครับ แต่เรื่องนี้มีหลายประเด็นน่าสนใจ
1. ประเด็น influencer คือ ผู้ทรงอิทธิพลต่อผู้เรียน มีตัวอย่าง คือ เจ้าของแฟนเพจ ไอจี ติ๊กตอก ยูทูป หรือทวิตเตอร์ พวกเขาเป็นอินฟลูเอนเซอร์กันได้อย่างไร มีคอนเท้นท์ในแนวไหน แล้วคุณครูต้นแบบจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์สำหรับนักเรียนได้อย่างไร ที่ส่งผลให้คุณครูพูดแล้ว นักเรียนพยักหน้ากันทั้งห้อง ให้ทำการบ้านก็ทำ ให้อ่านหนังสือก็อื่น ให้ตั้งใจสอบก็ตั้งใจ ให้มาเรียนก็มา ในทางกลับกัน เราเห็นใครเป็นอินฟลูเอนเซอร์ แล้วได้เรียนแบบพฤติกรรมนำมาปรับใช้แนวทางของเรา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพหรือไม่
2. ประเด็น flipped classroom คือ การมองมุมกลับ เดิมเรียนที่โรงเรียนแล้วกลับไปทำการบ้านที่บ้าน เปลี่ยนเป็น เรียนที่บ้านแล้วไปทำการบ้านและนำเสนองานที่โรงเรียน ซึ่งการมองมุมกลับ ปรับได้หลายแนว เช่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เปลี่ยนบทบาทสมมติ เปลี่ยนพฤติกรรมสมมติ มองแบบเปลี่ยนมุมมองอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น
3. ประเด็นกฎหมาย เมื่อไปคุกคาม หรือลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุ อาจถูกกฎหมายลงโทษได้ สังคมเรามีกฎหมายที่ถูกตราไว้เพื่อคุ้มครองให้ผู้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข แต่ถ้าคุณครูทำโทษเด็กเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ผู้ปกครองสามารถฟ้องร้องได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา " มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากลูกอายุยังไม่เกิน 15 ปี ก็สามารถฟ้องได้อีก ตามมาตรา 398 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทารุณ ต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ซึ่งต้องพึ่งผู้นั้นในการดำรงชีพหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
เชิญคิดบวก สร้างสรรค์ในโพสต์ที่มีความสุข
ชิญคิดในแฟนเพจนี้ ว่า วันนี้คุณคิดอะไรอยู่ ในแต่ละโพสต์ที่สร้างสรรค์ของแฟนเพจ ได้เห็นความอารมณ์และความสุข ของ influencer ในสื่อสังคมที่สร้างสรรค์ ที่เสนอเนื้อหาที่สังคมต้องการ และมีความสุขต่อกลุ่ม เช่น ข่าวที่มียอดแลกเปลี่ยนสูง ทำให้นึกถึงนโยบายบริษัทเอกชน ที่อดีตพนักงานในเฟสบุ๊ค เมื่อ 4 ตุลาคม 2564 ออกมาเล่าว่า มีความจงใจปล่อยให้คนใช้ถ้อยคำรุนแรง (คิดบวกต่อองค์กรของตน เพราะ คนที่คิดต่างจากเรา เขาไม่ผิด) ลดการกลั่นกรองการโพสต์เนื้อหา ที่มีลักษณะกระตุ้นอารมณ์ เพื่อให้คนมาแสดงความคิด เชิญชวนให้คิดต่าง มาระบายอารมณ์ผ่านสื่อ เพิ่มความผูกพันธ์กับสื่อสังคม และถอยห่างจากโลกแห่งความจริง ในโลกเสมือนเราสร้างโลกใหม่ และรู้สึกอิสระในการใช้ความคิดที่รู้สึกว่ามีเสรี
แฟนเพจ แฟนกลุ่ม แฟนครู
ถ้าคุณครูที่อยู่ในห้องเรียน
ถ้าไม่มีแฟนเพจ หรือกลุ่มเฉพาะด้านของคุณครู
น่าจะ "ชักจูง" นักเรียน
ให้เข้ากลุ่มที่ครูเข้าประจำ
ที่เห็นว่า พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี 4.0
หรือ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
หรือ พัฒนาอาชีพตามความถนัด
ที่ส่งเสริมการค้นคว้า สืบค้นผลงานเฉพาะด้านตามสายวิชาชีพ
ที่คุณครูติดตาม จนเป็นแฟนตัวยงในกลุ่ม หรือแฟนเพจนั้น
สำหรับผม
มักแนะนำ และชวนผู้เรียนเข้ากลุ่ม และแฟนเพจ
หรือ ติดตาม influencer ในสายอาชีพที่เค้าถนัด
หรือ ติดตามบุคคลต้นแบบตามสมรรถนะของนักเรียน
ชุมชนการศึกษา Eduzones
9 ไม่ ที่จะหายไปจากห้องเรียนในอนาคต ทั้ง 9 คำนี้ จะไม่ถูกพบในห้องเรียนในอนาคต เพราะเด็กในวันนี้จะได้เรียนรู้ เข้าใจว่า 9 คำนี้ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบมนุษย์ด้วยกัน ในอนาคตทุกคนจะเข้าใจในความเสมอภาค (Equity) ที่นำไปสู่ ความเท่าเทียม (Equality) และความยุติธรรม (Justice) ในความเป็นจริงทุกคน มีคุณค่าเท่ากัน อย่าทำให้ใครรู้สึกว่าต่ำกว่า หรือสูงกว่า เพียงเอาความรู้สึกของเราเป็นที่ตั้ง ได้แก่ เพศ รูปร่าง สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม สถาบันการศึกษา ฐานะ ความสามารถ
ซึ่งการเหยียด หรือคุกคามกันนั้น พบเห็นได้บ่อยในสื่อ หรือข่าวการเมือง เช่น [เพศ] พบแม่ค้าแต่งโป๊จนถูกคุกคาม [รูปร่าง] พบนักข่าวแฉผอมเพราะไปรัดกระเพาะมา [สถาบันการศึกษา] พบหลายองค์กรรับแต่รุ่นน้อง [ฐานะ] พบในคำว่ามีเงินเรียกว่าน้องมีทองเรียกว่าพี่ [ความสามารถ] พบครูชอบพูดคุยกับคนมีความสามารถ ละเลยเด็กหลังห้อง [สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา] พบในภาพยนตร์ชาติตะวันตกบ่อยครั้ง
คนที่สุจริต ย่อมให้ความสำคัญกับ "การป้องกันการทุจริต" ตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6 ด็กไทยควรได้รับการศึกษาจนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ การป้องกันการทุจริต จึงควร "ศึกษาเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับผลประโยชน์ส่วนรวม ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต รู้หน้าที่ของพลเมืองและรับผิดชอบต่อสังคมในการต่อต้านการทุจริต โดยใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ จำแนก แยกแยะ การฝึกปฏิบัติจริง การทำโครงงาน กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) การอภิปราย การสืบสอบ การแก้ปัญหา ทักษะการอ่าน และการเขียน เพื่อให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต" ที่เป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอด 12 ปี ตั้งแต่ชั้น ป.1 ถึง ม.6 ซึ่งประกอบด้วย 4 ชุดวิชา ได้แก่
ชุดวิชาที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
ชุดวิชาที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
ชุดวิชาที่ 3 STRONG / จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต
ชุดวิชาที 4 พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยความหมายของคำว่า "STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต" มาจากอักษร 6 ตัว ได้แก่ 1) S (sufficient) : ความพอเพียง 2) T (transparent) : ความโปร่งใส 3) R (realize) : ความตื่นรู้ 4) O (onward) : มุ่งไปข้างหน้า 5) N (knowledge) : ความรู้ และ 6) G (generosity) : ความเอื้ออาทร
ผู้บริหารการศึกษาที่สุจริตจะสนใจประมวลกฎหมายอาญา
นอนาคต ทั้งผู้บริหารการศึกษา ครู และนักเรียน จะได้เรียนรู้และเข้าใจประมวลกฎหมายอาญา ทุกคนจะมีความสุจริต และทราบว่าหากพบผู้ใดทำ หรือผู้ให้ทำเอกสารปลอม ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ก็สามารถแจ้งความได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
อ่านเพิ่มเติม ข้อกฎหมายจากเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ
ลดภาระงาน ลดเอกสาร ไม่ปลอม จัดทำ วPA
วPA ไม่ใช้วุฒิบัตร ไม่ต้องหาซื้อวุฒิบัตรแล้ว
ถอดถอน ผศ . รศ. 43ราย
โล่ก็ไม่ใช่ รางวัลก็ไม่ใช่ เอกสารก็ไม่ใช่ กับ ข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA = Performance Agreement)
ทำไมนักเรียนไทย ถึงต้องติว ?
? เรียนในห้องเรียนยังไม่เพียงพอ
? อยากได้ความรู้นอกห้องเรียน
? อยากเรียนรู้จากมุมมองใหม่ ๆ
#ห้องเรียนแห่งอนาคต ผู้เรียนที่เป็น #นักเรียนไทย จะหาอ่านงานวิจัยและมีความสุขจาก #thaijo หรือเรียนออนไลน์ผ่าน #thaimooc เมื่อได้อ่าน งานวิจัย พบว่า #เจตคติต่อการเรียน มีความสัมพันธ์แปรผันกับ #ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หากมีเจตคติที่ดี ที่จะเรียนต่อหรือประกอบอาชีพ ตามมาตรา 27 (การศึกษา) มักขวนขวายเรียนเพิ่ม เรียนให้แน่นพอ และมากพอที่จะสร้างความมั่นใจ ให้ตนเองมีความรู้ ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
#ศูนย์สอบออนไลน์

ศศิธร คงอุดมทรัพย์, และพงศิษฏ์ ทวิชพงศ์ธร. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน : กรณีศึกษาวิชาความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรมของนักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 30(1), 93-109.

นิติบดี ศุขเจริญ, บุษรา อวนศรี, และ เรวดี อันนันนับ. (2561). ปัจจัยการขยายตัวของความต้องการเรียนกวดวิชา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 1883-1897.

เอกสารอ้างอิง [1] วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกมลรัตน์ ฉิมพาลี, "ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2559.
Thaiall.com