กฎหมาย พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง
การศึกษา | นักศึกษา | A-Level | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนในอนาคต | Utopia | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | สมรรถนะดิจิทัล | วิทยาการคำนวณ | ศีล 5 | มีเหตุมีผล | มคอ. | พ.ร.บ. |
ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ กฎกระทรวง - มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 9 หน้า
มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา” หมายความว่า ข้อกำหนดขั้นต่ำเกี่ยวกับ คุณลักษณะของสถาบันอุดมศึกษา การดำเนินการ ผลลัพธ์ คุณภาพ และเกณฑ์อื่นในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา” หมายความว่า มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา
“ผลลัพธ์การเรียนรู้” หมายความว่า ผลที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา ฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกปฏิบัติ หรือการเรียนรู้จริงในที่ทำงานระหว่างการศึกษา
หลักสูตรการศึกษา” หมายความว่า หลักสูตรระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญาตามที่คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษากำหนด ซึ่งสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติ
แผนพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า แผนระยะห้าปีซึ่งกำหนดทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาซึ่งสภาสถาบันอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบ เพื่อใช้ในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา
กฎกระทรวง - มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 8 หน้า
กฎกระทรวง - มาตรฐานการขอตำแหน่งทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 6 หน้า
กฎกระทรวง - กำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาอื่น พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 2 หน้า
กฎกระทรวง - มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ มี 4 หน้า
รวมกฎหมายด้านการศึกษาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องอำนาจหน้าที่ของผู้บริหาร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับปรับปรุง) มี 26 หน้า
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มี 6 หน้า
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มี 3 หน้า
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มี 5 หน้า
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มี 4 หน้า
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (ม.39) มี 26 หน้า
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2547 มี 2 หน้า
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มี 53 หน้า
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2551 มี 9 หน้า
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2553 มี 5 หน้า
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2562 มี 4 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 มี 4 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ.2548 มี 2 หน้า
กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ มี 2 หน้า
กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ มี 3 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ มี 2 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. 2547 มี 2 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ. 2547 มี 3 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 มี 2 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 มี 2 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547 มี 1 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547 มี 2 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2547 มี 2 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547 มี 2 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2547 มี 1 หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.๒๕38 มี หน้า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่ ๒). พ.ศ.๒๕๔๗ มี 6 หน้า
แหล่งรวบรวมกฎหมายที่น่าสนใจ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
อ่านเพิ่มเติม
ฟัง ลอย ชุนพงษ์ทอง ชำแหละ พ.ร.บ.การศึกษาฯ Loy academy : ชำแหละ #แผนการศึกษา #จุดจบความคิดสร้างสรรค์ #ใส่กรอบแบบเดียวกัน
เปิด : การรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ
แฟ้มร่าง : พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... (pdf)
รุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ และมีมติเห็นชอบเป็นหลักการมอบหมายให้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็น ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในกรณีที่ไม่มี ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 48 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
นางกนกวรรณ วิลาวัลย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่ดี ควรต้องมี 17 ข้อ ต่อไปนี้
1. ระบุวิธีดำเนินการที่ให้รัฐจะจัดหา เพื่อให้สิทธิเด็กและประชาชนได้เรียนรู้ ตามความถนัด ตามท้องถิ่น ตามความเชื่อ ตามศักยภาพ ได้อย่างไร
2. ระบุช่องทางที่รัฐ จะให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างไร
3. ระบุช่องทางการตรวจสอบ จากภาคประชาชน เช่น งบการเงินของสถานศึกษา คะแนนโหวตของประชาชนในท้องถิ่น นำไปสู่งบของโรงเรียน
4. ระบุหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต่อเด็ก
5. ระบุสิทธิ เสรีภาพขอบเขตการแสดงออกของเด็ก และหน้าที่ในสถานศึกษา
6. ระบุสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของครูในและนอกสถานศึกษา
7. ระบุขอบเขตการลงโทษเด็กโดยครู
8. ระบุขอบเขต และการคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการในสถานศึกษา
9. ระบุกรอบและความเป็นอิสระของสถานศึกษาในการจัดการศึกษา
10. ระบุภาระหน้าที่ของสถานศึกษาต่อชุมชน หรือภูมิภาค
11. ระบุสิทธิในการศึกษาภาคพิเศษ เช่น ผู้พิการ ทางการ/สมอง นักบวช นักโทษจองจำ
12. กำหนดหลักสูตรฯ ต้นแบบการสอน ประเมินผล โดยสถาบันส่งเสริมการสอนฯ
13. กำหนดสัดส่วนเวลาที่ครูใช้ไปกับการสอน และการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
14. กำหนดหน่วยงานในการกำกับ ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา
15. กำหนดภาระหน้าที่ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
16. กำหนดบทลงโทษ หัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย แนวทาง หรือมติที่ออกไป
17. แก้ไขกฎกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
ข้อเสนอแนะ และเพิ่มเติม หลังมอง 17 ข้อ ของ ลอย ชุนพงษ์ทอง
#1 รัฐจัดให้เด็กได้เรียนรู้
- ตามความถนัด จัดให้เรียนที่ถนัด (คณิต อังกฤษ จีน เกาหลี เป็นต้น)
- ตามท้องถิ่น จัดให้เรียนตามภูมิปัญญาท้องถิ่น (ประมง เกษตร เลี้ยงสัตว์ สิ่งทอ เป็นต้น)
- ตามความเชื่อ จัดให้เรียนที่เชื่อ (นวัตกรรม ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น)
- ตามศักยภาพ จัดให้เรียนตามศักยภาพ (ดนตรี กีฬา วิชาการ ค้าขาย เป็นต้น)
#2 รัฐส่งเสริมสนับสนุน และมีช่องทาง
- ให้ภาคเอกชน มีส่วนร่วมจัดการศึกษา (ฝึกงาน สหกิจศึกษา งานพิเศษ เป็นต้น)
- ให้องค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมจัดการศึกษา (ครูพี่เลี้ยง จิตอาสา ภูมิปัญญา เป็นต้น)
#3 ภาคประชาชนมีสิทธิตรวจสอบ
- ร่วมตรวจสอบความโปร่งใสการใช้งบการเงิน
- ร่วมกันโหวตให้คะแนนที่นำไปสู่การจัดสรรงบประมาณ
#4 ระบุให้ชัดเจนถึงสิ่งที่ทำได้ และทำไม่ได้
- หน้าที่ของพ่อแม่
- หน้าที่ของผู้ปกครอง
- หน้าที่ของเด็ก
- หน้าที่สถานศึกษา
โดย หน้าที่ คือ ข้อปฏิบัติของบุคคลที่จะต้องกระทำให้เกิดประโยชน์เป็นผลดี
#5 ระบุสิทธิ เสรีภาพ ขอบเขต การแสดงออก
- สิทธิของพ่อแม่
- สิทธิของผู้ปกครอง
- สิทธิของเด็ก
- สิทธิของสถานศึกษา
โดย สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
#6 ระบุสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่
- สิทธิและหน้าที่ของครูในสถานศึกษา
- สิทธิและหน้าที่ของครูนอกสถานศึกษา
#7 สนับสนุน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
- แก้ไขกฎกระทรวงต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ฯ
- จัดคนให้เหมาะสมกับงาน และเป็นตัวแบบที่ดีให้เด็ก
กรณีศึกษา รถไฟญี่ปุ่น กับ พ.ร.บ.การศึกษา แห่งอนาคต อ่านข่าวจาก mgronline.com เมื่อปี 2559 พบว่า "สถานีคิวชิราทากิสร้างขึ้นในปี 1955 ตามคำร้องขอของชาวบ้าน เพื่อให้ลูกหลานสามารถเดินทางไปโรงเรียน และทางการรถไฟฮอกไกโด จำต้องปิดสถานีตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อนเนื่องจากแทบไม่มีผู้โดยสาร และได้สร้างสถานีแห่งใหม่ในย่านชุมชนที่อยู่ห่างออกไปแล้ว แต่ทางบริษัทรถไฟญี่ปุ่นได้เปลี่ยนใจยอมเดินรถต่อ เมื่อพบว่ามีนักเรียนหญิงคนหนึ่งต้องใช้เส้นทางรถไฟนี้ไปโรงรียนเป็นประจำทุกวัน"
สดงว่า ที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะมีหน้าที่ดูแลนักเรียนแล้ว บริษัทรถไฟญี่ปุ่น ที่เป็นภาคเอกชนก็เห็นความสำคัญของนักเรียนหญิงคนนี้ ได้ร่วมสนับสนุน เรื่องการอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนของนักเรียน
กฎหมายมากมายที่ออกมาปกป้องสิทธิ
เสนอ - วาระเร่งด่วน (Quick Win) ด้านการศึกษา 7 วาระเร่งด่วน (Quick Win) ของ กระทรวงศึกษาธิการ โดย ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. พบการเผยแพร่เมื่อ 29 มีนาคม 2564 ทั้งจาก Wiriyah Eduzones และ kruupdate.com และ posttoday.com ประกอบด้วย 1) เรื่องความปลอดภัยของผู้เรียน 2) หลักสูตรฐานสมรรถนะ 3) Big Data 4) ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) 5) พัฒนาทักษะทางอาชีพ 6) การจัดเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพและมาตรฐาน 7) การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ล้วยังมี นโยบายการจัดการศึกษาทั้ง 12 ข้อ ประกอบด้วย 1) การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย และทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 2) การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล 3) การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน 4) การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน 5) การปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ พร้อมจัดทดสอบวัดความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพ6.การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน 7) การนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบัติ 8) การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย 9) การศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 10) การพลิกโฉมระบบการศึกษาไทยด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษา 11) การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 12) การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยยึดหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
‘ตรีนุช เทียนทอง’ แถลง 12 นโยบายการจัดการศึกษา 7 วาระเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ
กฎหมาย บังคับผู้ปกครองให้ส่งเด็กเรียนหนังสือ
พบกฎหมาย ที่บังคับผู้ปกครองให้ส่งเด็กเข้าโรงเรียน ไม่ส่งโดนปรับหนึ่งหมื่นบาท
พบกฎหมายเกี่ยวข้อง ๓ ฉบับ
ฉบับแรก บอกว่า รัฐต้องจัดให้เรียนถึง ม.๓ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ฉบับที่ ๒ บอกว่า พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ต้องส่งเด็กไปเรียนหนังสือ
ฉบับที่ ๓ บอกว่า ให้ส่งเด็กไปเรียนหนังสือ ถ้าไม่ส่งมีโทษปรับ ๑๐๐๐ หรือ ๑๐๐๐๐

ฉบับแรก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ก ตราไว้ ณ วันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๔ "รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย"
สรุปว่า
เด็กทุกคน ต้องได้รับการศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เป็นเวลา ๑๒ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ชัดเจน
ฉบับที่ ๒
พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๓ "ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็ก ที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน มิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ"
สรุปว่า
พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ต้องส่งเด็กไปเรียนหนังสือ "ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง"
ฉบับที่ ๓
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.๒๕๔๕ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๖ "ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็ก เข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด" และ มาตรา ๑๓ "ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท" และ มาตรา ๑๕ "ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท"
สรุปว่า
ถ้าผู้ปกครองไม่ส่งเด็กไปเรียน อาจถูกปรับ ๑๐๐๐ บาท ถ้าปราศจากเหตุอันสมควร โดนปรับ ๑๐๐๐๐ บาท

สรุปจากการอ่านกฎหมาย ๓ ฉบับ
ถ้าเด็กไม่ยอมไปเรียน ผู้ปกครองก็ตีเด็กไม่ได้ เพราะมีกฎหมายคุ้มครองเด็ก ดังนั้น ถ้าเด็กไม่อยากเรียน ก็ไม่ได้เรียน แม้รัฐจะดำเนินการให้เด็กทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายแล้วก็ตาม ถ้าให้การศึกษา แล้วเด็กไม่รับการศึกษา "สิ่งที่จะให้ย่อมไม่ถึงมือผู้รับ"
การจัดการเรียนสอนที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน


ถ้าในห้องเรียน มีเด็กหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะมี 1) ความถนัด 2) ความชอบ และ 3) เป้าหมาย ที่แตกต่างกัน มาดูเป้าหมายกัน บางคนอาจถนัดวาดรูป และเล่นบอลเก่ง แต่อยากเป็นวิศวกร หรืออีกคนถนัดเลข ชอบร้องเพลง แต่อยากทำนาอยู่บ้าน มาดูเป้าหมายของน้อง ๆ กัน เพื่อประกอบการวางแผนจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
- อยากเป็นหมอ - เก่งไปหมด
- อยากเป็นวิศวกร - ชอบคำนวณ
- อยากเป็นนักวิทย์แบบพี่เฌอ - ชอบคิดวิเคราะห์
- อยากเป็นนักเขียนแอพ - มีตรรกะ
- อยากเป็นทหาร ตำรวจ - มีวินัย
- อยากเป็นนักกีฬาทีมชาติ - มีพรสวรรค์
- อยากเป็นนักแสดง - ดราม่าเก่ง
- อยากเป็นนักดนตรี - มีใจรัก
- อยากเป็น net idol - มีหน้าตาดี
- อยากเป็นพนักงานโรงแรม - มีใจบริการ
- อยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร - มีทำเล
- อยากช่วยที่บ้านทำนา - มีที่ทำกิน
- ไม่อยากอะไรเลย ยังไม่ได้คิด - ต้องเรียนอีกเยอะ
ครูนรินทร์ ถนัดค้า ชี้ประเด็นได้น่าสนใจ
เคยอ่านโพสต์ของ ครูนรินทร์ ถนัดค้า ที่ โรม เกตุรัตน์ โพสต์แล้วแชร์ไปมากกว่า 63000 ครั้ง มีประเด็นหลายอย่างน่าสนใจ พอสรุปได้ดังนี้
1. เด็กทุกวันนี้ไม่ตื่นเต้นกับการเรียน
2. เรียนยังไงก็จบ สอบตก รอแก้ 3 - 4 วันก็จบ
3. ครูให้ติด 0 ร มส. เยอะก็ถูกเพ่งเล็ง
4. ลงโทษเด็ก ก็ถูก NGO โวยวาย ละเมิดสิทธิเด็ก
5. ตจว. พ่อแม่เอาลูกไปฝากยาย สั่งสอนเขาก็ไม่ฟัง
6. ครูถูกโทษว่าเอาเวลาไปทำผลงาน จนเด็กมีปัญหา
7. คนใหม่มา ก็เปลี่ยน ของเก่ายังไม่เสร็จ
8. ระบบเก่าดีอยู่แล้ว สอบตกก็ซ้ำชั้น เรียนใหม่
9. ดื้อก็ต้องลงโทษ
rspsocial
Thaiall.com